ศิลปสถาปัตยกรรมในวัดม่อนปู่ยักษ์ เมืองลำปาง มีทั้งจองทรงจั่วซ้อนชั้น เจดีย์แบบพม่า ภาพจิตรกรรมสกุลช่างอมรปุระ และโบสถ์วิหารเจืออิทธิพลตะวันตก
วัดม่อนปู่ยักษ์ หรือวัดม่อนสันฐาน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สร้างเมื่อพ.ศ. 2442 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ภายในพระอารามแห่งนี้มีศิลปกรรมทั้งที่เป็นแบบพม่าเดิมแท้ และตะวันตกประยุกต์
วิหารก่ออิฐถือปูน (ขวา) กับเจดีย์ วางในแนวแกนหลักตะวันออก-ตะวันตก ตั้งอยู่บนฐานไพที ถัดไปเบื้องล่างทางด้านหลังเป็นที่ตั้งของวิหารเครื่องไม้
วิหารบนฐานไพทีเป็นตึกแบบโคโลเนียล หลังคาทรงจั่ว โดยรอบเป็นอาคารขนาดเล็กเรียงราย ใช้สำหรับทำวิปัสสนากรรมฐาน
อาคารมีการประดับตกแต่งอย่างเรียบง่าย เหนือช่องหน้าต่างแคบเป็นทรงโค้ง เหนือประตูเป็นซุ้มโค้ง ประดับด้วยปูนปั้นทรงปราสาทซ้อนชั้น
หน้าบันทางตะวันออกประดับรูปนกยูง สัญลักษณ์ของพระอาทิตย์ หน้าบันทางตะวันตกประดับรูปกระต่าย สัญลักษณ์ของพระจันทร์
พระเจดีย์มีชื่อว่า จุฬามณีสันฐาน ตั้งอยู่หลังวิหาร ที่ฐานทั้งสี่ด้านมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ทุกด้านมีบันไดทางเข้า เหนือซุ้มประดับปูนปั้นรูปทรงปราสาท ที่มุมทั้งสี่ของเจดีย์ประดับสิงห์ปูนปั้น
ตรงมุมของฐานเจดีย์แต่ละชั้นมีประติมากรรมประดับ มุมชั้นล่างสุดเป็นเจดีย์จำลอง ถัดขึ้นไปเป็นหม้อดอกไม้ไหว นรสิงห์ และดอกบัว
องค์ระฆังของเจดีย์คาดด้วยรัดอก เป็นรูปยักษ์จับลายพรรณพฤกษา เหนือองค์ระฆังเป็นปล้องไฉน ปัทมบาท และปลี ตามลำดับ ยอดบนสุดประดับฉัตร
ถัดจากเจดีย์และวิหารแบบตะวันตกเป็นวิหารแบบพม่า ที่เรียกว่า จอง ใช้ประกอบศาสนกิจและเป็นกุฏิ โดดเด่นด้วยทรงจั่วซ้อนชั้นพร้อมผนังเรือนข้างใต้หลังคา
ภายในจองประดิษฐานพระประธานศิลปะพม่า 3 องค์
วิหารแบบพม่ามีทางเข้าหลักอยู่ทางด้านยาวของอาคาร (ซ้ายในภาพ)
ในห้องโถงกลางมีงานจิตรกรรม ติดตั้งอยู่ระหว่างช่วงเสาตอนบน เดิมมีภาพวาดอยู่โดยรอบ ปัจจุบันเหลือเพียง 2 ภาพในสภาพชำรุดลบเลือนตามกาลเวลา
งานเขียนเป็นฝีมือช่างสมัยราชวงศ์คองบองตอนกลาง สกุลช่างอมรปุระ อายุราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 24 ภาพนี้เข้าใจว่าเล่าเรื่องพรหมนาถชาดก
สันนิษฐานว่าเป็นภาพที่นำเข้ามาจากประเทศพม่า รูปแบบเป็นศิลปะในยุคสมัยที่ยังไม่มีอิทธิพลตะวันตกเข้ามาเจือปน
ภาพนี้จำลองจากของจริง
จิตรกรรมอีกภาพหนึ่ง เป็นรูปขบวนเสด็จ ลืมถามผู้ดูแลว่าเป็นภาพทำจำลองหรือเป็นของจริงที่บูรณะใหม่
บนเพดานตกแต่งด้วยลายคำ
อุโบสถตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารแบบตะวันตก ก่ออิฐถือปูนทรงสูง เดิมเคยเป็นวิหาร ทางวัดเรียกว่า วิหารทรงโปรตุเกส
เป็นอันจบสารคดีภาพ ชุด วัดพม่าในเมืองลำปาง เพียงแค่นี้
ว่าที่จริงยังมีอีกบางแห่งที่ยังไม่ได้ไปชม อาทิ วัดม่อนจำศีล วัดป่าฝาง คงต้องหาโอกาสในวันข้างหน้า.
แหล่งข้อมูล
ฐาปกรณ์ เครือระยา. วัดพม่า-ไทยใหญ่ในนครลำปาง.
บงกช นันทิวัฒน์. (2550). เจดีย์แบบพม่าสมัยรัชกาลที่ 5 ในเมืองลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
อนุกูล ศิริพันธุ์ และคณะ. การศึกษาและสร้างรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวด้านศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง.
ติดตาม ไทยทัศนา ย้อนหลัง
ไทยทัศนา : (1) วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ
ไทยทัศนา : (2) วัดสุวรรณาราม ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (3) วัดราชโอรส ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (4) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ
ไทยทัศนา : (5) วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา
ไทยทัศนา : (6) วัดเสนาสนาราม อยุธยา
ไทยทัศนา : (7) วัดจันทบุรี สระบุรี
ไทยทัศนา : (8) วัดสมุหประดิษฐาราม สระบุรี
ไทยทัศนา : (9) วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (10) วัดบางขุนเทียนใน ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (11) วัดซางตาครู้ส ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (12) วัดบางขุนเทียนนอก ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (13) วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม
ไทยทัศนา : (14) วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา
ไทยทัศนา : (15) สัตตมหาสถาน กรุงเทพฯ เพชรบุรี
ไทยทัศนา : (16) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ
ไทยทัศนา : (17) วัดตองปุ ลพบุรี
ไทยทัศนา : (18) มหาธาตุ ลพบุรี
ไทยทัศนา : (19) จิตรกรรม วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
ไทยทัศนา : (20) พระปรางค์มหาธาตุ ราชบุรี
ไทยทัศนา : (21) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ
ไทยทัศนา : (22) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่หนึ่ง)
ไทยทัศนา : (23) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สอง)
ไทยทัศนา : (24) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สาม)
ไทยทัศนา : (25) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สี่-จบ)
ไทยทัศนา : (26) ประตูโขง วัดกากแก้ว นครลำปาง
ไทยทัศนา : (27) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่หนึ่ง)
ไทยทัศนา : (28) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่สอง-จบ)
ไทยทัศนา : (29) วัดปงยางคก ลำปาง
ไทยทัศนา : (30) วิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ ลำปาง
ไทยทัศนา : (31) วิหารโถงทรงจัตุรมุข วัดปงสนุก ลำปาง
ไทยทัศนา : (32) ‘จอง’ แบบพม่า วัดพระแก้วดอนเต้า ลำปาง
ไทยทัศนา : (33) วัดศรีชุม ลำปาง
ไทยทัศนา : (34) วัดศรีรองเมือง ลำปาง
ไทยทัศนา : (35) วัดไชยมงคล (จองคา) ลำปาง