ไม่พบผลการค้นหา

Thailand

ไขข้อข้องใจสไนเปอร์
Aug 21, 2012
( Last update Aug 21, 2012 07:00 )
ตำรวจกองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย หรืออรินทราช 26 สาธิตการใช้ปืนซุ่มยิงระยะไกล โดยกระบอกนี้เป็นปืนไรเฟิล ยี่ห้อเรมิงตัน 308 ปืนจากกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ใช้กระสุนขนาด 5.56 มิลลิเมตร ในการฝึก

ตำรวจกองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย หรืออรินทราช 26 สาธิตการใช้ปืนซุ่มยิงระยะไกล  โดยกระบอกนี้เป็นปืนไรเฟิล ยี่ห้อเรมิงตัน 308 ปืนจากกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ใช้กระสุนขนาด 5.56 มิลลิเมตร ในการฝึกทบทวนยุทธวิธีประจำปีของหน่วยอรินทราช

 
พลซุ่มยิงหรือสไนเปอร์ ระดับครูฝึก  อธิบายคำจำกัดความ คำว่า สไนเปอร์ มีที่มาจากนายพรานอังกฤษที่ซุ่มยิงนกสไนป์ ซึ่งมีประสาทสัมผัสไวและรวดเร็ว และต่อมาถูกนำมาปรับใช้ยุทธวิธีของทหารและตำรวจ ในการพรางตัวและซุ่มยิงแบบหวังผลระยะไกลมากกว่า 100 เมตรขึ้นไป โดยสไนเปอร์จะทำงานร่วมกับบัดดี้คือพลชี้เป้า  และปืนที่นำมาใช้ยิงส่วนใหญ่เป็นปืนติดลำกล้อง เช่น M 16 ติดลำกล้อง / ซิกซาวเออร์ เอสเอสจี 3000 / เฮคเลอร์แอนด์คอช PSG1 และการปฏิบัติหน้าที่ของ 1 ชุดพลซุ่มยิง มีศักยภาพสามารถยับยั้งการเคลื่อนไหวของทหารได้หนึ่งกองพล นับว่าเป็นเครื่องมือทางยุทธวิธีทำให้ฝ่ายตรงข้ามขาดเสรีในการปฏิบัติ
 
พลซุ่มยิงหรือสไนเปอร์  เป็นที่กล่าวขวัญถึงมากเมื่อถูกนำมาใช้ในปฏิบัติการกระชับวงล้อมการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อช่วงปี 2553 จนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และผลการชันสูตรพลิกศพส่วนใหญ่ระบุว่าเสียชีวิตด้วยกระสุนความเร็วสูง ดังที่ปรากฏภาพและคลิปภาพ 
 
หลักฐานที่ตอกย้ำว่า มีการสไนเปอร์ในการขอคืนพื้นที่จากผู้ชุมนุม ซึ่งขัดแย้งให้คำให้สัมภาษณ์ของผู้บัญชาการทหารบก เมื่อเว็บไซต์ประชาไท เผยแพร่เอกสารคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือ ศอฉ.ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงในขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการและผู้อำนวยการ ศอฉ.เป็นผู้ลงนามในเอกสารลงวันที่ 17 เมษายน 2553  เรื่อง 'ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รักษาความปลอดภัย ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่' ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. 
 
โดยเนื้อหาส่วนขั้นตอนการปฏิบัติการ ระบุว่า  ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุม���นอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิบัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืนที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอกจากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ.ได้ ขณะที่การเบิกจ่ายกระสุนปืนซุ้มยิงจากสรรพาวุธทหารบก ถึง 3,000 นัด และคืนเพียง 880 นัด
 
การใช้สไนเปอร์ กระสุนจริง ศพผู้ชุมนุม และผู้บาดเจ็บ ล้วนเป็นผลมาจากยุทธวิธีการผลักดันกระชับพื้นที่ผู้ชุมนุมตามปฏิบัติ ศอฉ. ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเป็นผู้ลงนาม (เอกสารลับ) ยังเป็นคำถามว่าเจ้าหน้าที่รัฐทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ และผ่านมากกว่า 2 ปีแล้ว คำถามนี้ยังไร้คำตอบ             
                     
          
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog