ไม่พบผลการค้นหา
AREA เผย ราคาที่ดินใน กทม. ปี 2560 เพิ่มขึ้น 4% ใกล้เคียงปี 2559  โดยแพงสุด อยู่ที่บริเวณสยามสแควร์ ราคาตลาด ณ สิ้นปี 2560 อยู่ที่ 2.13 ล้านบาทต่อตารางวา  ต้องใช้ธนบัตรใบละ 1,000 บาท วางซ้อนกันถึง 6.2 ชั้น  ส่วนที่ดินถูกสุด 2,300 บาทต่อตารางวา อยู่บริเวณลำลูกกา คลอง 13 ต่างกันถึง 926 เท่า      

AREA เผย ราคาที่ดินใน กทม. ปี 2560 เพิ่มขึ้น 4% ใกล้เคียงปี 2559  โดยแพงสุด อยู่ที่บริเวณสยามสแควร์ ราคาตลาด ณ สิ้นปี 2560 อยู่ที่ 2.13 ล้านบาทต่อตารางวา  ต้องใช้ธนบัตรใบละ 1,000 บาท วางซ้อนกันถึง 6.2 ชั้น  ส่วนที่ดินถูกสุด 2,300 บาทต่อตารางวา อยู่บริเวณลำลูกกา คลอง 13 ต่างกันถึง 926 เท่า      

นายโสภณ พรโชคชัย  ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (AREA)  เปิดเผยผลการสำรวจราคาที่ดินทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  คาดว่า ราคาที่ดินจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 4% ใกล้เคียงกับปี 2559 โดยราคาที่ดินที่แพงที่สุดในปัจจุบัน ขนาด 4 ไร่ ณ สิ้นปี 2559 อยู่บริเวณสยามสแควร์ ราคา 2.0 ล้านบาทต่อตารางวา หรือไร่ละ 800 ล้านบาท 

แต่คาดว่า ณ สิ้นปี 2560 จะมีราคาตารางวาละ 2.13 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นอีก 6.5% เนื่องจากที่ดินใจกลางเมือง มีสาธารณูปโภค โดยเฉพาะรถไฟฟ้าออกนอกเมือง ทำให้เข้าเมืองได้สะดวก เหมาะเป็นแหล่งจับจ่ายและสำนักงาน จึงมีราคาสูงขึ้นตลอดเวลา  แม้ไม่มีการพัฒนาอะไรใหม่มากนัก 

ส่วนดินราคาถูกที่สุด ขนาด 4 ไร่  ราคาตารางวาละ 2,300 บาทต่อคารางวา หรือไร่ละ 0.92 ล้านบาท  ตั้งอยู่ถนนเลียบคลอง 13 กม.5  เพราะบริเวณดังกล่าว ไม่มีโครงการสาธารณูปโภคใดๆ จึงยังไม่มีการพัฒนาอะไรมากนัก แต่ในอนาคต อาจมีถนนวงแหวนรอบนอก และอาจมีโครงการสาธารณูปโภคอื่น แต่ก็คงใช้เวลาอีกนานพอสมควร     

ราคาที่ดินที่แพงสุดและถูกสุดนั้น ห่างกันถึง 926 เท่า ทั้งที่ระยะทางห่างกันเพียง 50 กิโลเมตรเท่านั้น สะท้อนถึงความลักลั่นของการพัฒนาเมือง และหากไม่มีการเก็บภาษีที่ดี จะทำให้ในเมืองได้รับการยกเว้นภาษีมากเป็นพิเศษ  ส่งผลให้ผู้มีรายได้สูง เสียภาษีน้อย และอาจเกิดความเป็นไปได้ในการรวบรวมที่ดินรอบนอก เพื่อสร้างเป็นเมืองใหม่ในอนาคต เพราะราคาที่ดินยังถูก หากสามารถเชื่อมต่อด้วยระบบรถไฟฟ้าหรือทางด่วน ก็จะสามารถสร้างเมืองบริเวณ เมืองพักอาศัย (Bed City) สนับสนุนการพัฒนาเมืองของกรุงเทพมหานครได้      

ทำเลกับราคาที่ดิน  
         ราคาที่ดินในแต่ละบริเวณปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่เท่ากัน  

 1.  กรุงเทพฯ ชั้นนอก ด้านเหนือ                   +4.0% 
              ด้านตะวันออก                             +4.1% 
              ด้านตะวันตก                               +2.6% 
              ด้านใต้                                       +3.5% 
2.  กรุงเทพฯ ชั้นกลาง ฝั่งกรุงเทพฯ                +4.3% 
3.  ฝั่งธนบุรี                                              +4.3% 
 4.  กรุงเทพฯ ชั้นใน CBD                            +6.4% 
 5.  แนวรถไฟฟ้า บีทีเอส                             +6.5% 
              ส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-แบริ่ง            +6.7% 
              ส่วนต่อขยาย ตากสิน-บางหว้า         +8.9% 
              ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่    +8.0% 
         6.  MRT                                          +8.9% 
         7.  แอร์พอร์ต ลิงก์                             +6.8% 
         8.  สายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่             +7.3% 
         9.  สายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน               +1.4% 
        10. สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ             +6.6% 
              หัวลำโพง-บางแค                          +7.1%  

ส่วนราคาที่ดินของทางราชการจะปรับตัวช้ากว่า และไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาที่อยู่อาศัย ในปี 2559  ราคาประเมินของทางราชการเพิ่มขึ้น 25% โดยราคาสูงสุดตารางวาละ 1 ล้านบาท อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าราคาที่ดินปรับสูงขึ้นมาก  ส่งผลต่อราคาที่อยู่อาศัยจนสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน  นายโสภณ มองว่า ราคาดังกล่าวของทางราชการ ยังถูกกว่าราคาตลาด ไม่ได้ส่งผลต่อราคาที่อยู่อาศัย และในสัปดาห์สุดท้ายของปี 2558 จะมีการโอนอสังหาริมทรัพย์มากเป็นพิเศษ เพราะการปรับราคาประเมินนี้ เพื่อจะได้ไม่เสียภาษีในอัตราใหม่เท่านั้น  

อย่างในกรณีแรก ราคาประเมินของทางราชการให้สีลมมีราคาแพงที่สุดที่ 1,000,000 บาทต่อตารางวา ทั้งนี้เพราะว่า สีลม ถือเป็นศูนย์กลางทางการเงินของประเทศ มีอาคารสำนักงานจำนวนมาก  แต่ในความเป็นจริง ราคาที่ดินที่แพงที่สุดตามราคาตลาด ก็คือพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าแถวสยาม ชิดลม เพลินจิต  ซึ่งทางราชการประเมินไว้เพียง 900,000 บาทต่อตารางวา  แต่ AREA  ประเมินไว้อยู่ที่ ตารางวาละ 1.9 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2558 หรือสูงกว่าราคาที่ทางราชการประเมินไว้ถึง 111%  และสิ้นปี 2560 เป็นเงิน 2.13 ล้านบาทต่อตารางวา หรือเพิ่มขึ้น 137%  

สาเหตุที่ AREA  ประเมินให้พื้นที่สยาม-ชิดลม-เพลินจิต มีค่าสูงกว่าบริเวณสีลม เนื่องจากเป็นทำเลด้านการค้า  มีศูนย์การค้าที่ประสบความสำเร็จ และมีค่าเช่าต่อตารางเมตรสูงกว่าพื้นที่สำนักงาน เช่น สำนักงานที่สีลม มีค่าเช่าตารางเมตรละ 700 - 1,000 บาท  ขณะที่พื้นที่เช่าช่วงในศูนย์การค้าสูงถึง 2,500 - 5,000 บาท  แม้ศูนย์การค้าจะมีพื้นที่ใช้สอยสุทธิต่อพื้นที่ก่อสร้างน้อยกว่าอาคารสำนักงาน  แต่ก็ยังสร้างรายได้มากกว่าอยู่ดี  ยิ่งกว่านั้น ทำเลสยาม ชิดลม เพลินจิต ยังมีรถไฟฟ้า BTS สองสายเชื่อมต่อกัน ทำให้มีความคึกคักมากกว่าย่านสีลม  

ทั้งนี้ แม้ราคาประเมินของทางราชการ จะปรับเพิ่มขึ้นมากในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา (ปี 2555-2559) แต่ปรับเพิ่มขึ้นต่อปีในอัตราที่ต่ำกว่าการปรับเพิ่มขึ้นของราคาตลาด โดยสังเกตได้ว่าในพื้นที่ใจกลางเมือง แม้ไม่มีโครงการสาธารณูปโภคใหม่ๆ เกิดขึ้นมากนัก แต่ราคาที่ดินก็ขยับสูงขึ้นปีละประมาณ 10%  เพราะการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าออกนอกเมือง หรือขยายสู่พื้นที่อื่นมากขึ้น  ทำให้การเข้าถึงศูนย์การค้าและอาคารธุรกิจใจกลางเมืองดีขึ้น  ราคาที่ดินใจกลางเมือง จึงปรับตัวเพิ่มขึ้น    
 

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog