'เรื่องของโอ่ง' แหล่งท่องเที่ยวแนวใหม่ เชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น สะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ชาวราชบุรี สัมผัสรสชาติอาหารด้วยเมนูเด็ด 'ทอดมันไข่ซีอิ้วโอ่งข้าว' พร้อมสนุกกับการปั้นโอ่งมังกรของจริง ด้วยฝีมือของตัวเอง 1 เดียวในประเทศ
เมื่อพูดถึงจังหวัดราชบุรี หลายคนจะนึกถึงโอ่งมังกร เป็นสัญญาลักษณ์ของจังหวัดที่เรียกกันจนติดปากว่า “เมืองโอ่งมังกร” ราชบุรีจึงมีประวัติความเป็นมาในด้านการผลิตโอ่งเพื่อใช้เป็นภาชนะใส่น้ำที่มีมานับร้อยปี จากยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยการนำโอ่งเก็บกักน้ำที่ผลิตขึ้นในประเทศจีนขนส่งเข้ามาอยากยากลำบาก ทำให้ต้องหันมาผลิตใช้กันเอง
ซึ่งยุคตั้งต้นของโอ่งมังกร มาจาก 2 สหายชาวจีน ที่อพยพมาตั้งรกรากถิ่นฐานในสยามประเทศ และได้มาพบแหล่งดินดีที่เหมาะแก่การใช้ปั้นโอ่งที่ราชบุรี จึงได้ตั้งโรงงานทำโอ่งขนาดเล็กในปี 2475 ด้วยเงินลงหุ้น 3,000 บาท โดยนายจือเหม็ง แซ่อึ้ง ชาวจีนโพ้นทะเล และกลุ่มเพื่อน ตั้งอยู่บริเวณสนามบินตรงข้ามโรงเรียนอนุบาลราชบุรี หรือปัจจุบัน คือห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ในช่วงแรกผลิตเครื่องปั้นดินเผา เช่น ไห กระปุก และโอ่ง ต่อมาได้นำลวดลายมังกร ซึ่งเป็นสัตว์นำโชคของชาวจีน มาวาดลงบนโอ่ง และนำไปจำหน่ายทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2537 จนได้รับความนิยม และมีการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมากทำให้กิจการรุ่งเรือง โรงงานจึงขยายตัวและมีการผลิตโอ่งมากขึ้น ทำให้หุ้นส่วนหลายคนเริ่มแยกตัวออกไปตั้งโรงงานเอง แต่ก็ยังอยู่ในเขตจังหวัดราชบุรี ทำให้มีโรงงานทำโอ่งกระจายอยู่หลายแห่ง
“โรงโอ่งเรืองศิลป์ 3” 1 ในโรงโอ่งรุ่นแรกๆที่ได้ปลีกตัวออกมาตั้งโรงงานผลิตโอ่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ถนนเพชรเกษม ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ได้มีการผลิตโป่งออกมาในรูปแบบต่างๆ ทั้งจากอดีต โอ่งดิน โอ่งเซรามิค และโอ่งร่วมสมัย มาจนถึงปัจจุบันและมีการถ่ายทอดมารุ่นต่อรุ่น จนมาถึงทายาทรุ่นที่ 4 คือนางสาวชัญญานุช ชินภานุวัฒน์ หรือ น้องเบลล์ วัย 26 ปี CEO สาวรุ่นใหม่ไฟแรงที่สืบทอดมรดกของตระกูล ได้หันมาต่อยอดขยายความคิดอนุรักษ์ เปิดพื้นที่กว่า 6 ไร่ซึ่งอยู่ติดกัน เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ประวัติของโอ่งมังกร โดยใช้ชื่อว่า “เรื่องของโอ่ง” และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแนวใหม่ เชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น เพื่อสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวราชบุรีอย่างแท้จริง
นางสาวชัญญานุช ชินภานุวัฒน์ เปิดเผยเรื่องราวแนวไอเดียและความคิดในการพัฒนาและต่อยอดว่า ปัจจุบันโรงโอ่งเรืองศิลป์ 3 ได้บริหารกันแบบครอบครัว ซึ่งพี่ชายคนโตจะดูแลกิจการโรงงาน พี่สาวคนกลาง จะดูแลกิจการร้านอาหาร และตนเองน้องสาวคนสุดท้องดูแลศูนย์เรียนรู้ “เรื่องของโอ่ง” จากความมุ่งมั่นที่ตนเองจะสืบสานศิลปวัฒนธรรม การปั้นโอ่งมังกร ของจังหวัดราชบุรี ในรูปแบบดั้งเดิมตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ทั้งด้านความเจริญทางศิลปวัฒนธรรม และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของอัตลักษณ์ประจำจังหวัดให้ชนรุ่นหลังตระหนักถึงความเป็นมาของโอ่งมังกร ปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์และดำรงภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวราชบุรี คงไว้ซึ่งเสน่ห์อันเป็นตำนานมีชีวิตและเป็นที่นิยมตลอดไป สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นลูกหลาน “เมืองโอ่งมังกร” ด้วยกลิ่นอายของเมืองโอ่ง และวิถีต้นกำเนิดโอ่งมังกร เปิดตำนานอารยธรรมโอ่งกว่า 100 ปีของโอ่งมังกร อีกทั้งภายในยังมีพื้นที่ให้ศึกษาประวัติศาสตร์ของโอ่งตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน พร้อมเข้าชมกรรมวิธีการผลิตอันประณีต ซึ่งหาชมได้ยากในปัจจุบัน ตั้งแต่การปั้น การตกแต่งลวดลาย และบรรยากาศจำลองภายในเตามังกร ซึ่งใช้ในการเผาโอ่งมาช้านาน
นอกจากจะได้สัมผัสถึงวิถีชีวิตของการปั้นโอ่ง และศึกษาประวัติความเป็นมาของโอ่งมังกรแล้ว สิ่งที่ไม่ควรพลาดคือ ของที่ระลึกจุดศูนย์รวมของดีประจำจังหวัดราชบุรี ร้านอาหารโอ่งข้าวโอ่งน้ำ ที่มีเมนูอาหารหลากหลายให้ได้สัมผัสและลิ้มรองชิมรสชาติ
“โอ่งข้าว โอ่งน้ำ” เป็นอีก 1 ร้านอาหารที่มีเมนูเด็ดแตกต่างจากร้านอาหารอื่นๆ ทั่วไปที่ได้ทั้งรสชาติความอร่อย และยังสนุกกับการปั้นโอ่งด้วยฝีมือของผู้ที่เข้ามารับประทานอาหาร ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของบรรดานักท่องเที่ยวที่ต้องการมารับประทานอาหารและเรียนรู้การปั้นโอ่งแบบครบทุกรสชาติ
โดยทางร้านได้แนะนำเมนูเด็ด 3 รายการประกอบด้วย เซมอลเดินดง, แครอทกรอบทอดสมอโอ่งน้ำ และที่พิเศษสุดคือ ทอดมันไข่ซีอิ้วโอ่งข้าว เป็นเมนูที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่ง ที่ลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวมาแวะรับประทานจะสั่งกันแทบทุกโต๊ะ ด้วยความหอมและรสชาติที่กลมกล่อม
“ทอดมันไข่ซีอิ้วโอ่งข้าว” จะใช้กระบวนการขั้นตอนการทำอย่างพิถีพิถันจากฝีมือเชฟมือหนึ่งของทางร้าน ตั้งแต่ขั้นตอนการนวดผสมเนื้อทอดมันปลากรายจากส่วนผสมสูตรพิเศษที่ไม่เหมือนใคร ได้เนื้อรสชาติของปรากราย ด้วยการนวดให้ได้เข้าที่จากนั้นนำไข่ที่หมักด้วยซีอิ้วในโอ่งมังกรได้เนื้อรสชาติความหอมของไข่ขาวนำมาพอกด้วยทอดมันให้เป็นลูกกลมๆ ปั้นด้วยมือจนได้ลูกที่พอเหมาะ จากนั้นนำมาลงทอดในกระทะน้ำมันที่มีความร้อนที่พอเหมาะ จะใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที เมื่อสุกได้ที่จึงนำขึ้นมาสลัดน้ำมั้นจากนั้นนำมีดมาหั่นให้เป็นชิ้นๆพอคำ ตกแต่งด้วยดอกไม้แครอทสลัก นำเสริฟด้วยน้ำจิ้มสูตรพิเศษ
ส่วน “แซมอลเดินดง” อีก 1 เมนูที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ขั้นตอนการทำต้องใช้ความพิถีพิถันเพราะเราต้องเอาเนื้อปลาแซมอลดิบลงไปทอดในไฟที่มีอุณหภูมิพอเหมาะเพื่อไม่ให้เนื้อปลาไหม้ติดกระทะ เนื้อปลาแตกยุ่ยใช้เวลาการทอดประมาณ 1-2 นาที พอได้เนื้อปลาเซมอลที่สุกได้ที่สีเหลืองและสีทองตักขึ้นมาใส่ไว้ในจาน จากนั้นนำมาลาดด้วยน้ำยำสูตรพิเศษที่ได้เครื่องเคียงที่หอม ข่า ตะไคร้ มะนาว พริกสด มาลาดบนเนื้อปลาเซมอลเพื่อเพิ่มรสชาติ เนื้อปลาที่สุกนิ่มทำให้ได้ความหอมอร่อยชวนรับประทาน
สำหรับเมนู “แครอทกรอบทอดสมอโอ่งน้ำ” กระบวนวิธีการทำมองดูแล้วง่าย แต่ถ้าไม่มีความรู้หรือคำแนะนำจากเชฟ จะทำให้ไม่ได้รสชาติที่อร่อยของแครอททอด โดยขั้นตอนวิธีการทำก็ง่าย เริ่มจากการนำแครอมมาหั่นให้เป็นฝอยๆ ลงไปทอดบนน้ำมันเดือดจะได้เนื้อแครอทที่กรอบ เมื่อเซฟปรุงรสชาติเรียบร้อยก็นำขึ้นมาจัดไว้ในจานนำกุ้ง ปลาหมึก หรือเนื้อปลา มาประดับไว้ในจาน รับประทานคู่กับน้ำยำสูตรพิเศษทำให้รสชาติหอมอร่อยยิ่งขึ้น
นับได้ว่าเป็นอีก 1 สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดราชบุรี ที่จะพลาดไม่ได้มาราชบุรีทั้งทีต้องมาให้ถึงจังหวัดราชบุรี รับประทานอาหารสไตล์โอ่งมังกร แถมยังได้สนุกกับการปั้นโอ่งมังกรของจริงด้วยฝีมือตัวเอง พร้อมทั้งเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของโอ่งมังกรจากยุคแรกๆจนถึงยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะโอ่ง 3 แผ่นดิน ที่ยังหลงเหลืออยู่และเป็นสมบัติล้ำค่าชิ้นสำคัญคู่บ้านคู่เมืองราชบุรี รวมไปถึงโอ่งมังกร 9 ตัวที่ปั้นขึ้นใหม่เพื่อถวายอาลัยในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ช่างปั้นวาดลวดรายมังกรบนโอ่งที่มีอายุเก่าแก่และเป็นรุ่นสุดท้ายได้บรรจงฝีมือวาดขึ้น และมีเพียงใบเดียวในโลกเท่านั้น
สำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาสัมผัสรสชาติอาหารและเรียนรู้ประวิติการดำเนินโอ่งมังกรเดินทางมาได้ที่ ศูนย์แห่งการเรียนรู้ “เรื่องของโอ่ง” ร้าน โอ่งข้าว โอ่งน้ำ ตั้งอยู่หลักกิโลเมตรที่ 108 บนถนนสายขาเข้าจากเพชรบุรีสู่เมืองราชบุรี เลขที่ 66 หมู่ 6 ถนนเพชรเกษม ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก
โทรสอบถามได้ที่หมายเลข 094-6834521
หรือติดตามได้ทางแฟนเพจ facebook พิมพ์ชื่อ “เรื่องของโอ่ง Pottery Legend”
เปิดเวลา 09.30 – 19.30 น. หยุดทุกวันพุธ