ไม่พบผลการค้นหา
มณฑปปราสาท วัดพระแก้วดอนเต้า มีรูปทรงงดงามด้วยหลังคาซ้อนชั้น ภายในตกแต่งด้วยไม้แกะสลัก งานปั้นรักประดับกระจก และศิลปกรรมแบบตะวันตก เช่น กามเทพ แลดูละลานตาในความประณีต

มณฑปปราสาท วัดพระแก้วดอนเต้า มีรูปทรงงดงามด้วยหลังคาซ้อนชั้น ภายในตกแต่งด้วยไม้แกะสลัก งานปั้นรักประดับกระจก และศิลปกรรมแบบตะวันตก เช่น กามเทพ แลดูละลานตาในความประณีต

 

นครลำปางในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นศูนย์กลางการค้าไม้สักของภาคเหนือ คหบดีชาวพม่าเข้ามาทำไม้จนมีฐานะมั่งคั่ง จึงสร้างวัดวาอารามขึ้นหลายแห่ง

 

พุทธสถานซึ่งสร้างเพื่อขอขมาต่อธรรมชาติและอาศัยกุศลผลบุญช่วยปกป้องคุ้มภัยในป่าดงเหล่านี้ แสดงให้เห็นศิลปกรรมแบบมัณฑเลย์ อันเป็นเมืองหลวงของพม่าในสมัยนั้น

 

ในช่วงยุคทองของการทำไม้สัก ระหว่างปีพ.ศ. 2425-2440 มีการสร้างวัดแบบพม่า-ไทใหญ่ขึ้นในเมืองลำปางหลายแห่ง อาคารชนิดหนึ่งที่โดดเด่นภายในพระอาราม คือ วิหาร หรือเรียกด้วยคำพื้นถิ่นว่า จอง

 

โครงสร้างของจองมี 2 แบบ นั่นคือ หลังคาทรงปราสาท กับหลังคาทรงจั่วซ้อนชั้น

 

มณฑปปราสาท วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม เป็นตัวอย่างของจองแบบแรก

 

วัดแห่งนี้เป็นการรวมวัดเก่าแก่ 2 วัดเข้าด้วยกัน คือ วัดพระแก้วดอนเต้า (ภาพบน) กับวัดสุชาดาราม (ภาพล่าง) วัดพระแก้วดอนเต้าสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏประวัติ ส่วนวิหารวัดสุชาดารามสร้างในระหว่างพ.ศ. 2325-2352

 

มณฑปแบบพม่ามีจารึกระบุว่า เริ่มสร้างเมื่อพ.ศ. 2452 ใช้เวลา 9 ปีจึงแล้วเสร็จ มณฑปรูปทรงนี้ พม่าเรียกว่า เปียตั๊ด หมายถึงปราสาท

 

ตัวมณฑปตั้งชิดอยู่ทางทิศใต้ของพระบรมธาตุดอนเต้า อาคารเป็นทรงสี่เหลี่ยมย่อมุม มีทางเข้า 3 ทาง คือ ด้านทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ส่วนด้านทิศเหนือเป็นผนังทึบชิดกับองค์เจดีย์

 

ทางเข้าทุกทางมีมุขยื่นออกมาจากตัวอาคาร หลังคาเป็นทรงปราสาท แสดงความเป็นเรือนฐานันดรสูงด้วยรูปจำลองของเรือนซ้อนชั้นลดหลั่น แต่ละชั้นมีจั่วและผนังเรือน นับรวมได้ 7 ชั้น ยอดบนสุดเป็นปลีและฉัตร

 

หลังคาทางเข้าด้านหน้า ประดับด้วยลวดลายไม้แกะสลัก ตั้งแต่ยอดจั่วจนถึงเชิงชาย

 

หน้าบันและโก่งคิ้วประดับลายพรรณพฤกษาแบบตะวันตก หัวเสาตกแต่งด้วยงานปั้นรักประดับกระจกเป็นลายกลีบบัว

 

นอกจากรูปเทวดาอย่างพม่าแล้ว เรายังเห็นเทวดาฝรั่งที่เรียกว่า กามเทพ ด้วย

 

พระประธานประจำวิหาร ประดิษฐานอยู่ด้านในสุด ภายในอาคารมีการประดับเต็มพื้นที่

 

องค์พระปฏิมาและฐานชุกชี เป็นศิลปะพม่า

 

ผนังด้านในสุดตกแต่งด้วยลายคำภายในกรอบสี่เหลี่ยม กระจกสีลวดลายเรขาคณิต

 

รูปนกยูงบนเพดาน

 

งานปั้นรักประดับกระจก

 

ลวดลายประดับเสา

 

ลวดลายและสีสันของดาวเพดาน ตรงกลางของทุกช่องสี่เหลี่ยมมีคิวพิด ยุวเทพของฝรั่ง

 

บรรยากาศแบบตะวันตก ในพุทธสถานสมัยรัชกาลที่ 5

 

บนแผงไม้คอสองแสดงเรื่องเล่าพุทธประวัติ

 

ในสัปดาห์ต่อๆไป เราจะไปเยือนวิหารแบบพม่าในนครลำปางอีกหลายหลัง สวยงามน่าชมทั้งนั้น.

 

แหล่งข้อมูล

 

ฐาปกรณ์ เครือระยา.  วัดพม่า-ไทยใหญ่ในนครลำปาง.

 

ติดตาม ไทยทัศนา ย้อนหลัง

 

ไทยทัศนา : (1) วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (2) วัดสุวรรณาราม ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (3) วัดราชโอรส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (4) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (5) วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (6) วัดเสนาสนาราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (7) วัดจันทบุรี สระบุรี

ไทยทัศนา : (8) วัดสมุหประดิษฐาราม สระบุรี

ไทยทัศนา : (9) วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (10) วัดบางขุนเทียนใน ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (11) วัดซางตาครู้ส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (12) วัดบางขุนเทียนนอก ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (13) วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม

ไทยทัศนา : (14) วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา

ไทยทัศนา : (15) สัตตมหาสถาน กรุงเทพฯ เพชรบุรี

ไทยทัศนา : (16) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (17) วัดตองปุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (18) มหาธาตุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (19) จิตรกรรม วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา

ไทยทัศนา : (20) พระปรางค์มหาธาตุ ราชบุรี

ไทยทัศนา : (21) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (22) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (23) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สอง)

ไทยทัศนา : (24) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สาม)

ไทยทัศนา : (25) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สี่-จบ)

ไทยทัศนา : (26) ประตูโขง วัดกากแก้ว นครลำปาง

ไทยทัศนา : (27) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (28) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่สอง-จบ)

ไทยทัศนา : (29) วัดปงยางคก ลำปาง

ไทยทัศนา : (30) วิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ ลำปาง

ไทยทัศนา : (31) วิหารโถงทรงจัตุรมุข วัดปงสนุก ลำปาง

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog