71 ปี เส้นทางชีวิตทางการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ผ่านเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองมีประมุขพรรค 7 คน มีนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 4 คน ผู้นำฝ่ายค้านฯ 4 คน รวมทั้งบอยคอตเลือกตั้ง 3 ครั้ง รอดคดียุบพรรคมาถึง 2 หน
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคคนที่ 2 ระบุถึงนิยามของคำว่า พรรคประชาธิปัตย์ (Democrat Party) ไว้ว่าหมายถึง “ประชาชนเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย”
อีกทั้งยังเป็นพรรคการเมืองที่ผ่านร้อนผ่านหนาวจนเข้าสู่ทศวรรษที่ 8 กลายเป็นพรรคการเมืองเดียวที่ยืนหยัดและเก่าแก่ที่สุดในประเทศ โดยถือกำเนิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2489 แต่ทางพรรคถือเอาวันที่ 6 เมษายน เป็นวันก่อตั้งพรรค เพื่อให้ตรงกับวันจักรี
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ประชุมเพื่อก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ครั้งนั้นได้มีการเสนอให้เชิญ “แม่พระธรณี” มาเป็นสัญลักษณ์ของพรรคฯ และที่ประชุมเห็นพ้องตรงกัน ในความหมาย “เพื่อการให้ความร่มเย็นแก่ประชาชน”
ในเดือนเมษายน พ.ศ.2525 พรรคประชาธิปัตย์ได้ย้ายที่ทำการพรรค จากสวนรื่นฤดีมาที่ถนนเศรษฐศิริในปัจจุบัน โดยนายปราโมช สุขุม ส.ส. กรุงเทพมหานครขณะนั้น เป็นผู้เสนอให้มีการจัดสร้าง แม่พระธรณีบีบมวยผมประดิษฐานไว้ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์นับจากนั้นเป็นต้นมา
5 เม.ย. 2489
ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์
ควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคคนแรก
2489 -2501
-พรรคฝ่ายค้านรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์
-รัฐบาลรับเชิญ คณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
-พรรคฝ่ายค้านรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม
-พรรคประชาธิปัตย์ มีมติคว่ำบาตรการเลือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์ 2495 และไม่ร่วมสังฆกรรมกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ กับรัฐบาลจอมพล ป พิบูลสงคราม
-พรรคฝ่ายค้านในรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
2511-2519
-ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคคนที่ 2
-ฝ่ายค้านรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร
-รัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี
-ฝ่ายค้านรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
-รัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2519 ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี
-เกิดเหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาและประชาชน ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช (6 ต.ค.2519)
2522-2533
-พ.อ.ถนัด คอมันตร์ หัวหน้าพรรคคนที่ 3 (พ.ศ.2522)
-พรรคฝ่ายค้านรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
-พิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรคที่ 4 (พ.ศ.2525)
-พรรคร่วมรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
-พรรคร่วมรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
2533
ถอนตัวพรรคร่วมรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
2534
-ชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคคนที่ 4
-คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)ยึดอำนาจ รัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
2535
-พรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับพรรคฝ่ายค้าน ต่อสู้ รัฐบาล รสช.
-หลังเลือกตั้งทั่วไป (13 ก.ย.2535) พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้ง ส.ส. 79 คน เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ชวน หลีกภัย ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยแรก
2538
-รัฐบาลชวน หลีกภัย ยุบสภา หลังฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจ สปก.4-01
-หลังการเลือกตั้งทั่วไป พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา
-ชวน หลีกภัย ผู้นำฝ่ายค้าน
2539
-เลือกตั้งทั่วไป พรรคประชาธิปัตย์ เป็นฝ่ายค้านในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
2540
-เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ฟองสบู่แตก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ชวน หลีกภัย ได้รับเลือกจากพรรคร่วมรัฐบาลให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี สมัย 2
2544
-เลือกตั้งทั่วไป พรรคประชาธิปัตย์ มี ส.ส. 128 คน ฝ่ายค้านรัฐบาลพรรคไทยรักไทย
2546
-บัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคคนที่ 6
2548
-เลือกตั้งทั่วไป พรรคประชาธิปัตย์ มี ส.ส.96 คน เป็นแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้าน
-อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคคนที่ 7 ผู้นำฝ่ายค้านฯ ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
2549
-รัฐบาลพรรคไทยรักไทย ยุบสภาก่อนสภาฯเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคฝ่ายค้าน
-พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมฝ่ายค้าน บอยคอตเลือกตั้ง (2 เม.ย.2549)
-ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้เลือกตั้ง 2 เม.ย.2549 โมฆะ
-พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้า คปค. ยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (19 ก.ย.2549)
2550
-ศาลรัฐธรรมนูญ ยุบพรรคไทยรักไทย ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ (30 พ.ค.2550)
-เลือกตั้งทั่วไป พรรคประชาธิปัตย์ มี ส.ส.164คน เป็นฝ่ายค้านรัฐบาลพรรคพลังประชาชน (23 ธ.ค.2550)
2551
-ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย (2 ธ.ค.2551) ทำให้พรรคร่วมรัฐบาลเดิมพลิกขั้วมาร่วมจับมือพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล
-อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี (17 ธ.ค.2551)
2552
-รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เผชิญเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองกลางกรุงเทพฯ
2553
-รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เผชิญเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง นปช. มีการสลายการชุมนุมที่สี่แยกคอกวัวและราชประสงค์ (เม.ย.2553)
-พรรคประชาธิปัตย์ รอดพ้นคดียุบพรรคกรณีรับเงินบริจาค 258 ล้านบาทและใช้จ่ายเงินกองทุนพรรคการเมือง 29 ล้านบาท ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
2554
-รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา (10 พ.ค.2554)
-เลือกตั้งทั่วไป พรรคประชาธิปัตย์ มี ส.ส.160 คน เป็นฝ่ายค้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (3 ก.ค.2554)
2556
-สุเทพ เทือกสุบรรณ นำ 8 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ลาออกจาก ส.ส. เป่านกหวีดขู่ยกระดับชุมนุมขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (12 พ.ย.2556)
-สุเทพ เทือกสุบรรณ นำทีม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ประกาศชุมนุมนอกสภาคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม (30 ต.ค.2556)
-จัดตั้ง กปปส.ชุมนุมประท้วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผลักดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม (พ.ย.2556)
-พรรคประชาธิปัตย์มีมติเอกฉันท์ให้ ส.ส.ลาออกจากตำแหน่งร่วมชุมนุม กปปส. กดดัน รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยุบสภา (8 ธ.ค.2556)
"หากนายกฯ ยุบสภาผมก็พอใจมากกว่านายกฯ ไม่ทำอะไร และขอร้องว่าอย่าตั้งคำถามอื่นล่วงหน้าเพราะจะกลายเป็นเครื่องมือยื้อเวลาให้รัฐบาลสะสมวิกฤตให้กับประเทศเพิ่มขึ้น ขอให้รัฐบาลยุบสภาก่อน" อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แถลงจุดยืนพรรคประชาธิปัตย์ กดดันรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภา ท่ามกลางกระแสวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองทั้งในและนอกสภา (9 ธ.ค.2556)
-พรรคประชาธิปัตย์ มีมติไม่ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 (มติ 21 ธ.ค.2556)
2557
-กปปส.คัดค้านการเลือกตั้ง (2 ก.พ.2557)
-ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ.2557 เป็นโมฆะ (21 มี.ค.2557)
22 พ.ค. 2557
-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และหัวหน้า คสช.ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พรรคเพื่อไทยที่มี นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
6 เม.ย.2560
-พรรคประชาธิปัตย์ ครบรอบ 71 ปี
ควง อภัยวงศ์ คนแรก พ.ศ.2489 - 2511
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช คนที่ 2 พ.ศ.2511 - 2522
พ.อ.ถนัด คอมันตร์ คนที่ 3 พ.ศ.2522-2525
พิชัย รัตตกุล คนที่ 4 พ.ศ.2525 - 2534
ชวน หลีกภัย คนที่ 5 พ.ศ.2534 - 2546
บัญญัติ บรรทัดฐาน คนที่ 6 พ.ศ.2546-2548
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คนที่ 7 พ.ศ.2548 - ปัจจุบัน
ทำเนียบนายกรัฐมนตรี 4 คน
ควง อภัยวงศ์ 2 วาระ พ.ศ.2489 / 2490-2491
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช 2 วาระ พ.ศ.2518 / 2519
ชวน หลีกภัย 2 วาระ พ.ศ.2535-2538 / 2540-2544
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 1 วาระ พ.ศ.2551-2554
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช พ.ศ.2518-2519
ชวน หลีกภัย พ.ศ.2544-2546
บัญญัติ บรรทัดฐาน พ.ศ.2546-2548
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พ.ศ.2548-2549 / 2551 / 2554-2556
อ้างอิง -
facebook Democrat Party, Thailand
ภาพ -
facebook Democrat Party, Thailand
facebook Abhisit Vejjajiva
Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ)