ไม่พบผลการค้นหา
โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่ถูกผลักดันให้เดินหน้าด้วยมาตรา 44 เพื่อปลดล็อคข้อติดขัดระเบียบต่างๆ ซึ่งจุดเริ่มต้นโครงการดังกล่าวเป็นเพียงกรอบแนวคิดที่จะเชื่อมเส้นทางรถไฟระหว่างประเทศ จนในที่สุดนำมาสู่การปรับเปลี่ยนเส้นทางใหม่ผ่าน 3 ยุค 3 รัฐบาล

โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่ถูกผลักดันให้เดินหน้าด้วยมาตรา 44 เพื่อปลดล็อคข้อติดขัดระเบียบต่างๆ ซึ่งจุดเริ่มต้นโครงการดังกล่าวเป็นเพียงกรอบแนวคิดที่จะเชื่อมเส้นทางรถไฟระหว่างประเทศ จนในที่สุดนำมาสู่การปรับเปลี่ยนเส้นทางใหม่ผ่าน 3 ยุค 3 รัฐบาล

หลังโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่ค้างมาถึง 3 รัฐบาล ในที่สุด ถูกขับเคลื่อนในรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ด้วยการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ปลดล็อก 7 ด้าน เพื่อให้รถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เดินหน้าต่อได้ เช่น ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง ระเบียบราคากลาง รวมถึงการยกเว้นระเบียบข้อกฎหมายต่างๆ เช่น เรื่องพัสดุ อี-ออกชั่นในส่วนที่จ้างจีนทำ ระเบียบด้านวิศวกรและสถาปนิก

อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธาและการจราจร ระบุว่า รัฐบาลควรใช้มาตรา 44 ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ในช่วงแรกระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ระหว่างสถานีกลางดง–ปางอโศก ก่อน ส่วนที่เหลือเสนอให้ตั้งรูปแบบการลงทุนร่วมกันระหว่างไทย-จีน เพื่อรับผิดชอบโครงการร่วมกัน อีกทั้งหาแนวทางเชื่อมต่อกับจีน หากโครงการสามารถเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างประเทศได้ก็จะเกิดผลตอบแทนร่วม ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า  อีกทั้งยังมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนา 2 พื้นที่ข้างทางรถไฟให้เกิดประโยชน์ เพื่อดึงดูดการลงทุน เพราะปัจจุบันเส้นทางดังกล่าว เป็นเพียงเส้นทางในประเทศ 

โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนที่ผ่านมาถึง 3 ยุค 3 รัฐบาล มีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดในหลายๆ ด้าน เริ่มต้นที่ยุคแรกในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งจัดทำแผนแม่บทโครงการรถไฟความเร็วสูง 5 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ , กรุงเทพฯ-หนองคาย , กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี , กรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ เบื้องต้นจะสร้างเฉพาะรางให้รถไฟจีนที่จะวิ่งจากคุณหมิง-ลาว วิ่งผ่าน และไทยเก็บค่าผ่าน , จัดตั้งบริษัทร่วมทุนไทย-จีนในสัดส่วนร้อยละ 51 ต่อ 49 ส่วนการบริหารจัดการเดินรถจะใช้บริษัทไทย-จีนเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ไม่มีการลงนาม เพราะยุบสภาในปี 2554

ยุคที่สอง สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีแผนทำรถไฟความเร็วสูง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใน 4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ , กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย , กรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหิน-สงขลา วงเงินลงทุน 783,000 ล้านบาท โดยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลจีน เพื่อก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย แต่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตีตก ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท     

มาถึงยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มี 4 เส้นทาง วงเงิน 7 แสน 1 พันล้านบาท 4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ - หัวหิน , กรุงเทพฯ - ระยอง , กรุงเทพฯ - นครราชสีมา-หนองคาย  และกรุงเทพฯ - พิษณุโลก วิ่งด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไทยเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทยทำสัญญาจ้างรัฐวิสาหกิจจีนพัฒนาโครงการ ลงนาม MOU เมื่อเดือนธันวาคม 2557    

โดยจะเริ่มสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ก่อน วงเงิน 1 แสน 7 หมื่น 9 พันล้านบาท ซึ่งกระทรวงคมนาคม เตรียมนำเสนอโครงการต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ประมาณต้นเดือนกรกฎาคมนี้ และนำเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. พิจารณา คาดว่าจะเปิดประมูลงานโยธาตอนแรก ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ได้ในเดือนกันยายนนี้  

รัฐบาล คสช. เชื่อมั่นว่า รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ -นครราชสีมา จะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังคุนหมิงของจีน ซึ่งผ่าน สปป.ลาว ที่เป็นไปตามนโยบาย One Belt One Road ของจีน โดยไทยจะได้รับประโยชน์ทางคมนาคมขนส่ง ทั้งเรื่องเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว 

ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้ จะมีการประชุมร่วมโครงการรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 19 ที่ประเทศจีน เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการอีกครั้ง หลังจากจีน ยอมโอนถ่ายเทคโนโลยีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงให้แก่วิศวกรไทย เพื่อให้ไทยสามารถพัฒนารถไฟความเร็วสูงได้เองในอนาคต  

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog