ไม่พบผลการค้นหา
วิหารวัดศรีชุมแสดงโครงหลังคาแบบผสมผสาน มีทั้งทรงปราสาทและทรงจั่วซ้อนชั้น พระอุโบสถสร้างทรงปราสาทห้ายอด นับเป็นวัดพม่าที่น่าเที่ยวชมของนครลำปาง

วิหารวัดศรีชุมแสดงโครงหลังคาแบบผสมผสาน มีทั้งทรงปราสาทและทรงจั่วซ้อนชั้น พระอุโบสถสร้างทรงปราสาทห้ายอด นับเป็นวัดพม่าที่น่าเที่ยวชมของนครลำปาง

 

วัดศรีชุมสร้างโดยคหบดีชาวพม่าเมื่อปีพ.ศ. 2433 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ภายในวัดมีงานพุทธศิลป์ที่น่าสนใจ ทั้งที่วิหารและอุโบสถ

 

วิหารเป็นแบบครึ่งตึกครึ่งไม้ สร้างราวพ.ศ. 2443 น่าเสียดายที่อาคารถูกไฟไหม้เมื่อปี 2535 กรมศิลปากรได้บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามลักษณะเดิมเมื่อปี 2539

 

วิหารหรือจองหลังนี้เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นกุฏิของพระภิกษุสามเณร ชั้นบนเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน ห้องเจ้าอาวาส และห้องเก็บรักษาปูชนียวัตถุต่างๆ

 

ส่วนบนของผนังด้านนอกตัวอาคารประดับปูนปั้นรูปสายพวงมาลัยโดยรอบ ตามแบบอย่างความนิยมแบบไทยภาคกลางเมื่อสมัยแรกสร้าง

 

หลังคาแยกเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งวางตามแนวขวางของอาคาร คลุมด้วยหลังคาจั่วซ้อนชั้น จำนวน 4 ชั้น

 

หลังคาอีกชุดหนึ่งเป็นทรงปราสาทซ้อนชั้น จำนวน 7 ชั้น มีซุ้มบันแถลงประดับไว้ทั้งสี่ด้านของทุกชั้น

 

ทางขึ้นทำมุขคลุมบันไดทั้งสองข้าง วิหารแบบพม่ามักเข้าทางด้านยาวของตัวอาคาร ผิดกับโบสถ์วิหารไทยซึ่งประตูอยู่ทางด้านกว้าง

 

แผงไม้ระหว่างเสารับหน้าจั่วของมุขคลุมบันได ที่เรียกว่า โก่งคิ้ว แกะสลักเป็นลายพรรณพฤกษาและรูปตุ๊กตาแต่งกายแบบพม่า ผสมศิลปะตะวันตก ฝีมือช่างจากเมืองมัณฑะเลย์

 

พระประธานและซุ้มพระ เป็นศิลปกรรมแบบพม่า

 

ปูชนียวัตถุภายในห้องเก็บรักษาดาดกระจกบนวิหาร

 

ธรรมาสน์บนวิหาร

 

ทางทิศตะวันออกของวิหารเป็นที่ตั้งของเจดีย์แบบพม่า-มอญ พระเจดีย์ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ

 

อุโบสถเป็นอาคารทรงปราสาทห้ายอด ยอดทางทิศเหนือและทิศใต้เป็นปราสาท 5 ชั้น ยอดทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเป็นปราสาท 4 ชั้น หลังคายอดกลางเป็นปราสาท 6 ชั้น ประดับฉัตรที่ปลายยอด

 

สีมาของโบสถ์เป็นเสาทรงกระบอก ปลายเสาเป็นรูปดอกบัว

 

บันไดนาคแบบพม่า

 

ทางเข้าพระอุโบสถ ประดับลวดลายอ่อนช้อย ที่โก่งคิ้วและเชิงชาย

 

ซุ้มประตู และบานประตู พระอุโบสถ

 

ลวดลายประดับบานประตู กลิ่นอายตะวันตก

 

ลวดลายและสีสันของดาวเพดาน

 

พระประธานภายในพระอุโบสถ รวมทั้งฐานชุกชี ซุ้มพระ ล้วนเป็นศิลปะพม่า

 

ในย่านตัวเมืองลำปาง มีวัดพม่าอีกหลายแห่ง โปรดติดตามชม.

 

แหล่งข้อมูล

 

ฐาปกรณ์ เครือระยา.  วัดพม่า-ไทยใหญ่ในนครลำปาง.

 

อนุกูล ศิริพันธุ์ และคณะ.  การศึกษาและสร้างรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวด้านศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง.

 

ติดตาม ไทยทัศนา ย้อนหลัง

 

ไทยทัศนา : (1) วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (2) วัดสุวรรณาราม ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (3) วัดราชโอรส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (4) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (5) วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (6) วัดเสนาสนาราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (7) วัดจันทบุรี สระบุรี

ไทยทัศนา : (8) วัดสมุหประดิษฐาราม สระบุรี

ไทยทัศนา : (9) วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (10) วัดบางขุนเทียนใน ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (11) วัดซางตาครู้ส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (12) วัดบางขุนเทียนนอก ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (13) วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม

ไทยทัศนา : (14) วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา

ไทยทัศนา : (15) สัตตมหาสถาน กรุงเทพฯ เพชรบุรี

ไทยทัศนา : (16) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (17) วัดตองปุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (18) มหาธาตุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (19) จิตรกรรม วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา

ไทยทัศนา : (20) พระปรางค์มหาธาตุ ราชบุรี

ไทยทัศนา : (21) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (22) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (23) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สอง)

ไทยทัศนา : (24) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สาม)

ไทยทัศนา : (25) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สี่-จบ)

ไทยทัศนา : (26) ประตูโขง วัดกากแก้ว นครลำปาง

ไทยทัศนา : (27) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (28) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่สอง-จบ)

ไทยทัศนา : (29) วัดปงยางคก ลำปาง

ไทยทัศนา : (30) วิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ ลำปาง

ไทยทัศนา : (31) วิหารโถงทรงจัตุรมุข วัดปงสนุก ลำปาง

ไทยทัศนา : (32) ‘จอง’ แบบพม่า วัดพระแก้วดอนเต้า ลำปาง

 

 

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog