ไม่พบผลการค้นหา
นักวิชาการด้านเคมี เห็นแย้งกับ สคบ. ที่ออกมาระบุถึงอันตรายจากการใช้กระติกน้ำพลาสติกใส่ของร้าน จนถึงขั้นเตรียมออกประกาศห้ามใช้ ขณะที่แม่ค้าร้านอาหารริมทาง ยังไม่รู้ว่า จะหาภาชนะใดมาทดแทน หากถูกสั่งห้ามจริง 

นักวิชาการด้านเคมี เห็นแย้งกับ สคบ. ที่ออกมาระบุถึงอันตรายจากการใช้กระติกน้ำพลาสติกใส่ของร้าน จนถึงขั้นเตรียมออกประกาศห้ามใช้ ขณะที่แม่ค้าร้านอาหารริมทาง ยังไม่รู้ว่า จะหาภาชนะใดมาทดแทน หากถูกสั่งห้ามจริง 


ร้านอาหารริมทาง นำกระติกน้ำพลาสติก มาใช้เป็นภาชนะใส่ข้าวเหนียวที่หุงแล้ว  เพราะเชื่อว่า สามารถเก็บความร้อนของข้าวเหนียวได้ ยาวนาน และการใช้งาน  เคลื่อนย้ายง่าย ราคาไม่แพง ส่วนใหญ่ จะนำผ้าขาวบาง หรือถุงร้อน มาลองข้าวเหนียวอีกชั้น เพื่อไม่ให้สัมผัสกับพลาสติกโดยตรง

ผู้ค้าอาหารริมทาง ระบุว่า ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ขายอาหารอีสาน ยังไม่เห็นว่าจะมีอุปกรณ์ชนิดไหน สามารถช่วยเก็บความร้อนได้ดีเท่ากระติกน้ำพลาสติก และเกือบทุกร้านก็นิยมใช้ หากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ไม่ต้องการให้ใช้ เพราะพบว่า มีสารปนเปื้อนในอาหาร ควรแนะแนวทางที่ถูกต้องให้ผู้ประกอบการด้วย

ขณะที่ สคบ.เตรียมออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ให้กระติกน้ำพลาสติก เป็นสินค้าควบคุมฉลากเป็นครั้งแรก เนื่องจาก เมื่อนำมาใส่ของร้อยจะทำให้สารเคมีที่อยู่ในพลาสติก เกิดการละลายแล้วไหลมาปนเปื้อนกับอาหาร ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย ตั้งแต่อาการตกเลือดในปอด ตับโต จนถึงขั้นเกิดโรคมะเร็ง โดยไม่แสดงอาการทันที แต่ถือเป็นพิษสะสมเรื้อรัง

ด้านรศ.วีรชัย พุทธวงศ์ นักวิชาการด้านเคมี มหาวิทยาลัยเกตรศาสตร์ ไม่เห็นด้วยที่ สคบ. เพราะองค์ประกอบทางเคมี ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ถึงขั้นต้องเลิกใช้ใส่ของร้อน หากต้องการนำกระติกน้ำพลาสติก มาใส่อาหารร้อน สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือสินค้านั้นจะต้องได้รับเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. และเป็นภาชนะที่ใช้กับอาหารได้ หลีกเลี่ยงการใส่อาหารที่มีความเป็นกรด เช่น น้ำต้มยำ และอาหารที่รสเปรี้ยว หากผิวด้านในกระติกมีรอยแตกร้าว ควรเปลี่ยนใบใหม่ทันที เพราะอาหารอาจสัมผัสกับโฟม ซึ่งมีสารเคมีที่เป็นอันตรายปะปนอยู่

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog