ไม่พบผลการค้นหา
​ความเชื่อของชาวเอเชียที่ว่านอแรดใช้เป็นยารักษาโรค เป็นเรื่องที่มีมาอย่างยาวนาน แต่การค้านอแรดเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ส่งผลให้เกิดการค้าขายในตลาดมืดมากขึ้น และอาจทำให้แรดสูญพันธ์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นนอแรดเทียม ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อลดปัญหาการสูญพันธ์

ความเชื่อของชาวเอเชียที่ว่านอแรดใช้เป็นยารักษาโรค เป็นเรื่องที่มีมาอย่างยาวนาน แต่การค้านอแรดเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ส่งผลให้เกิดการค้าขายในตลาดมืดมากขึ้น และอาจทำให้แรดสูญพันธ์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นนอแรดเทียม ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อลดปัญหาการสูญพันธ์ุ

นอแรดถือเป็นหนึ่งในสินค้าที่มีมูลค่าสูงมากในการซื้อขายในตลาดมืด เนื่องจากความเชื่อของชาวเอเชียที่ว่า นอแรดเป็นยาชั้นเลิศ ช่วยรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ดังนั้นจึงส่งผลให้แรดถูกล่ามากขึ้น ก่อนหน้านี้เคยมีกฎหมายสั่งห้ามจำหน่ายนอแรดตั้งแต่ปี 1970 แต่กลับทำให้ความต้องการนอแรดในตลาดมืดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชีย  ที่มักนำมารับประทาน หรือบางคนใช้มอบให้กันเป็นของขวัญ หรือของตกแต่งบ้าน

การกระทำดังกล่าวส่งผลให้บรรดาแรดในแอฟริกาตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญพันธ์ุในอีก 20 ปีข้างหน้า ดังนั้นบริษัท Pombient ผู้ค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพของสหรัฐฯ ได้เริ่มต้นผลิตนอแรดสังเคราะห์ ที่มีลักษณะภายนอกเหมือนนอแรดจริงทุกประการ โดยทีมวิจัยได้สกัดเอาเคราติน และดีเอ็นเอออกมาจากนอแรดจริง และนำไปผสมในเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งทีมนักวิจัยเชื่อว่าจะนำมาทดแทนนอแรดของจริงได้ และจะวางจำหน่ายได้ในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งจะมีราคาที่ถูกกว่านอแรดจริงถึง 8 เท่าด้วย โดยนอแรดของจริงมีราคาจำหน่ายที่ค่อนข้างสูง คือ ประมาณกิโลกรัมละ 60,000 ดอลลาร์ หรือราว 2 ล้าน 1 แสนบาท 

ปริมาณประชากรแรดเริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ ในปี 2014 มีแรดถูกฆ่าเพื่อเอานอจำนวน 1,215 ตัว ส่วนปี 2015 ที่ผ่านมา มีจำนวนที่ถูกฆ่า 1,175 ตัว ส่วนในปีนี้ ผลสำรวจตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนพฤษภาคม  มีจำนวนที่ถูกฆ่าไปแล้วถึง 363 ตัว

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog