ไม่พบผลการค้นหา
ชมวิหารโถงทรงจัตุรมุข วัดปงสนุก แบบอย่างหนึ่งเดียวของสถาปัตยกรรมล้านนา รางวัลอนุรักษ์จากยูเนสโก

ชมวิหารโถงทรงจัตุรมุข วัดปงสนุก แบบอย่างหนึ่งเดียวของสถาปัตยกรรมล้านนา รางวัลอนุรักษ์จากยูเนสโก

 

วัดปงสนุก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มี 2 วัดตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน วัดบนเนินที่ถมสูงเรียกว่า วัดบนหรือวัดปงสนุกใต้ วัดในระดับพื้นดินเสมอบ้านเรือนทั่วไปเรียกว่า วัดล่างหรือวัดปงสนุกเหนือ

 

พื้นที่แห่งนี้ใช้เป็นศาสนสถานมายาวนานอย่างต่อเนื่อง สันนิษฐานว่าสร้างเป็นวัดเมื่อครั้งเจ้าอนันตยศ ราชบุตรของพระนางจามเทวีแห่งนครหริภุญชัย สร้างเขลางค์นครเมื่อพ.ศ. 1223

 

วัดปงสนุกถือเป็นวัดศูนย์กลางเมืองเขลางค์ยุคที่ ๒ ในสมัยอาณาจักรล้านนา หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงวัดปงสนุก ย้อนไปถึงปี  พ.ศ. 1929  ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า  “วัดเชียงภูมิ”    

 

ในอดีต วัดปงสนุกมีชื่อเรียกต่างกันหลายชื่อ ชาวเชียงแสนที่ถูกกวาดต้อนลงมาอยู่ยังลำปาง เรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่าปงสนุก ตามชื่อหมู่บ้านเก่าของตนที่จังหวัดเชียงราย

 

โบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน คือ พระเจดีย์ กับวิหารพระเจ้าพันองค์  ซึ่งมีบันทึกการบูรณะสิ่งก่อสร้างทั้งสองเมื่อกว่าร้อยปีก่อน

 

เมื่อปี 2548 ชุมชนปงสนุกร่วมมือกับหลายหน่วยงาน บูรณะซ่อมแซมวิหารพระเจ้าพันองค์ ผลของความทุ่มเททำให้อาคารแห่งนี้ได้รับรางวัลอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจากยูเนสโกในปี 2551

 

วิหารพระเจ้าพันองค์เป็นวิหารโถง คือ เปิดโล่ง ไม่มีผนัง รูปแบบเป็นทรงจัตุรมุข คือ มีมุขและจั่วสี่ทิศ เครื่องยอดเป็นทรงปราสาท ซ้อนชั้นหลังคาลดหลั่น 3 ชั้น

 

นับเป็นวิหารโถงทรงจัตุรมุขเพียงแห่งเดียว เท่าที่ยังปรากฏในดินแดนล้านนา

 

ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป 4 องค์ หันพระปฤษฎางค์เข้าหากัน คติการสร้างพระพุทธเจ้า 4 พระองค์นั่งหันหลังชนกันเช่นนี้ เป็นที่นิยมในศิลปะพุกามของพม่า

 

พระพุทธรูปแสดงปางมารวิชัย พระพักตร์เป็นรูปไข่ มีพระรัศมีรูปเปลวเพลิง ขมวดพระเกษาเล็ก จีวรยาวจรดพระนาภี พุทธลักษณะบ่งบอกว่าได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัย

 

สิ่งที่น่าชมภายในวิหารมีเช่น ฐานชุกชี เครื่องสักการะ ลายทองบนเสาไม้ ที่สำคัญคือ พระพิมพ์บนแผงไม้ระหว่างเสาโดยรอบวิหาร

 

พระพิมพ์นับจำนวนได้ทั้งสิ้น 1,080 องค์ เป็นที่มาของชื่อเรียก วิหารพระเจ้าพันองค์

 

สำหรับพระเจดีย์นั้น เป็นทรงระฆังกลม หุ้มด้วยแผ่นทองจังโกทั้งองค์ ศิลปะล้านนา องค์เจดีย์มีรั้วล้อมรอบ แต่ละด้านของรั้วมีหอยอ หรือหอไหว้ รูปร่างคล้ายศาลาขนาดเล็ก

 

ใกล้กับพระเจดีย์มีเสาหงส์ ตั้งอยู่บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย บริเวณนี้เป็นลานทราย เช่นเดียวกับบริเวณอื่นๆบนเนินวัด ยกเว้นรอบเจดีย์ รอบวิหารพระเจ้าพันองค์ และรอบวิหารพระนอน ซึ่งเข้าใจว่าเพิ่งปูอิฐในระยะหลัง

 

ประตูโขงนับเป็นศิลปวัตถุที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง ตั้งอยู่หน้าเจดีย์ทางทิศตะวันออก

 

ทางเข้า-ออกเชื่อมต่อกับบันไดนาค ทางด้านตะวันออกของประตูโขงจึงไม่มีการตกแต่งมากนัก

 

อาคารอยู่ในผังสี่เหลี่ยม มีเสาประดับทางด้านทิศตะวันตก ด้านทิศเหนือ และด้านทิศใต้ ต้นเสาและปลายเสาทำปากนกแล ช่วงกลางเสาตกแต่งด้วยประจำยามอก เป็นลายดอกไม้หลายกลีบ

 

เหนือเสาด้านทิศเหนือกับทิศใต้ ประดับปูนปั้นรูปหงส์ เหนือเสาด้านทิศตะวันตก ประดับรูปกินรี

 

เหนือหลังคาซุ้มประตูประดับด้วยตัวลวง หรือพญานาค

 

ส่วนยอดเป็นทรงปราสาท คือ เรือนซ้อนชั้น สื่อแสดงความเป็นเรือนฐานันดรสูงด้วยซุ้มที่ซ้อนกันขึ้นไปอีก 4 ชั้น

 

ปลียอดเป็นทรงพุ่มคล้ายดอกบัว ปลายปลีเป็นยอดแหลมประดับฉัตร

 

ภายในวัดปงสนุกมีโบราณวัตถุจำนวนมาก เก็บรักษาภายในอาคารหลายหลัง

 

พิพิธภัณฑ์หีดพระธัมม์ จัดแสดงหีบคัมภีร์ เขียนลายทองหลากหลายลวดลาย

 

เครื่องใช้ในพุทธศาสนา ทำด้วยไม้ จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อีกหลังหนึ่ง

 

แผงพระพิมพ์ภายในพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้และตุงค่าว

 

วัดปงสนุกมีพุทธศิลป์ให้เลาะชมหลายจุด ควรละเลียดตาแลไปทีละสิ่งทีละส่วน จึงจะซาบซึ้งในงานช่างล้านนา.

 

วิดีโอ : โครงการรากแก้ว

แหล่งข้อมูล

 

วรวิทย์ สุมาลัย.  (2556).  การศึกษาพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณในบริเวณพื้นที่ราบตอนกลางของจังหวัดลำปาง ก่อนพุทธศตวรรษที่ 24.  วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

 

อุมาพร เสริฐพรรณึก.  (2540).  การศึกษาประตูโขงแบบล้านนาในจังหวัดลำปาง.  วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

 

ติดตาม ไทยทัศนา ย้อนหลัง

 

ไทยทัศนา : (1) วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (2) วัดสุวรรณาราม ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (3) วัดราชโอรส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (4) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (5) วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (6) วัดเสนาสนาราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (7) วัดจันทบุรี สระบุรี

ไทยทัศนา : (8) วัดสมุหประดิษฐาราม สระบุรี

ไทยทัศนา : (9) วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (10) วัดบางขุนเทียนใน ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (11) วัดซางตาครู้ส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (12) วัดบางขุนเทียนนอก ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (13) วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม

ไทยทัศนา : (14) วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา

ไทยทัศนา : (15) สัตตมหาสถาน กรุงเทพฯ เพชรบุรี

ไทยทัศนา : (16) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (17) วัดตองปุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (18) มหาธาตุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (19) จิตรกรรม วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา

ไทยทัศนา : (20) พระปรางค์มหาธาตุ ราชบุรี

ไทยทัศนา : (21) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (22) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (23) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สอง)

ไทยทัศนา : (24) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สาม)

ไทยทัศนา : (25) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สี่-จบ)

ไทยทัศนา : (26) ประตูโขง วัดกากแก้ว นครลำปาง

ไทยทัศนา : (27) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (28) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่สอง-จบ)

ไทยทัศนา : (29) วัดปงยางคก ลำปาง

ไทยทัศนา : (30) วิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ ลำปาง

 

 

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog