วิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อ 15 ปีก่อน เริ่มขึ้นจากประเทศไทย และลุกลามขยายวงกว้างไปยังประเทศอื่น ๆ สร้างความสูญเสีย ให้กับภาคธุรกิจ ภาคการเงิน อย่างมหาศาล พนักงานจำนวนมากถูกปลดออกจากงาน
วิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อ 15 ปีก่อน เริ่มขึ้นจากประเทศไทย และลุกลามขยายวงกว้างไปยังประเทศอื่น ๆ สร้างความสูญเสีย ให้กับภาคธุรกิจ ภาคการเงิน อย่างมหาศาล พนักงานจำนวนมากถูกปลดออกจากงาน ห้าง ร้านบริษัทต้องปิดตัวจากหนี้สินจำนวนมาก หลายคนอยู่ในภาวะเครียดจนถึงกับฆ่าตัวตาย
เมื่อ 15 ปีที่แล้วได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง มีการระบุว่าวิกฤตดังกล่าวเริ่มขึ้นในประเทศไทย ใน ปี พ.ศ. 2540 ยุครัฐบาล พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งก็คือการ การล้มของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ หรือ บีบีซี ซึ่งเกี่ยวข้องกับนายราเกซ สักเสนา พ่อมดการเงิน ที่ ได้ร่วมมือนายเกริกเกิยรติ ชาลีจันทร์ กรรมการผู้จัดการของธนาคารแห่งนี้ รวมกันยักยอกทรัพย์ ทำให้บีบีซีล้มสลาย จากการมีหนี้สิน เกือบ 1.2 แสนล้านบาท ตามมาด้วยการปิดตัวของสถาบันการเงินกว่า 50 แห่งจนเป็นชนวนสำคัญให้เกิดการขาดความเชื่อมั่นในระบบธนาคารไทย และนำไปสู่วิกฤติต้มยำกุ้งในที่สุด
ทั้งนี้จุดแตกหักของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เมื่อรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างทันทีทันใด จากเดิมประมาณ 25 บาท 60 สตางค์ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ เป็น 28 บาท 75 สตางค์ ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง และค่าเงินบาทอ่อนลงตามลำดับ ในช่วงต่ำสุดเคยตกลงถึง 55 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐมาแล้ว
วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ นอกจากทำให้ธุรกิจเอกชน เช่น บริษัทบ้านจัดสรร อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง สถาบันการเงิน ธนาคาร ถูกกระทบอย่างรุนแรง หลายแห่งต้องปิดกิจการ หลายแห่งมีหนี้ท่วมตัว พนักงานจำนวนมากถูกปลดออกจากงาน และรัฐบาลถูกกดดันให้ลาออกแล้ว ยังส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ รัสเซีย และประเทศอื่นๆ ตามกันไป
ความพยายามของธนาคารแห่งประเทศไทยในการพยุงค่าเงินบาท ทำให้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศหมดคลังจนต้องขอกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศจำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพยุงฐานะทางการเงินของประเทศ และรัฐบาลไทยจำต้องยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ กำหนดขึ้น เช่น ภาษี มูลค่าเพิ่มจะต้องเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 และต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งสาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ มีการระบุว่าเกิดจากการดำเนินนโยบายผิดพลาดที่สำคัญ 2 ประการของธนาคารแห่งประเทศไทย คือการใช้เงินกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไปช่วยเหลือสถาบันการเงินจนเกิดความเสียหายเกินที่จะเยียวยา และจำต้องปิดบริษัทไฟแนนซ์ 56 แห่ง และการสูญเสียเงินสำรองระหว่างประเทศในการปกป้องการโจมตีค่าเงินบาท จนนำไปสู่วิกฤตเงินทุนสำรองในที่สุด
ด้านนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ทีมกฏหมายพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้ร้อง กล่าวว่าหากรัฐบาลยังเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ก็ต้องทำประชามติ โดยหากเป็นแนวทางนี้ทางพรรคก็ยอมรับได้ แต่อย่างไรก็ตามเห็นว่า กระบวนการแก้ไขวาระที่ 1และ 2ไม่ชอบด้วยกฏหมายตั้งแต่ต้น. ดังนั้นเข้าข่ายอาจถูกยื่นถอดถอนได้ ทั้ง ครม. สส และ สว. และทางพรรคจะหารือกันอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
ทั้งนี้ ช่องทางการยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ครั้งใหม่มีอยู่ 4 ช่องทาง คือ ใช้มติ ครม. ใช้เสียง ส.ส. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของ ส.ส.ที่มีอยู่ทั้งหมด ใช้ เสียง ส.ส. และ ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสองสภาที่มีอยู่ทั้งหมด และ 4.ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 5 หมื่นคนลงชื่อ ซึ่งต้องติดตามว่าหลังเปิดสมัยประชุมแล้วทิศทางการแก้รัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร