ไม่พบผลการค้นหา
วิหารไม้สักทอง หลังคาจั่วซ้อนชั้น สถาปัตยศิลป์แบบพม่า-ไทใหญ่ แห่งวัดศรีรองเมือง เป็นพุทธสถานต้องห้ามพลาด เมื่อไปเที่ยวลำปาง

วิหารไม้สักทอง หลังคาจั่วซ้อนชั้น สถาปัตยศิลป์แบบพม่า-ไทใหญ่ แห่งวัดศรีรองเมือง เป็นพุทธสถานต้องห้ามพลาด เมื่อไปเที่ยวลำปาง

 

วัดศรีรองเมืองสร้างโดยคหบดีชาวไทใหญ่เมื่อพ.ศ. 2466 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยใช้ช่างฝีมือชาวพม่าในการบูรณะจากวัดเดิมที่มีอยู่ก่อน

 

มีเกร็ดเล่าว่า ชื่อวัดศรีรองเมืองสะกดเพี้ยนมาจากชื่อเดิมที่เรียก วัดศรีสองเมือง ซึ่งสร้างขึ้นบนพื้นที่ของสำนักสงฆ์อันมีชื่อตามนามสกุลของผู้บริจาคที่ดิน สำนักสงฆ์ศรีสองเมืองสร้างเมื่อปี 2434  

 

ไฮไลท์ของการเข้าชมอยู่ที่วิหารหรือจอง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ สร้างด้วยไม้สักทอง ภายในตกแต่งด้วยลวดลายละลานตาเต็มพื้นที่ ส่วนของหลังคาเป็นทรงจั่วซ้อนชั้น แสดงความหมายของปราสาท

 

หลังคาใช้แผ่นสังกะสี คลุมตั้งแต่ทางขึ้นจนถึงส่วนของห้องโถง มีจั่วซ้อนชั้นลดหลั่นกันเป็นชุด บางชุดหลังคาวางตามแนวขวาง บางชุดวางตามแนวยาวของวิหาร

 

หลังคาแต่ละชุดมีผนังข้างใต้ แสดงถึงฝาเรือน สื่อความเป็นรูปจำลองของวิหาร หน้าจั่ว ป้านลม และเชิงชายประดับด้วยไม้และสังกะสีฉลุลาย

 

บนวิหารชั้นสองมีห้องโถง พื้นอาคารมีหลายระดับ ส่วนนอกสุดซึ่งเป็นพื้นระดับต่ำสุด ใช้เป็นที่ญาติโยมฟังเทศน์ฟังธรรม สามเณรเรียนหนังสือ ถัดเข้าไปเป็นยกพื้นขั้นที่สอง ใช้เป็นอาสนสงฆ์

 

ส่วนในสุดเป็นยกพื้นระดับสูงสุด ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระประธานรวม 4 องค์ มีทั้งโลหะสำริดและไม้แกะสลัก ด้านข้างซ้าย-ขวาของพระประธานเป็นกุฏิพระสงฆ์ สร้างบนยกพื้นเช่นกัน

 

พระประธานสร้างด้วยไม้สักแกะสลัก ศิลปะแบบพม่า

 

เสาทั้งหมดประดับด้วยลายที่ประดิษฐ์จากการปั้นรัก หรือเดินเส้นรัก ประดับกระจกสี

 

พระประธานในห้องทางขวามือสุด

 

พระประธานในซุ้มลงรักปิดทองประดับกระจก

 

พระประธานในห้องซ้ายมือสุด

 

ประตูและฝาห้องกุฏิเจ้าอาวาส

 

เพดานห้องโถงประดับด้วยกรอบลายเป็นช่องๆเต็มเพดาน

 

ลวดลายบนเพดาน มีทั้งพรรณพฤกษา รูปสัตว์ และรูปบุคคล

 

ธรรมาสน์แปดเหลี่ยม ขาสิงห์ สร้างเมื่อพ.ศ. 2455

 

ธรรมาสน์ ประดับไม้แกะสลัก รูปสัตว์มงคลต่างๆ เช่น หงส์ นกยูง

 

สถาปัตยกรรมที่ควรชมอีกอย่าง คือ อุโบสถ สร้างแบบตะวันตก เมื่อพ.ศ. 2474

 

ที่เมืองลำปาง การผสมผสานศิลปะตะวันตกภายในวัดพม่า พบเห็นได้ทั่วไป ทำนองเดียวกับพุทธสถานหลายแห่งในเมืองหลวงของสยามประเทศ ตามความนิยมในสมัยแรกสร้าง.

 

แหล่งข้อมูล

 

ฐาปกรณ์ เครือระยา.  วัดพม่า-ไทยใหญ่ในนครลำปาง.

 

บงกช นันทิวัฒน์.  (2550).  เจดีย์แบบพม่าสมัยรัชกาลที่ 5 ในเมืองลำปาง.  วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

 

อนุกูล ศิริพันธุ์ และคณะ.  การศึกษาและสร้างรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวด้านศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง.

 

ติดตาม ไทยทัศนา ย้อนหลัง

 

ไทยทัศนา : (1) วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (2) วัดสุวรรณาราม ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (3) วัดราชโอรส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (4) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (5) วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (6) วัดเสนาสนาราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (7) วัดจันทบุรี สระบุรี

ไทยทัศนา : (8) วัดสมุหประดิษฐาราม สระบุรี

ไทยทัศนา : (9) วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (10) วัดบางขุนเทียนใน ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (11) วัดซางตาครู้ส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (12) วัดบางขุนเทียนนอก ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (13) วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม

ไทยทัศนา : (14) วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา

ไทยทัศนา : (15) สัตตมหาสถาน กรุงเทพฯ เพชรบุรี

ไทยทัศนา : (16) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (17) วัดตองปุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (18) มหาธาตุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (19) จิตรกรรม วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา

ไทยทัศนา : (20) พระปรางค์มหาธาตุ ราชบุรี

ไทยทัศนา : (21) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (22) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (23) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สอง)

ไทยทัศนา : (24) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สาม)

ไทยทัศนา : (25) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สี่-จบ)

ไทยทัศนา : (26) ประตูโขง วัดกากแก้ว นครลำปาง

ไทยทัศนา : (27) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (28) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่สอง-จบ)

ไทยทัศนา : (29) วัดปงยางคก ลำปาง

ไทยทัศนา : (30) วิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ ลำปาง

ไทยทัศนา : (31) วิหารโถงทรงจัตุรมุข วัดปงสนุก ลำปาง

ไทยทัศนา : (32) ‘จอง’ แบบพม่า วัดพระแก้วดอนเต้า ลำปาง

ไทยทัศนา : (33) วัดศรีชุม ลำปาง

 

 

 

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog