การจ่ายแป๊ะเจี๊ยะ เป็นการทุจริตวิธีหนึ่ง ซึ่งข้าราชการที่ฝ่าฝืนมีความผิดตามกฎหมาย แต่ที่ผ่านมา ระบบจ่ายแป๊ะเจี๊ยะยังคงเกิดขึ้นจากช่องว่างของประกาศเงื่อนไขรับนักเรียน
แนวปฏิบัติการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ ที่กำหนดไว้ในปี 2554 ประกาศใช้ โรงเรียนรัฐบาล 30,000 แห่งทั่วประเทศ เป็นช่องว่างที่เอื้อให้เกิดการคอร์รัปชั่น "จ่ายแป๊ะเจี๊ยะ" เลขาธิการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ หรือ ภตช. ระบุว่า ใน 7 เงื่อนไข มี 5 ข้อโดยเฉพาะข้อ 7 เอื้อให้เกิดระบบ "ทางด่วนพิเศษ" เข้าเรียน ที่ไม่กำหนดจำนวนชัดเจน และการตีความ "ทำคุณประโยชน์" สามารถเข้าเงื่อนไข จัดโควต้า ให้ระบบอุปถัมภ์ แก่กลุ่มบุตรหลานข้าราชการระดับสูงทุกสายงาน เจ้าของที่ดิน และแบ่งส่วนโควต้าสำหรับ ผู้ปกครองที่ จ่าย "ค่าบำรุงการศึกษา" หรือแป๊ะเจี๊ยะ
"ระบบจ่ายแป๊ะเจี๊ยะ" มี 2 ส่วน คือ แป๊ะเจี๊ยะส่วนกลาง ค่าบำรุงการศึกษาที่เป็นค่าใช้จ่ายในวันมอบตัวนักเรียน ทางโรงเรียนออกใบเสร็จในนามมูลนิธิ หรือองค์กรการกุศล ซึ่งข้าราชการสามารถไปเบิกย้อนหลังได้ ค่ารายหัวประมาณ 1,100-11,100 บาทต่อเทอม โรงเรียนรัฐกว่า
แป๊ะเจี๊ยะส่วนบุคคล จ่ายเพื่อเข้าเรียน เข้าข่ายติดสินบน ผู้รับและผู้ให้ผิดกฎหมาย มีการเรียกเก็บในโรงเรียนชื่อดังมีการแข่งขันสูงประมาณ 500 แห่ง เงินหมุนเวียนปีละ 12,000 ล้านบาท
ทุจริตจ่ายแป๊ะเจี๊ยะ เกิดขึ้นในสังคมไทยมากว่า 50ปี ทางเครือข่ายได้รับเรื่องร้องเรียน แต่การดำเนินการตรวจสอบมักเจอทางตัน