ไม่พบผลการค้นหา
ที่ประชุมสภาฯ พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ล้างมรดก คสช. 2 ฉบับในวาระที่หนึ่ง ส.ส.ฝ่ายค้าน-ประชาชน ปลุกสภาโหวตรับหลักการ ซัด 'ประยุทธ์' ออกอำนาจพิเศษประกาศ-คำสั่ง คสช.เทียบเท่ากับกฎหมาย ชวนประชาชนจับตา ส.ส.ซีกโหวตคว่ำหวังเป็นฐานอำนาจให้เผด็จการ ด้าน 'ยิ่งชีพ' ยกตัวอย่างผู้ได้รับผลกระทบถูกจำคุกจากกฎหมายพิเศษ กระตุก ส.ส.เล็งโหวตคว่ำ

เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 8 ธ.ค. 2564 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาวาระค้างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย พ.ศ. .... ที่ จอน อึ๊งภากรณ์ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 12,609 คน เป็นผู้เสนอ และร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พ.ศ. .... โดย ปิยบุตร แสงกนกกุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ กับคณะ เป็นผู้เสนอ ในขั้นรับหลักการ วาระที่ 1

โดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ชี้แจงหลักการและเหตุผลของร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ว่า ภายใต้เวลา 5 ปีตั้งแต่ คสช.ยึดอำนาจการปกครอง ประเทศไทยถูกปกครองด้วยกฎหมายพิเศษด้วย มีอำนาจอยู่เหนือกฎหมาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร ออกประกาศ คำสั่ง 556 ฉบับ แบ่งเป็นคำสั่งหัวหน้า คสช. ซึ่งออกโดยอำนาจพิเศษตามมาตรา 44 รัฐธรรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 จำนวน 241 ฉบับ และมีประกาศคสช. ที่เรานับตามราชกิจจานุเบกษาได้ 129 ฉบับ คำสั่ง คสช. อีก 163 ฉบับ ทั้งหมดออกมาโดยอำนาจเบ็ดเสร็จของคณะรัฐประหารสั่งการโดยคนๆ เดียว ขาดการมีส่วนร่วม ขาดการตรวจสอบถ่วงดุล 

ยิ่งชีพ ระบุว่า เรามี พ.ร.บ.บังคับใช้ในประเทศ 800 กว่าฉบับ แต่เรากลับมีประกาศ คำสั่งของคณะรัฐประหารที่บังคับใช้ควบคู่กันอีก 500 กว่าฉบับ จึงเป็นระบบกฎหมายที่ไม่ปกติอย่างแน่นอน และเป็นเวลาเกือบ 5 ปีอยู่ภายใต้ประกาศ คสช.ที่ 7/2557 และ คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ที่สั่งห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ในช่วงเวลานี้ไม่ใช่การชุมนุมท้องถนนหายไป แต่การเสวนาก็ทำไม่ได้ แม้แต่การนัดหมายคุยสถานที่ส่วนตัวก็ทำไม่ได้ มีคนถูกจับกุมตัวกว่า 400 คน และ 5 ปี คสช.มีอำนาจพิเศษ เรียกใครก็ได้รายงานตัวในค่ายทหาร หากไม่ไปก็มีความผิด หากปล่อยตัวมายังแสดงความคิดเห็นทางการเมืองก็จะถูกลงโทษฐานฝ่าฝืนเอ็มโอยูู และมีคนถูกดำเนินคดีนี้อย่างน้อย 15 คน 5 ปีสื่อมวลชนไม่มีเสรีภาพการนำเสนอข่าว ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ คสช. และมีคำสั่งหัวหน้าคสช.ให้อำนาจ กสทช.ลงโทษสื่อมวลชน 

ยิ่งชีพ ระบุว่า พรรคการเมืองทุกพรรคถูกสั่งห้ามทำกิจกรรม ห้ามดำเนินกิจการทางธุรกิจ แม้เข้าสู่การเลือกตั้งก็ยังคำสั่งหัวหน้า คสช.ออกมาอีก ต้องได้รับอนุญาตจาก คสช.ก่อนประชุมพรรค เสรีภาพการแสดงออก การชุมนุม เสรีภาพสื่อ ไม่ได้มีอยู่ภายใต้ยุค คสช. 

"หลังรัฐประประหาร ภาคประชาชนมีสิทธิเช้าชื่อเสนอกฎหมายถูกยกเลิก มีอีกครั้งรัฐธรรมูญ ปี 2560 เรารวบรวมเข้าชื่อประชาชนเสนอร่างพ.ร.บ.นี้ตั้งแต่ปี 2561 แต่การจัดทำกิจกรรมก็ถูกขัดขวาง มีทหารมาสั่งห้าม จน 13,000 นำเสนอต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2562" ยิ่งชีพระบุ

ยิ่งชีพ ระบุว่า "ประกาศคำสั่งหลายฉบับได้สิ้นผล และหลายฉบับแปลงร่างอยู่กฎหมายอื่นๆ และประกาศคำสั่งหลายฉบับ คสช.ตัดสินใจยกเลิกด้วยตัวเอง อีกหลายฉบับยังบังคับใช้อยู่ ดังนั้น หาก ส.ส.เห็นสมควรว่าถึงเวลาแล้วเมื่อมีสภาจากการเลือกตั้งที่มรดกของคณะรัฐประหารที่ทิ้งเอาไว้ควรศึกษาทบทวน รื้อถอนสิ่งที่ตกยุคหมดสมัยออกไปจากระบบกฎหมาย ขอให้ท่านรับร่างนี้พิจารณาในวาระแรก เมื่อเข้าสู่วาระที่สอง หากมีในร่างยังมีความไม่สมบูรณ์เรามาช่วยทำงานแก้ไขให้สมบูรณ์ หากสภาที่มาจากการเลือกตั้งไม่ยกเลิก มาตรา 279 ก็จะรับรองให้้มีผลบังคับใชได้จนชั่วลูกชั่วหลาน"

รังสิมันต์ โรม 3DFFC84D-99FD-45F1-9CCF-962DD78ECD1E.jpeg

รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นำเสนอร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พ.ศ. ที่นำเสนอโดย ส.ส.อดีตพรรคอนาคตใหม่ โดยระบุว่า อย่างน้อยที่สุดวันนี้การทำหน้าที่พรรคก้าวไกลสืบสานเจตนารมณ์ทลายมรดก คสช. อุปสรรคขัดขวางอำนาจประชาชน สำหรับร่างนี้มีหลักการเขียนไว้สั้นๆให้มีกฎหมายยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่มีเนื้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชน ขัดหลักนิติธรรม โดยคณะทหารกลุ่มหนึ่งในชื่อ คสช. นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้ก่อรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 ตั้งตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ออกประกาศ คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ประกาศใช้ก็ออกอำนาจตามมาตรา 44 ได้อีก โดยประกาศ คสช. คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ได้ประกาศ หรือสั่งไว้ตั้งแต่ 22 พ.ค. 2557 จนถึงวันที่ ครม.เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวถูกรับรองให้ชอบด้วยกฎหมาย และรับรองต่อไปในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 มาตรา279

รังสิมันต์ อภิปรายว่า หากประกาศ และคำสั่งฉบับดังกล่าวยังคงอยู่ต่อไปย่อมกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ เศรษฐกิจสังคม และยังขัดต่อหลักประชาธิปไตยในขณะที่ประเทศไทยกำลังกลับเข้าสู่ปกติ มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 24 มี.ค. 2562 ดังนั้นคงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องคงประกาศ คำสั่งเหล่านี้ไว้ เพื่อให้ประเทศไทยเริ่มต้นเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย และยึดมั่นในหลักนิติธรรมอย่างแท้จริง จึงต้องตรา พ.ร.บ.ฉบับนี้

รังสิมันต์ กล่าวว่าร่าง พ.ร.บ.นี้ยกเลิกประกาศ คำสั่ง หัวหน้า คสช. จำนวน 17 ฉบับ ทั้ง 17 ฉบับนี้ยังมีผลบังคับใช้ เราเลือกตั้งตั้งแต่ 24 มี.ค. 2562 สิ่งแรกที่สภาฯ แห่งนี้ควรจะทำ คือต้องขจัดมรดกการรัฐประหาร จึงเป็นเหตุผลที่พรรคอนาคตใหม่ในเวลานั้นจึงยกเลิกบรรดาประกาศ คำสั่งของคสช. เราไม่อาจยกเลิกได้ทั้งหมด เพราะมีประกาศ คำสั่ง คสช.จำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินทั่วไป ยกเลิกทั้งหมดจะวุ่นวายในระบบกฎหมาย เราจึงมุ่งเน้นสิทธิมนุษยชน ปัจจุบันมาถึงปี 2564 แล้ว 2 ปีกว่าๆ เราเพิ่งได้พิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า สภาเลือกตั้งพิจารณายกเลิกคำสั่ง ยกเลิกประกาศที่ทำลายหลักสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมของประชาชน

รังสิมันต์ โรม -FBB0-4886-AA97-203B31AFE922.jpeg

ดักคอซีกรัฐบาลจะคว่ำร่าง เคยได้รับผลกระทบจากคำสั่ง คสช.

รังสิมันต์ ระบุว่าการรัฐประหารนำมาซึ่งปัญหาหลายอย่าง สิ่งที่เกิดขึ้นมีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการสลายการชุมนุมโดยอาศัยอำนาจ คสช. มีการใช้คำสั่งหัวหน้าคสช. ควบคุมตัวประชาชน มีการควบคุมประชาชนบางส่วนที่จะกินแซนวิช อาจจะมีเจตนาต่อต้านรัฐประหารแต่การกินแซนวิชครั้งนั้นมีการปรับทัศนคติ ทำเอ็มโอยู การกินแซนวิชครั้งนั้น มีเจ้าหน้าที่มาคอยสอบถามจะมีการเคลื่อนไหวหรือไม่ รัฐประหารมีการปิดสื่อมวลชนไม่ให้รายงานข้อเท็จจริง มีสื่อมวลชนถูกเรียกปรับทัศนคติ แต่เมื่อไรที่สื่อไม่สามารถรายงานข้อเท็จจริงตรงไปตรงมา ผลกระทบเกิดขึ้นกับประชาชนทุกคน เพราะเราไม่มีเสรีภาพรับข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา 

"มีความพยายามให้ร่างตกไป ผมมองหน้าคนที่ได้รับผลกระทบต่อการรัฐประหาร ท่านไม่รับร่างนี้ ทั้งที่ท่านได้รับผลกระทบจากประกาศ คำสั่งหัวหน้า คสช." รังสิมันต์ ระบุ

สมคิด EA-B558B0DE6EF0.jpeg

'เพื่อไทย'หนุนรับร่าง พ.ร.บ.รื้อมรดก คสช.

จากนั้น สมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย อภิปรายสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยระบุว่า ตั้งแต่ พ.ค.ปี 2557 พวกตนถูกกระทำแทบทุกคน ผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่งเยอะเหลือเกิน คนกระทบคือชาวไร่ ชาวนา ช่วงนั้นยังมีโครงการจำนำข้าว โดยโครงการนี้ถูกเอาเรื่องจาก คสช. ยึดอำนาจแล้วเชิญตนไปรายงานตัว 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ตนพูดเรื่องขายข้าว แต่ คสช.ไม่เข้าใจ ใช้อำนาจที่ไม่ควรใช้ พิชัย นริพทะพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย ถูกเรียกเข้าค่าย 13 ครั้ง ดังนั้นชอบแล้วร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะยกเลิก คำสั่ง คสช. ถ้าแน่ใจไม่ทำผิด ออกนิรโทษกรรมไปทำไม คำสั่ง ม.44 ประกาศ 3-4 คน จะยกเลิกต้องประกาศเป็นกฎหมาย 3-4 ปี ประกาศคำสั่งจอมพลสฤษดิ์ ยังมีอยู่  ตนเห็นคำสั่ง คสช. ม.44 ให้ดีเอสไอไปล้อมวัดพระธรรมกาย ใช้กำลัง 4,000-5,000 คน ตนวิงวอน อย่างน้อยล้างมรดกบางอัน อาจไม่ทั้งหมด แต่จำเป็นสิ่งแวดล้อม คำสั่งที่กระทบสิทธิเสรีภาพจำเป็นต้องยกเลิกทั้งหมด เชื่อว่าผู้ได้ผลกระทบบางท่านติดคุก ถูกมัดตา พิชัย เล่าให้ตนฟังเรียกขึ้นรถ เอาถุงดำครอบ ตนเลยบอกว่าพิชัยผมบางเพราะแบบนี้หรือไม่ ตนเคยเข้าค่ายทหาร 

"ผมได้ข่าวจะไม่ผ่านร่างนี้ ต้องมานั่งคุยกัน อย่าแบ่งเขาแบ่งเรามาช่วยกัน" สมคิด ระบุ

พิเชษฐ์ 34EE5E34-8E65-42C0-B924-CBAD597FAC38.jpegพิเชษฐ์ 34EE5E34-8E65-42C0-B924-CBAD597FAC38.jpeg


พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย หากไม่มีการปฏิวัติในประเทศไทย จะมีการพัฒนาแล้ว แต่มีวิบากกรรมเจอรัฐประหารทำให้ประเทศถดถอยไม่เป็นประเทศพัฒนา ยึดอำนาจตั้งตัวเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ฉีกรัฐธรรมนูญภาคประชาชน ประกาศ ออกคำสั่ง เพื่อให้เกิดความสงบราบคาบไม่ให้ประชาชนต่อสู้ อีกทั้ง ประเทศไทยเป็นต้นแบบการรัฐประหารของทั่วโลก อายุเป็นนายกฯ 8 ปีเต็ม  24 ส.ค. 2565 รัฐธรรมนูญปี 2560 เขียนไว้ว่าคนเป็นนายกฯจะเป็นนายกฯ 8 ปีติดต่อกันไม่ได้ ตนจะดูกระบวนการยุติธรรม

"วันที่เราถูกรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 ถูกทำร้าย ถูกกดขี่ ก่อนเลือกตั้งได้สัญญาประชาชน หลายพรรคบอกจะไม่ร่วมรัฐบาลกับเผด็จการ ผมไม่ว่า แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่อยากให้สำนึกว่าคำสั่งของคณะปฏิวัติทุกฉบับเป็นตราบาป ลูกหลาน อยากให้ ส.ส.ทุกพรรคล้างมลทินเหล่านี้ เพื่อทั่วโลกได้ยอมรับได้ ฝากนักการเมืองในสภาฯ ให้สำนึกว่าเผด็จการทำลายล้างประเทศ และทำให้ถดถอย" พิเชษฐ์ ระบุ

ทัศนีย์ สภา 61DAFC8B-47D9-4254-A886-D74934A01AA7.jpeg

'ทัศนีย์'รับไม่ได้ถูกข้อหาอั้งยี่ คดีประชามติ ชวนจับตา ส.ส.โหวตคว่ำ

จากนั้น ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย อภิปรายสนับสนุน ร่างพ.ร.บ.ที่เสนอให้ยกเลิกประกาศ คำสั่ง คสช.ว่า ตนถูกคำสั่ง คสช.ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรง แค่แสดงความคิดเห็นร่าง รับธรรมนูญ ถูกประกาศ คสช. ผู้ญิงคนเดียว เข้าค่ายทหาร 7 วันมีการปิดหู ปิดตา มัดมือ ให้ตนเกิดความกลัว ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน เอาตนไปไว้ในค่ายทหาร 4 ข้อหา อยู่ในเรือนจำอีก 20 วันให้ประกนตัว ต้ังข้อหา มาตรา 116 คดีประชามติ ที่รับไม่ได้ อั้งยี่ซ่องโจร กฎหมายนี้กลับมาใช้ ประชาชนโดนมากอั้งยี่ซ่องโจร มีประชาชนจำนวนมาก ที่ตนไม่ได้เอ่ยอาจร้ายแรงกว่าตน มีจำนวน 1,000 คนต้องขึ้นศาลทหาร บางคนเสียอนาคต เสียการงาน เสียการเรียน เสียกำลังใจ คสช.หมดไปแต่คดียังอยู่

ทัศนีย์ ระบุว่า วันนี้เป็นวันที่ดีที่โอกาสที่ดียกเลิกประกาศ คสช. อออกประกาศจากคนยีอำนาจ ยึดอำนาจประชาชนหาไม่ยกเลิกจะอยู่กับลูกหลาน เป็นมรดกบาปกับเรา ขอ ส.ส.รัฐบาลลงมติรับหลักการร่าง ประชาชนและ ปิยบุตร เพื่อคืนปกติคืนสิทธิเสรีภาพประชาชน แค่ขอคืนความเป็นคนให้ประชาชนเท่านั้นเอง วันลงมติขอเชิญชวนประชาชนให้จับตาดู ส.ส.ของท่านส่งเสียงให้เห็นด้วยรับหลักการ คืนความเป็นคนให้เรา หาก ส.ส.ไม่เห็นด้วยไม่รับหลักการ ประชาชนจะตอบแทนท่านด้วยการเลือกตั้งครั้งหน้า ให้ท่านได้รู้ว่า ส.ส.มาจากประชาชน ไม่ใช่เป็น ส.ส.เพื่อเป็นฐานอำนาจให้ใคร

ยิ่งขีพ สภา -C6BE-4C6A-B1E6-6D8C4B13C5EB.jpeg

เวลา 19.40 น. ยิ่งชีพ อภิปรายสรุปปิดท้ายว่า ได้ศึกษาเตรียมข้อมูลประกาศ คำสั่ง คสช.มานานกว่า 7 ปี แต่เราไม่ได้ยินคำถามสงสัยให้ตนชี้แจง เพราะ ส.ส.ต่างตระหนักถึงปัญหาการคงอยู่เอาไว้ของประกาศ คสช. เชื่อว่าท่านพร้อมจะยกเลิกประกาศคำสั่งที่เป็นปัญหา ถ้ามีผู้ลงมติไม่รับ ก็คงไม่เข้าใจได้ว่า ลงมติไม่รับด้วยเหตุผลอะไร 

เกษตรกรคนหนึ่งทำไร่มันสำปะหลัง อยู่ในเรือนจำ จ.ชัยภูมิ ถูกพิพากษาจำคุก 2 ปี ตามคำสั่ง คสช. ชาวบ้านไม่รู้หรอกว่าภาพถ่ายดาวเทียมทหารตีเส้นตรงไหนเขตป่า ถ้าหากว่าร่างที่เราเสนอวันนี้ถูกปัดตกโดยไม่มีเหตุผลอธิบายเท่ากับหลงลืมความไม่เป็นธรรม ขณะที่ แหวน ณัฏฐธิดา มีวังปลา ถูกทหารจับกุมที่บ้าน ตามคำสั่ง คสช. ถูกค้นมือถือ ยึดอุปกรณ์ต่างๆ ถูกตั้งข้อหามาตรา 112 ถูกนำตัวขึ้นศาลทหาร ที่ศาลทหารไม่ได้ประกันตัว ถูกขังโดยไม่มีคำพิพากษา 3 ปีครึ่ง เมื่อคดีสู่ศาลปกติ ใช้เวลาพิจารณาไม่นานจึงพิพากษายกฟ้อง

ณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สรุปร่าง พ.ร.บ.เป็นการปิดท้าย ว่า ขอบคุณฝ่ายค้าน 23 คนและเพื่อนสมาชิกฝ่ายรัฐบาล 1 คน ที่อภิปราย ตนเห็นด้วยกับร่างของภาคประชาชน ว่าคำสั่ง ประกาศ คสช.มีปัญหาเชิงสภาพบังคับ และผลละเมิดสิทธิประชาชน การที่ท่านจะรับหรือไม่รับร่าง 2 ฉบับต้องยอมรับผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สุชาติ -33E6-4063-B43B-201833ACB273.jpeg

ผวาองค์ไม่พอ 'สุชาติ' ชิงปิดประชุม รอโหวตนัดหน้า

เวลา 20.09 น. ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ได้ทักท้วงก่อนจะมีการลงมติว่าองค์ประชุมไม่ครบ ทำให้ สุชาติ ตันเจริญ  รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ได้ระบุว่า ตนไม่ได้ชิงปิดประชุม และขอให้มีการลงมติในการประชุมครั้งหน้า พร้อมกับสั่งปิดประชุมทันที

ข่าวที่เกี่ยวข้อง