ไม่พบผลการค้นหา
อีคอนไทย สรุปภาพรวมการจ้างงานภายใต้ นโยบายไทยแลนด์ 4.0 พบแรงงานเสี่ยงถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ อีกทั้งกำลังเผชิญกับขีดความสามารถในการแข่งขัน แนะภาคอุตสาหกรรมปรับตัวและรับมือกับการแข่งขันรูปแบบใหม่

อีคอนไทย สรุปภาพรวมการจ้างงานภายใต้ นโยบายไทยแลนด์ 4.0 พบแรงงานเสี่ยงถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ อีกทั้งกำลังเผชิญกับขีดความสามารถในการแข่งขัน แนะภาคอุตสาหกรรมปรับตัวและรับมือกับการแข่งขันรูปแบบใหม่

สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทยหรืออีคอนไทย สรุปภาพรวมการจ้างงานและการปรับตัวก้าวผ่านสู่การเปลี่ยนแปลงภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0  โดยในช่วง 30 ปีทีผ่านมาเศรษฐกิจไทยส่วนใหญ่ขับเคลื่อนจากอุตสาหกรรมส่งออกซึ่งใช้แรงงานเข้มข้น ภาคเอสเอ็มอีของไทยมีความอ่อนแอโดยมากกว่า 3/4 ยังติดอยู่ในอุตสาหกรรมช่วงที่ 2.0 และ 2.5 อุตสาหกรรมส่งออกส่วนใหญ่ไม่มีแบรนด์และนวัตกรรมของตนเอง เป็นอุตสาหกรรมลักษณะรับจ้างผลิต (OEM) หรือเป็นฐานการผลิตให้กับเจ้าของแบรนด์ต่างชาติ ซึงนอกเหนือจากได้มูลค่าเพิมน้อยยังเสียงต่อการถูกเปลี่ยนย้ายฐานการผลิตในอนาคต

และที่ผ่านมารายได้เฉลี่ยของคนไทย (ปี 2559) ติดกับดักอยู่ในระดับรายได้ปานกลางระดับสุงและมีรายได้ประชาชนต่อคนต่อปี เป็นอันดับ 28 ของโลก พร้อมคาดว่าใน 20 ปีข้างหน้ารายได้ของคนไทยจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2.14 เท่า โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะต้องเฉลี่ยร้อยละ 5-6 ต่อปี จึงเป็นความท้าทายค่อนข้างสูง

ส่วนสถานภาพของผู้ประกอบการไทย พบว่า ปัจจุบัน ( เม.ย. 60) นิติบุคคลจะทะเบียนประมาณ 6.56 แสนราย ร้อยละ 72.4 เป็นบริษัทจำกัดและมีบริษัทมหาชนเพียง 1,165 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.0176 แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างธุรกิจของประเทศไทยกระจุกตัวอยู่บริษัทขนาดใหญ่เพียงน้อยนิด เป็นประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 มิฉะนั้นการไปถึงเป้าหมายประเทศที่มีรายได้สูงแต่รายได้เกือบทั้งหมดไปกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มธุรกิจไม่ถึงร้อยละ 1.0 จะยิ่งเป็นการเพิ่มช่องว่างของความเหลื่อมล้ำ

สำหรับอนาคตภาคอุตสาหกรรมไทย ภาคการผลิตและการส่งออกเป็นจุดแข็งของไทยนั้นกำลังเผชิญกับความท้าทายของขีดจำกัดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งจากทรัพยากรธรรมชาติลดน้อยลง ต้นทุนสูงขึ้น ข้อจำกัดด้านแรงงาน และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ไม่เป็นมิตรกับการค้า-อุตสาหกรรม รวมทั้งมูลค่าของภาคส่งออกประมาณร้อยละ 63 มาจากอุตสาหกรรมซึ่งใช้แรงงานเข้มข้น ในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีแห่งอนาคตอุตสาหกรรมไทยปัจจุบันจึงอยู่ในช่วงรอยต่อของการปรับตัวของผู้ประกอบการและแรงงาน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลักกำลังจะผ่านออกจากประเทศไทยและอาจไม่ใช่ทางเดินอีกต่อไป สำหรับผู้ประกอบการจะต้องมีการประเมินให้เห็นถึงผลกระทบที่กำลังจะตามมาซึ่งเป็นได้ทั้งโอกาสและอาจเป็นภัยคุกคามต่อธุรกิจได้ 

แนวโน้มการจ้างงานภายใต้บริบทไทยแลนด์ 4.0 เนื่องจากในทศวรรษหน้าเทคโนโลยีใหม่อาจจะมีผลกระทบต่อการจ้างงานลดลงถึงร้อยละ 44 จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศนอกเหนือจากกระบวนการขับเคลื่อนส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมซึ่งใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมทั้งการเปิดพื้นที่ใหม่เพื่อรับการลงทุนขนาดใหญ่ เช่น ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) แต่ในอีกด้านรัฐบาลและหน่วยงานซึ่งเกี่ยวข้องจะต้องมีการประเมินถึงผลกระทบของโครงสร้างแรงงานจำนวน 37.46 ล้านคน ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักร

หากต้องการก้าวผ่านวิกฤตดังกล่าว ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่หรือเอสเอ็มอี จะต้องมีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงองค์กรให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ และภาคแรงงานจะต้องเห็นภาพในอนาคตการขับเคลื่อนแรงงานต้องขับเคลื่อนพร้อมกันทั้งโครงสร้าง

ความเสี่ยงและปัญหาของภาคแรงงานไทย

1. แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อยอยู่ในระดับประถมและต่ำกว่ามีสัดส่วนถึงร้อยละ 46 หรือประมาณ 17.2 ล้านคนจะเป็นกลุ่มที่มีความท้าทายต่อการปรับตัวและมีโอกาสสูงที่จะถูกกักอยู่ในแรงงานระดับล่าง เพราะไม่สามารถก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นเนื่องจากข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี

2. โครงสร้างอายุแรงงานไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานสูงอายุ คือแรงงานไทยอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 50.5 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานการศึกษาต่ำและเป็นแรงงานไร้ทักษะ จึงมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงต่อการปรับตัว

3. แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมยุค 2.0-2.5 จะต้องมีการประเมินว่าใน 10 ปี ข้างหน้าอุตสาหกรรมเหล่านี้จะอยู่ตรงไหน การปรับใช้เทคโนโลยีมีสัดส่วนเท่าใด โอกาสการย้ายฐานการผลิตจะมีความเข้มข้นเพียงใด

4. การประเมินกลุ่มอาชีพเสี่ยงจากเทคโนโลยี 4.0

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog