ไม่พบผลการค้นหา
QR Code มาตรฐานกลาง ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้น และจะเริ่มใช้ทั่วไปภายในสิ้นปีนี้ กำลังจะเปลี่ยนระบบชำระเงินในประเทศไทย ซึ่งไม่ได้ใช้กันแต่ในร้านค้าขนาดใหญ่เท่านั้น แต่การจ่ายเงินผ่าน QR Code ในโทรศัพท์มือถือ จะทำได้ในทุกการใช้จ่าย รวมถึงค่าวินมอเตอร์ไซค์ด้วย

QR Code มาตรฐานกลาง ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้น และจะเริ่มใช้ทั่วไปภายในสิ้นปีนี้ กำลังจะเปลี่ยนระบบชำระเงินในประเทศไทย ซึ่งไม่ได้ใช้กันแต่ในร้านค้าขนาดใหญ่เท่านั้น แต่การจ่ายเงินผ่าน QR Code ในโทรศัพท์มือถือ จะทำได้ในทุกการใช้จ่าย รวมถึงค่าวินมอเตอร์ไซค์ด้วย

บนถนนอังรีดูนังต์ มีวินมอเตอร์ไซค์ ให้บริการผู้สัญจรไปมาในย่านดังกล่าว กระจายตัวอยู่หลายจุด
"มิตรชัย เล่ห์มนตรี" ชายวัย 52 ปี คนนี้ เป็น 1 ใน 9 ผู้ให้บริการมอเตอร์ไซค์สาธารณะประจำวินประตูคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝั่งถนนอังรีดูนังต์ ที่เพิ่งมี QR Code สำหรับรับเงินจากลูกค้าผ่านแอปพลิเคชั่น SCB Easy (เอสซีบี อีซี่) ซึ่งวันนี้ เป็นวันแรกที่เขาสามารถรับเงินค่าโดยสารจากลูกค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ 

นอกจากมิตรชัยแล้ว ในวินแห่งนี้ คนขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างอีกหลายคนก็เพิ่งสมัครรับ QR Code และทดลองรับเงินค่าโดยสารจากลูกค้าด้วยวิธีนี้ แม้ว่า ในวันแรกมีลูกค้าไม่กี่รายทดลองจ่ายค่าวินมอเตอร์ไซค์ในราคาเริ่มต้น 20 บาท เพียงไม่กี่คนก็ตาม

การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผ่าน QR Code กำลังจะรุกเข้าสู่การชำระเงินจำนวนย่อยๆ ของคนไทยในทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าในร้านค้าขนาดใหญ่ในห้างสรรพสินค้า จ่ายตังค์ตู้เติมเงินบัตรโทรศัพท์ ตู้ขายน้ำ ร้านขนมต่างๆ  หรือแม้แต่แผงขายล็อตตารี่ ขายพวงมาลัย ก็สามารถสแกน QR Code จ่ายเงินได้ 

ภายในสิ้นปีนี้ ไม่เพียงแต่ ผู้มีบัญชีกับธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เท่านั้นที่จะจ่ายเงินผ่าน QR Code แต่ผู้ใช้บริการแบงก์รัฐก็สามารถใช้ QR Code จ่ายบิล จ่ายค่างวดผ่อนบ้านได้ โดยเรื่องนี้ได้รับการยืนยันจาก "ฉัตรชัย ศิริไล" กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในฐานะประธานสภาสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ หรือ SFIs (เอสเอฟไอ) เช่นกัน

การสร้าง QR Code มาตรฐานกลาง ที่แบงก์ชาติ ประกาศความร่วมมือกับ 5 ผู้ให้บริการเครือข่ายชำระเงินระดับโลกที่เผยแพร่ออกมาล่าสุด ยังสอดคล้องกับแนวโน้มการทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือ หรือ โมบาย แบงก์กิ้ง ในประเทศที่เติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

โดยข้อมูลจากแบงก์ชาติ พบว่า ณ สิ้นปี 2559 มีผู้ใช้โมบายแบงก์กิ้ง มากถึง 20 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นจาก 5 ปีก่อนที่มีเพียง 8 แสนบัญชี ขณะที่ปริมาณธุรกรรมเพิ่มเป็น 585 ล้านรายการ จาก 36 ล้านรายการ และมีมูลค่าธุรกรรมเพิ่มเป็น 5.36 ล้านล้านบาท จากเมื่อปี 2555 มีเพียง 4.4 แสนล้านบาท

 

รายงานโดย  : อังศุมาลิน บุรุษ 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog