ไม่พบผลการค้นหา
ทำความรู้จัก 'โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน' โรคที่ผู้ป่วยมักเป็นแบบไม่รู้ตัว และไม่สามารถคาดเดาได้เองว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด  พบภาวะรุนแรงอาจถึงขั้นเป็นเนื้องอกในสมอง และหูดับ

ทำความรู้จัก 'โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน' โรคที่ผู้ป่วยมักเป็นแบบไม่รู้ตัว และไม่สามารถคาดเดาได้เองว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด 

นพ.อิราวัต อารีกิจ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าววอยซ์ทีวี เรื่องโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน โดยระบุว่า 'โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน'  เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติ ของน้ำในหูชั้นใน ซึ่งอาจมีสาเหตุได้หลายกรณี โดยอาจแบ่งเป็นปัจจัยภายนอก-ภายใน ดังนี้

ปัจจัยภายนอก
-เกิดจากความเครียด ปัญหาต่างๆในชีวิต
-การอดนอน การพักผ่อนไม่เพียงพอ
-การรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ - ขาดสารอาหาร
-ร่างกายมีภาวะขาดน้ำตาล หรือปริมาณน้ำตาลในร่างกายต่ำ
-การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน บางคนพบบ่อยช่วงมีรอบเดือน
-เกิดจากภาวะภูมิแพ้  การติดเชื้อไวรัสต่างๆ
-โรคไซนัสอักเสบ  โรคไมเกรน 
-เคยมีประวัติการเกิดอุบัติเหตุที่ศรีษะ  เช่น ล้มศีรษะฟาดพื้น เป็นต้น

ปัจจัยภายใน 
เกิดจากกรรมพันธุ์ ซึ่งอาจพบได้ไม่เกินร้อยละ 20 เช่น คนในครอบครัวมีประวัติเป็นไมเกรน  หรือมีภาวะร่างก่ายเป็นโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคภูมิต้านทานต่อหูชั้นใน เป็นต้น ซึ่งก็จะมีอัตราการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคนี้ได้ด้วยเช่นกัน

อาการของ 'โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน' 

-วิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน พื้นเอียง ปวดหัวอย่างกะทันหัน ซึ่งอาจจะเกิดเพียงชั่วครู่ หรือเป็นระยะเวลาหลายๆชั่วโมงก็ได้

- ปวดหู หูอื้อ หูแว่ว มีเสียงก้องในหู  

- มึนงง ได้ยินเสียงรอบข้างไม่ชัดเจน

-อาจมีอาการหน้ามืด ตาพร่ามัว มองเห็นวัตุถุไม่ชัดเจน  ร่วมด้วยเป็นต้น 

 

ทั้งนี้นพ.อิราวัต  กล่าวว่า คนทั่วไปมักไม่รู้ตัวว่าเป็น 'โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน' เนื่องจากโดยมากคิดว่าเป็นอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมปกติ ที่เกิดจากการภาวะร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ   

โดยย้ำว่า คนป่วยที่เป็นโรคนี้ ไม่สามารถคาดเดาได้เองว่าตนจะเป็นเมื่อใด บางรายมีอาการเป็นๆหายๆ เป็นครั้งหนึ่งจะมีอาการประมาณ2-3 ชม. และความรุนแรงมีได้ตั้งแต่วิงเวียนศีรษะธรรมดา ไปจนถึงขั้นคลื่นไส้อาเจียนรุนแรง และลุกไม่ไหว ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ในผู้สูงอายุก็จะมีภาวะเสี่ยงเพิ่มขึ้น

ส่วนกรณีอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน อื่นๆ ก็อาจสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังเหล่านี้ได้ อาทิ กลุ่มอาการเนื้องอกในสมอง  อาจมีอาการถึงขั้นหูดับ หูอื้อ และ หูก้องเป็นอาการทางอ้อมเท่านั้น ซึ่งมีภาวะรุนแรงและอันตรายในระยะยาว แนะนำควรรีบปรึกษาแพทย์

สำหรับวิธีการรักษาและป้องกันในเบื้องต้นนั้น นพ.อิราวัต  ระบุว่าให้ย้อนกลับไปแก้ไขที่สาเหตุ โดยแนะนำว่า ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ5หมู่  หากมีอาการดังกล่าว อาจลองจิบน้ำหวานในเบื้องต้น อาจช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้  สร้างความผ่อนคลาย และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

ส่วนการป้องกันในระยะยาว คือ การหมั่นใส่ใจสุขภาพ ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ และหากมีความเสี่ยงจากปัจจัยด้านอายุ กรรมพันธุ์ ก็อาจปรึกษาแพทย์ เข้ารับการตรวจเอ็กซเรย์สมอง เพื่อตรวจหาก้อนเนื้องอกในสมอง เป็นต้น ซึ่งหากพบอาการอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่รุนแรง ท่านก็จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์
และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

เรื่องการรักษา อาจมียาชนิดรับประทานและฉีด รักษาอาการเบื้องต้นได้ แต่อย่างไร ให้ปรึกษาแพทย์ดีที่สุด สำหรับการวินิจฉัยและการรักษา หาสาเหตุและบรรเทาอาการระยะยาว

 

 

รายงานโดย : บุญญิสา เพ็งบุญมา 

ที่มาภาพ : AFP

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog