ไม่พบผลการค้นหา
“คำ ผกา” เขียนถึงการออกกำลังกายของพนักงานบริษัทในญี่ปุ่น ในฐานะที่เป็นการแสดงแสนยานุภาพของกองทัพทางเศรษฐกิจ

เมื่อการออกกำลังกายกลายมาเป็นวาระของข้าราชการไทย “คำ ผกา” ไม่พลาดที่จะพาไปดูที่อื่นๆ ในโลกว่ามีการออกกำลังกายรวมหมู่แบบนี้หรือไม่ ในรายการ In Her View เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยย้อนประวัติศาสตร์ออกกำลังกายในอดีตของญี่ปุ่น ว่าการเมืองกับการออกกำลังกายอย่างพร้อมเพรียงมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

*บล็อก In Her View คือเรื่องราวและทัศนะต่อประเด็นที่เป็นกระแสทั่วทุกมุมโลก จากรายการ In Her View โดย คำ ผกา 


 

รัฐนิยม สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม บอกให้ประชาชนต้องออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง หรือไม่เช่นนั้นต้องไปประกอบการงานอื่นๆ ที่ได้ใช้กำลังกาย

ทักษิณก็เคยทำสถิติพาคนออกมาเต้นแอโรบิกทุบสถิติโลก

นายกฯ อินเดียก็เคยนำคนอินเดีย 35,000 คน ออกมาฝึกโยคะในวันโยคะโลก

                                นายกฯ อินเดียนำออกกำลังกายด้วยโยคะ: ภาพจาก AP

ส่วนญี่ปุ่น ภาพที่เราเห็นแล้วขบขัน และคนต่างชาติไม่ค่อยเข้าใจว่า ทำไปทำไมคือการที่พนักงานบริษัทต้องออกมากายบริหารอย่างพร้อมเพรียงกันทุกเช้า ราวกับเป็นพิธีกรรมเพื่อปวารณาตัวต่อบริษัทว่า  จะทำงานด้วยสุขภาพที่แข็งแรง มีความพร้อมเพรียงอยู่ในระเบียบวินัยของหมู่คณะ

ที่มาของการออกกำลังกายทุกเช้าของนักเรียนและพนักงานบริษัทญี่ปุ่นเป็นผลพวงของลัทธิทหารนิยมซึ่งเบ่งบานในญี่ปุ่นจนนำไปสู่การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง

ปี 1928 สถานีวิทยุ NHK ออกอากาศรายการ “กายบริหาร” ประกอยบดนตรี ชื่อ “ราจิโอ ไทโซ” โดยได้แรงบันดาลใจมากจากบริษัท MetLife ประกันภัยของอเมริกเป็นผู้ริเริ่มการออกกำลังทุกเช้าๆ เช้าละ 15 นาที แต่ทำได้ไม่กี่ปีก็ยกเลิก แต่ปรากฎว่าญี่ปุ่นที่ “นำเข้า” กิจกรรมนี้มาในประเทศตัวเองกลับทำต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

          

                             ภาพการออกกำลังกายในโรงเรียนแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น เมื่อ ค.ศ. 1959

                                       ภาพจาก http://www.discovernikkei.org/

ปัจจุบันนี้รายการ ราจิโอ ไทโซ ยังคงออกอากาศ ทุกๆเช้า 6.30 น. – 6.40 น. และ 8.30-8.40 น.

เทปของรายการ ราจิโอ ไทโซ ออกอากาศในปี 1928 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรำลึกการขึ้นครองราชย์ของพระจักรพรรดิ์ ฮิโรฮิโตะ

เนื้อเพลงที่ออกอากาศในรายการ ราจิโอ ไทโซ นั้นเป็นเนื้อเพลงปลุกใจให้รักชาติ เช่น

Japan is a good country, it is a strong country, Japan shines brighter than every other countries

(ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ดี เข็มแข็ง ญี่ปุ่นส่องแสงเจิดจ้ากว่าประเทศใดๆในโลก)

ตั้งแต่ปี 1917 กระทรวงศึกษาของญี่ปุ่นมีนโยบายฝึกให้นักเรียนมัธยมทุกคนเข้ารับการฝึกเพื่อเป็นทหาร ต้องมีร่างกายที่แข็งแรง พร้อมกับจิตใจที่รักบ้านเกิดเมืองนอน เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา (ครู) อีกทั้งทางกองทัพยังส่งคนมาสอดส่อง กำกับ ว่าทุกโรงเรียนฝึกนักเรียนตามนโยบายอย่างเคร่งครัดหรือไม่

ในช่วงเวลานั้น ญี่ปุ่นอยู่ในช่วงเวลาของการแผ่ขยายแสนยานุภาพทางการทหาร  ต้องการสร้างสำนึกของComradeship และ สร้างร่างกายที่แข็งแรงของพลเมือง

โรงเรียน โรงงาน องค์กรต่างๆในชุมชนของญี่ปุ่นในยุคนั้นต้องเปิดรายการ ราจิโอ ไทโซ ให้คนมาออกกำลังกาย

การออกกำลังหายรวมหมู่ในญี่ปุ่น ทำอย่างต่อเนื่องมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

หลังสงครามโลก ที่ ญี่ปุ่น อยู่ภายใต้การกำกับของ สหรัฐอเมริกา  เนื่องจากแพ้สงคราม –  กิจกรรมการออกกำลังกายรวมหมู่นี้ถูกห้ามอย่างเด็ดขาด เนื่องจากมันแสดงออกซึ่งจิตวิญญาณแบบ “ทหารนิยม”

แต่หลังจากที่ ญี่ปุ่นเซ็นสัญญา สันติภาพในปี 1951 สิ่งแรกที่รัฐบาลญี่ปุ่นรื้อฟื้นขึ้นมาคือ รายการออกกำลังกาย ทางวิทยุ ราจิโอ ไทโซ นี่เอง

คราวนี้ ทั้งโรงเรียน โรงงาน บริษัท ต่างๆ กำหนดให้นักเรียน พนักงาน คนงาน ต้องออกมา ออกกำลังกายตาม

รายการราจิโอ ไทโซ ทุกๆเช้า อย่างพร้อมเพรียงกัน

ทศวรรษที่ 1980s  ซึ่งญี่ปุ่นเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ภาพพนักงานบริษัทญี่ปุ่น คือตัวแทนของ  “กองทัพ” ทางเศรษฐกิจ  คือ นักรบทางเศรษฐกิจ  มนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่น จึงต้องมีระเบียบวินัยไม่ต่างจากทหารในกองทัพ  ภาพ พนักงานบริษัทออกมาออกกำลังอย่างเป็นระเบียบและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความพร้อมเพรียงกันคือการประกาศถึงแสนยานุภาพทางเศรษฐกิจ และ ศักยภาพในการผลิตของญี่ปุ่น

ปัจจุบัน  ญี่ปุ่น สูญเสียความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจไปแล้ว การออกกำลังกายทุกเช้าของพนักงานบริษัท ไม่ใช่เรื่องศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป เพราะไม่มีความเกรียงไกร อย่างในทศวรรษที่ 80 ให้ภาคภูมิใจ มนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่นต้องเผชิญกับภาวะ ของการทำงานหนักจนตาย ���ละเผชิญกับความผันผวนของสภาวะการจ้างงานที่ไม่มีการจ้างงานชั่วชีวิตอีกต่อไป

รายการ ราจิโอ ไทโซ ปัจจุบันจึงเป็นกิจกรรมของเด็กประถม และคนสูงวัย  แต่เด็กญี่ปุ่นจำนวนมากก็นึกไม่ออกว่า ถ้าไม่ใช่รายการ ราจิโอ ไทโซ แล้วจะเป็นอะไรที่ทำให้พวกเขาออกมากายบริหารร่วมกัน

หันกลับมาดู Mass Exercise ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นแอโรบิคของทักษิณ หรือ กิจกรรมออกกำลังกายตอนบ่ายสามโมงของวันพุธ ก็น่าจะห่างไกลจากลัทธิทหารนิยมเน้นวินัยแบบที่เคยเกิดขึ้นในญี่ปุ่น

อย่างน้อยก็ไม่ได้กำหนดว่าต้องออกมาประกอบกิจกรรมนี้ร่วมกันวันละกี่นาที และยังไม่มีการกำกับท่ากายบริหารทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

 

ดูรายการ In Her View วันที่ 24 พ.ย. 2559 ตอน การออกกำลังกายรวมหมู่กับลัทธิทหารนิยมในญี่ปุ่น

เก็บความจากบทความ

Morning Radio Workouts in Japan : Bring on The Pain

On Doing Mass Radio Calisthenics in Japan

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog