ไม่พบผลการค้นหา
ช่างภาพชาวอินเดียนำเสนอภาพถ่ายผู้หญิงใส่หน้ากากวัวประท้วงโดยไร้เสียง ภายใต้คำถามที่ละเอียดอ่อนในสังคมอนุรักษ์นิยม ว่าชีวิตผู้หญิงอินเดียมีค่าน้อยกว่าวัวหรือไม่

ช่างภาพชาวอินเดียนำเสนอภาพถ่ายผู้หญิงใส่หน้ากากวัวประท้วงโดยไร้เสียง ภายใต้คำถามที่ละเอียดอ่อนในสังคมอนุรักษ์นิยม ว่าชีวิตผู้หญิงอินเดียมีค่าน้อยกว่าวัวหรือไม่ 

 

My art comes as a form of protest. In my country Cows are more important than a woman's life with more security. (Reference: Majority of Hindus believe cow as their holy animal and they worship it though Majority of Muslims consume it as a part of their daily meal.) The debate is never ending "Whether to consume or worship it" but gaining political benefits out of it is wrong. Why not let the people decide what they want to consume. I will be photographing women from different parts of the society. I would be more than happy if you reach out to me and want to get photographed or maybe join this form of protest. Suchismita says: "As a woman, the question of harassment and insecurity has been a part and parcel of my life. And even more so, as I left my home and went to another city for my higher studies. But in the past few years, this question has been at the forefront in every single discourse. Rather than addressing it, there have been repeated examples of sidelining it with more trivial matters. In a country with astounding levels of rape, molestation, abuse and other manners of crimes perpetrated against women, it is beyond sick that the matter of cow protection and religion has more traction. What use are protected cows and religious sentiments if half the population of the country needs to live in constant threat in order to facilitate it? When I saw the rather innovative idea used to engage with the cow protectionist camp, I decided I had to be on board. These last few years, I've realised injecting humour is the only way to tackle these idiots. If we take offence at everything they say and do, then there lies no essential difference between them and us. The campaign in that sense, is quite mooving." #RisingBeyondJingoism #WHPstandout #market #cow #women #protest #womenpower #politics #indiarising #inquisitiveindian #live #animals #love #laugh #art #men #everydayeverywhere #indiaphotoproject #everydayindia #womenphotographers #myfeatureshoot

A post shared by Sujatro Ghosh (@sujatroghosh) on



กฎหมายคุ้มครองวัวเข้มงวดเป็นอย่างมากในอินเดีย เนื่องจากวัวเป็นสัตว์ศักสิทธิ์ที่ชาวฮินดูส่วนใหญ่เคารพบูชา ซึ่งขัดกับชาวมุสลิมส่วนใหญ่ที่บริโภคเนื้อวัวเป็นปกติในชีวิตประจำวัน การถกเถียงกันว่าวัวเป็นสัตว์ที่เอาไว้บูชาหรือเอาไว้บริโภคยังไม่มีจุดจบ แต่กฎหมายคุ้มครองวัวก็เพิ่มความเข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ โดยการฆ่าวัวถูกแบนในหลายมลรัฐ หากใครฆ่าวัวจะถูกจำคุกยาวนานหลายปีและโดนทำโทษอย่างหนัก ต่างจากคดีข่มขืนและทำร้ายร่างกายผู้หญิงอินเดียที่มีการดำเนินคดีล่าช้า และมักจะไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงเกิดคำถามสำคัญต่อสังคมว่า ชีวิตผู้หญิงมีค่าน้อยกว่าวัวหรือไม่ หากคุ้มครองวัวได้ แล้วทำไมจึงปกป้องผู้หญิงบ้างไม่ได้ คำถามที่ชวนให้สังคมฉุกคิดนี้มาจาก นายสุจาโต โกช ช่างภาพหนุ่มชาวอินเดีย วัย 23 ปี ผู้นำเสนอภาพถ่ายผู้หญิงอินเดียใต้หน้ากากวัว 

นอกจากการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้หญิงแล้ว ภาพถ่ายชุดนี้ยังต่อต้านอำนาจและอิทธิพลของศาลเตี้ยที่มากขึ้นเรื่อยๆของกลุ่มคุ้มครองวัวหรือกลุ่มฮินดูหัวรุนแรง ตั้งแต่พรรคชาตินิยมฮินดู ภาราติยะ ชานาตา หรือ BJP นำโดยนายนเรนทรา โมดิ ชนะการเลือกตั้งในปี 2014 โดยในช่วงสองปีที่ผ่านมามีคนถูกรุมประชาทัณฑ์จนเสียชีวิตมากกว่า 10 ราย ในข้อหาต้องสงสัยว่าจะฆ่าวัว บ้างเพราะข่าวลือที่ไม่มีมูล บ้างเพียงเพราะขนส่งวัวเพื่อการรีดนม และในขณะนี้ รัฐสภากำลังพิจารณาร่างกฏหมายโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมการฆ่าวัว

ทั้งๆที่พรรค BJP มีการออกแถลงการณ์ในช่วงเลือกตั้งว่า "ความปลอดภัยของผู้หญิง" เป็นประเด็นที่ทางพรรคให้ความสำคัญ แต่การแก้ไขปัญหาก็มีแนวโน้มจะกลายเป็นการกดขี่ผู้หญิงแทนด้วยการออกระเบียบเรื่องการสวมใส่เสื้อผ้าของผู้หญิงในที่สาธารณะ ยิ่งกว่านั้นยังไม่มีพรรคการเมืองใดที่รณรงค์ให้การข่มขืนคู่สมรสเป็นเรื่องผิดกฎหมาย 

ด้วยเหตุนี้ นายโกชจึงได้ชวนผู้หญิงอินเดียเข้าร่วมการประท้วงโดยการใส่หน้ากากวัวตามสถานที่สาธารณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ประตูชัยอินเดีย ทำเนียบประธานาธิบดี บนเรือในแม่น้ำฮูคลี นครโกลกาตา และที่อื่นๆ เนื่องจากเขาตระหนักได้ถึงภัยอันตรายจากการเมืองกับศาสนาที่ล้ำเส้นสิทธิเสรีภาพของผู้หญิงมากเกินไป ผู้หญิงอินเดียที่ได้เข้าร่วมการประท้วงต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า การอยู่ภายใต้หน้ากากวัว ทำให้พวกเธอรู้สึกได้ถึงพลังและได้รับความสนใจจากผู้คนมากขึ้น 

เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วแล้ว นายโกชเผยแพร่ภาพชุดผู้หญิงใต้หน้ากากวัวลงบนอินสตราแกรม และได้รับความคิดเห็นและเสียงตอบรับดีมาก ภาพชุดดังกล่าวแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วในอาทิตย์แรก และเขาได้รับข้อความจากผู้หญิงมากมายจากทั่วทุกมุมโลกว่าพวกเธอก็อยากมีส่วนร่วมกับแคมเปญนี้เช่นกัน หลังจากนั้นไม่นานสื่ออินเดียได้ลงเรื่องราวการประท้วงไร้เสียงผ่านภาพถ่ายนี้ลงบนเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ แต่ปรากฏว่าเสียงตอบรับกลับเป็นการคุกคามและการข่มขู่ผู้หญิงอินเดียที่ประท้วง รวมถึงมีการแจ้งตำรวจนิวเดลี กล่าวหาผู้ประท้วงว่าก่อเหตุจลาจล และเรียกร้องให้จับกุมตัวผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด

นายโกชเปิดเผยว่า เขาไม่รู้สึกตกใจกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เนื่องจากหัวข้อดังกล่าวเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ที่เมื่อมองลึกลงไปจะเห็นถึงอำนาจสูงสุดของศาสนาฮินดูที่อยู่เหนือสังคมอินเดีย และเขาเชื่อว่าสิ่งที่เขาทำไป เป็นการทำเพื่อสังคมที่ดีกว่าในอนาคต ดังนั้นเขาจึงไม่กลัวต่อการคุกคามใดๆ

 

My art comes as a form of protest. In my country Cows are more important than a woman's life with more security. (Reference: Majority of Hindus believe cow as their holy animal and they worship it though Majority of Muslims consume it as a part of their daily meal.) The debate is never ending "Whether to consume or worship it" but gaining political benefits out of it is wrong. Why not let the people decide what they want to consume. I will be photographing women from different parts of the society. I would be more than happy if you reach out to me and want to get photographed or maybe join this form of protest. #RisingBeyondJingoism #maternal #cow #women #protest #womenpower #weekend #indiarising #workingwomen #live #animals @instagram #love #laugh #mortality #standup #everydayeverywhere #indiaphotoproject #everydayindia #womenphotographers #myfeatureshoot

A post shared by Sujatro Ghosh (@sujatroghosh) on

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog