ชมกันชัดๆ พระปรางค์วัดอรุณภายหลังบูรณะใหญ่ กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในมุมของงานอนุรักษ์ กระทั่งภาคประชาสังคมร้องนายกรัฐมนตรี ขอให้ระงับงานซ่อม
เจดีย์ทรงปรางค์ ที่เรียกกันติดปากว่า พระปรางค์วัดอรุณ กำลังเป็นประเด็นข่าวเรียกความสนใจหลังจากงานบูรณะแล้วเสร็จ ตระเตรียมงานสมโภชในช่วงปลายปี 2560
ภาคประชาสังคม ถึงขั้นเตรียมยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ยุติงานซ่อมแซมเจดีย์พระมหาธาตุแห่งกรุงรัตนโกสินทร์องค์นี้ไว้ก่อน
คอลัมน์ ไทยทัศนา ตอนที่หนึ่ง เคยนำเสนอภาพถ่ายกลุ่มพระมหาเจดีย์แห่งวัดอรุณราชวราราม บันทึกไว้ก่อนหน้าการบูรณะครั้งนี้ ในตอนที่สอง ขอนำเสนอภาพถ่ายภายหลังการบูรณะ บันทึกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม 2560
พระปรางค์วัดอรุณในมุมกว้าง เจดีย์องค์ใหญ่เป็นปรางค์ประธาน มีเจดีย์ทรงปรางค์เป็นบริวารประจำมุม และมีมณฑปประจำทิศ
ปรางค์ประธานเป็นสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางของจักรวาล เจดีย์บริวารประจำมุมทั้งสี่ หมายถึง มหาทวีปทั้งสี่ มณฑปทั้งสี่ทิศ หมายถึง ท้าวจัตุมหาราช เทวดารักษาทิศทั้งสี่
งานช่างศิลป์อันโดดเด่นของพระปรางค์วัดอรุณ นอกจากรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแล้ว ยังอยู่ที่ประติมากรรมประดับ กับงานกระเบื้องสีและเครื่องเคลือบประดับ งานซ่อมทั้งสองส่วนนี้ดูจะมีเสียงวิจารณ์มาก
เจดีย์ประธาน
ชุดฐานของปรางค์ประธาน มี 3 ชั้น แต่ละชั้นประดับด้วยประติมากรรม ชั้นที่หนึ่งเป็นรูปยักษ์แบก ชั้นที่สองเป็นรูปกระบี่แบก ชั้นที่สามเป็นรูปเทวดาแบก
ทุกชั้นมีทางสำหรับเดินประทักษิณ เวียนขวาโดยรอบ ปัจจุบันเปิดให้ขึ้นชมได้แค่ชั้นที่หนึ่ง
ฐานยักษ์แบก
พลแบกทั้งสาม คือ ยักษ์ กระบี่ และเทวดา ถูกวิจารณ์ในเรื่องการทำสีพื้น และการซ่อมลวดลายกระเบื้องสี
รูปกระบี่แบก ฐานประทักษิณชั้นที่สอง
กระบี่แบก
เทวดาแบก บนฐานส่วนรองรับส่วนกลางของเจดีย์
ส่วนกลางหรือที่เรียกว่า เรือนธาตุ มีประติมากรรมรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ อยู่ภายในช่องจระนำที่ประดับด้วยซุ้มลดสองชั้น
พระอินทร์มีอาวุธประจำกาย คือ วชิราวุธ หรือสายฟ้า, พระขรรค์, ตะขอ, และแหตาข่าย แต่รูปพระอินทร์ที่พระปรางค์องค์นี้ถือจักร อาวุธของพระนารายณ์ จึงมีผู้เสนอว่า ประติมากรรมอาจสื่อถึงเทพทั้งสองในเวลาเดียวกัน
เหนือซุ้มจระนำรูปพระอินทร์ มียอดปรางค์ขนาดย่อมบนสันหลังคาซุ้มทั้งสี่ทิศ
ส่วนล่างของยอดปรางค์ประธานมีรูปครุฑยุดนาค เหนือขึ้นไปเป็นรูปเทพสี่กร สองกรประนม อีกสองกรถืออาวุธ ข้างขวาเป็นจักร ข้างซ้ายเป็นตรีศูล
พระมหามงกุฎประดับเหนือนภศูลบนยอดพระปรางค์
เจดีย์บริวาร
เจดีย์บริวารมีรูปแบบเป็นปรางค์ขนาดย่อม ตั้งอยู่ทั้งสี่มุมของปรางค์ประธาน ในตำแหน่งประจำทิศเฉียง
ฐานชั้นล่างสุดมีรูปกินนรกินรีภายในช่องคูหา เหนือช่องมีรูปยักษ์กับกระบี่แบกสลับกัน
ภายในซุ้มจระนำตรงส่วนเรือนธาตุ มีรูปพระพายทรงม้าทั้งสี่ด้าน
เหนือส่วนเรือนธาตุเป็นส่วนยอดของปรางค์ ประดับรูปครุฑยุดนาค และเทพนม
ยอดปรางค์ประดับด้วยนภศูลปิดทอง
มณฑปทิศ
มณฑปตั้งประจำทิศหลัก อยู่ระหว่างปรางค์มุมทั้งสี่
มณฑปทั้งสี่มีรูปกินนรกินรีในช่องคูหา มณฑปด้านทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก ประดับรูปคนธรรพ์แบก
มณฑปด้านทิศเหนือกับทิศใต้ ประดับรูปกุมภัณฑ์แบก
หลังคามณฑปเป็นทรงปราสาทปลายยอดแหลม
งานบูรณะพระปรางค์วัดอรุณ ถูกต้องด้วยหลักฐานเดิม หลักวิชา และหลักสุนทรียศาสตร์ หรือไม่ แค่ไหน อย่างไร พ้นวิสัยที่จะอภิปราย.
แหล่งข้อมูล
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2556). พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ : พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.
อนัสพงษ์ ไกรเกรียงศรี. (2535). การศึกษาสถาปัตยกรรม วัดอรุณราชวราราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ติดตาม ไทยทัศนา ย้อนหลัง
ไทยทัศนา : (1) วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ
ไทยทัศนา : (2) วัดสุวรรณาราม ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (3) วัดราชโอรส ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (4) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ
ไทยทัศนา : (5) วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา
ไทยทัศนา : (6) วัดเสนาสนาราม อยุธยา
ไทยทัศนา : (7) วัดจันทบุรี สระบุรี
ไทยทัศนา : (8) วัดสมุหประดิษฐาราม สระบุรี
ไทยทัศนา : (9) วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (10) วัดบางขุนเทียนใน ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (11) วัดซางตาครู้ส ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (12) วัดบางขุนเทียนนอก ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (13) วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม
ไทยทัศนา : (14) วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา
ไทยทัศนา : (15) สัตตมหาสถาน กรุงเทพฯ เพชรบุรี
ไทยทัศนา : (16) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ
ไทยทัศนา : (17) วัดตองปุ ลพบุรี
ไทยทัศนา : (18) มหาธาตุ ลพบุรี
ไทยทัศนา : (19) จิตรกรรม วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
ไทยทัศนา : (20) พระปรางค์มหาธาตุ ราชบุรี
ไทยทัศนา : (21) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ
ไทยทัศนา : (22) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่หนึ่ง)
ไทยทัศนา : (23) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สอง)
ไทยทัศนา : (24) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สาม)
ไทยทัศนา : (25) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สี่-จบ)
ไทยทัศนา : (26) ประตูโขง วัดกากแก้ว นครลำปาง
ไทยทัศนา : (27) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่หนึ่ง)
ไทยทัศนา : (28) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่สอง-จบ)
ไทยทัศนา : (29) วัดปงยางคก ลำปาง
ไทยทัศนา : (30) วิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ ลำปาง
ไทยทัศนา : (31) วิหารโถงทรงจัตุรมุข วัดปงสนุก ลำปาง
ไทยทัศนา : (32) ‘จอง’ แบบพม่า วัดพระแก้วดอนเต้า ลำปาง
ไทยทัศนา : (33) วัดศรีชุม ลำปาง
ไทยทัศนา : (34) วัดศรีรองเมือง ลำปาง
ไทยทัศนา : (35) วัดไชยมงคล (จองคา) ลำปาง