ไม่พบผลการค้นหา
อัพเดทจากงาน AIS Vision 2017 สาธิตการใช้งาน Smart Parking และ Smart Tracking บนเทคโนโลยี Narrow Band IoT มาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อัพเดทจากงาน AIS Vision 2017  สาธิตการใช้งาน Smart Parking และ Smart Tracking บนเทคโนโลยี Narrow Band IoT มาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ในงาน AIS Vision 2017 เอไอเอสสาธิตการประยุกต์ใช้งานจากเทคโนโลยี Narrow Band IoT เครือข่ายอัจฉริยะรองรับยุค Internet of Things ผ่านการถ่ายทอดสดภายในงาน ด้วยการสาธิตการใช้งาน Smart Parking และ Smart Tracking บนเทคโนโลยี Narrow Band IoT มาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เอไอเอสได้ประกาศเปิดตัวเครือข่ายอัจฉริยะรองรับยุค Internet of Things - Narrow Band IOT LIVE เป็นครั้งแรกในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ตอบสนองความต้องการยุคดิจิทัล จุดประกายสมาร์ทซิตี้ เนื่องจากทางบริษัทเห็นว่าในปี 2560 นี้ ภาพรวมการใช้งานอินเตอร์เน็ตจะเติบโตถึง 300% โดยตลาดที่เติบโตมากที่สุดคือ Fix Broadband และกลุ่มการใช้งานของอุปกรณ์ IoT ที่เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง  อาทิ Wearable, Machine2Machine อันถือว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนในการยกระดับการบริหารจัดการเศรษฐกิจดิจิทัล ของประเทศไทยไปอีกขั้น

 

จุดเด่นเครือข่าย Narrow Band IoT ของเอไอเอส

 

  1. สนับสนุนการใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ จึงช่วยทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ IoT อยู่ได้นานถึง 10 ปี
  2. สามารถรองรับปริมาณอุปกรณ์ IoT ได้สูงสุดในระดับแสนตัวต่อสถานีฐาน
  3. รัศมีครอบคลุมของเครือข่ายต่อสถานีฐาน กระจายได้มากกว่า 10 ก.ม. รวมถึงในตัวอาคารก็ยังรับสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. สามารถพัฒนาเครือข่ายให้เปิดบริการ IoT ได้อย่างรวดเร็ว เพราะออกแบบอุปกรณ์ให้ใช้ร่วมกับ โครงข่าย 4G ในปัจจุบันได้

 

Smart Parking

ในงาน AIS Vision 2017 เอไอเอสได้สาธิตวิธีการใช้งาน Smart Parking หรือระบบจองที่จอดรถผ่านเทคโนโลยี NB IoT โดยได้มีการร่วมมือกับบริษัท Huawei บริษัทเทคโนโลยีชื่อดังสัญชาติจีน และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน Smart Parking เพียงแค่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาติดตั้ง แอปจะสามารถรู้พิกัดของผู้ใช้งาน ผู้ใช้เลือกลานจอดรถที่ต้องการจองที่จอดและเวลาที่จะเข้าทำการจอด โดยแอปจะแสดงให้เห็นว่ามีช่องสำหรับจอดรถทั้งหมดช่อง และแต่ละช่องสถานะเป็นเช่นไร ซึ่งสีเขียวหมายถึงว่างให้จอง สีเหลืองก็มีคนจองแล้ว และสีแดงคือมีรถเข้าจอดแล้วและไม่สามารถจองได้ นอกจากฟีเจอร์การจองที่จอดรถ แอปพลิเคชัน Smart Parking ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ Navigate หรือนำทางไปยังลานจอดรถได้ด้วย

เมื่อผู้ใช้งานถอยรถเข้าจอดในช่องจอด อุปกรณ์ส่งสัญญาณที่ฝังไว้ใต้พื้นลานจอดรถจะส่งข้อมูลไปยังแอปพลิเคชันเพื่อเป็นการอัพเดตสถานะของช่องจอดรถนั้นๆ โดยระบบ Smart Parking บน NB IoT ซึ่งมีข้อดีในการประหยัดพลังงานนั้นทำให้อุปกรณ์รับสัญญาณสามารถทำงานได้นานหลายเดือนโดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่แต่อย่างใด

 

Smart Tracking

 

นอกจากการสาธิตการจอดรถแบบ  Smart Parking แล้ว เอไอเอสยังได้สาธิตการใช้งาน Smart Tracking บน NB IoT ในรูปแบบของสายรัดข้อมือที่สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของผู้สวมใส่ได้แบบตามเวลาจริง โดยเทคโนโลยีนี้เป็นประโยชน์ต่อการใช้ติดตามตำแหน่งที่อยู่ของผู้สูงอายุ เด็ก หรือสัตว์เลี้ยง

เอไอเอสเชื่อว่าการใช้งานอินเตอร์เน็ตจะเติบโตถึง 300% โดยตลาดที่เติบโตมากที่สุดคือ Fix Broadband และกลุ่มการใช้งานของอุปกรณ์ IoT ที่เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง  อาทิ Wearable, Machine2Machine อันถือว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนในการยกระดับการบริหารจัดการเศรษฐกิจดิจิทัล ของประเทศไทยไปอีกขั้น และทำให้เราเข้าใกล้ความเป็น Smart City มากขึ้นด้วย

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog