ไม่พบผลการค้นหา
เทศกาลถือศีลอดในเดือนรอมฎอนของชาวมุสลิมกำลังจะสิ้นสุดลงในช่วงสุดสัปดาห์นี้ จึงมีผู้สนใจศึกษาถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศจากการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

เทศกาลถือศีลอดในเดือนรอมฎอนของชาวมุสลิมกำลังจะสิ้นสุดลงในช่วงสุดสัปดาห์นี้ จึงมีผู้สนใจศึกษาถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศจากการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ว่าจะทำให้แรงงานชาวมุสลิมทำงานได้น้อยลง จนเกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจจริงหรือไม่


เดือนรอมฎอน เดือนศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวมุสลิมต้องถือศีลอด ด้วยการงดรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม หรือแม้กระทั่งการสูบบุหรี่ ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ทำให้มีนักวิเคราะห์ตั้งข้อสงสัยว่า การถือศีลอดจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศที่มีประชากรส่วนมากเป็นชาวมุสลิมมากน้อยแค่ไหน


นายแซเมอร์ ซุนนัครอต นักเศรษฐศาสตร์ชาวจอร์แดน ทำการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพในการทำงานของชาวมุสลิมในระหว่างการถือศีลอด จะลดลงร้อยละ 35 ถึงร้อยละ 50  ซึ่งนอกจากจะมีอาการอ่อนเพลียและอาจอารมณ์เสียง่าย ในระหว่างการทำงานแล้ว ยังทำให้ธุรกิจต่างๆ เกิดความเสียหายจากการเลื่อนการตัดสินใจและการประชุมเรื่องต่างๆ

อย่างไรก็ตาม ผลงานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า เทศกาลรอมฎอน ไม่ได้ทำให้ความต้องการซื้ออาหารของชาวมุสลิมลดน้อยลง เพราะในช่วงถือศีลอด ชาวมุสลิมกลับต้องการบริโภคอาหารในปริมาณที่มากกว่าปกติ จึงส่งผลให้ราคาอาหารปรับสูงขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น และทำให้บรรดาผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถทำกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำอีกด้วย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ประเทศบังคลาเทศ ที่รัฐบาลต้องสั่งงดการส่งปลาออกไปขายในต่างประเทศ ตลอดเดือนรอมฎอน เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนว่า ปริมาณอาหารจะมีเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศและป้องกันไม่ให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นในช่วงถือศีลอด

เดือนรอมฎอนยังทำให้ธุรกิจคาเฟ่ และบรรดาร้านกาแฟ ที่ให้บริการในยามค่ำคืนคึกคักมากเป็นพิเศษ เพราะหลังจากการถือศีลอดมาทั้งวัน ชาวมุสลิม วัยหนุ่มสาวและวัยทำงาน จะมาพบปะสังสรรค์แล���พูดคุย พร้อมกับดื่มกาแฟและสูบชิชา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวมุสลิมที่กำลังแพร่หลายอยู่ในขณะนี้

นอกจากนี้ ในช่วงเทศกาลถือศีลอด ชาวมุสลิมยังนิยมซื้อของขวัญให้กันและกัน โดยเฉพาะคนในครอบครัวและคนรัก ซึ่งยิ่งทำให้ธุรกิจร้านค้าปลีก และบรรดาห้างสรรพสินค้า มีความคึกคักมากเป็นพิเศษ และยังมีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจของแต่ละประเทศให้เติบโตอยู่ไม่น้อย

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog