ไม่พบผลการค้นหา
กสม. มีมิติยืนยันการสอบสวนว่าฟาร์มไก่ในลพบุรีไม่ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนเข้าข่ายใช้แรงงานทาส หรือกักขังหน่วงเหนี่ยว แต่เป็นการละเมิดสิทธิแรงงานในประเด็นการไม่จ่ายค่าแรงตามกฎหมาย

กสม. มีมิติยืนยันการสอบสวนว่าฟาร์มไก่ในลพบุรีไม่ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนเข้าข่ายใช้แรงงานทาส หรือกักขังหน่วงเหนี่ยว แต่เป็นการละเมิดสิทธิแรงงานในประเด็นการไม่จ่ายค่าแรงตามกฎหมาย

หลังจากอุตสาหกรรมไก่ของไทยตกเป็นข่าวไปทั่วโลกจากการถูก The Guardian และเครือข่าย NGO เปิดโปงว่ามีการใช้แรงงานทาส และแรงงานก็นำเรื่องไปฟ้องร้องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือกสม. ปรากฏว่าล่าสุด กสม.มีมติยืนยันว่าจากการสอบสวน พบว่าฟาร์มไก่ในลพบุรีที่แรงงาน 14 คนซึ่งเป็นต้นข่าวเคยทำงานอยู่ ไม่ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนข่ายใช้แรงงานทาส หรือกักขังหน่วงเหนี่ยว แต่เป็นการละเมิดสิทธิแรงงานในประเด็นการไม่จ่ายค่าแรงตามกฎหมาย และไม่จ่ายค่าล่วงเวลาวันหยุดตามที่กฎหมายกำหนด

ผลการวินิจฉัยของกสม. สอดคล้องกับผลการตรวจสอบของคณะทำงานพิเศษ นำโดยผู้กำกับการสภ.โคกตูม จังหวัดลพบุรี เจ้าของพื้นที่ที่ตั้งฟาร์ม ที่มีความเห็นว่าลูกจ้างทั้งหมดที่ฟ้องร้องฟาร์ม ไม่ใช่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ แต่เป็นความผิดตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

แรงงานข้ามชาติทั้ง 14 คนเป็นแรงงานในฟาร์มเลี้ยงไก่ของบริษัทธรรมเกษตร ทั้งหมดร้องเรียนไปยังหลายองค์กรทั้งในไทยและต่างชาติว่าถูกละเมิดสิทธิแรงงานอย่างร้ายแรง เนื่องจากต้องทำงานตั้งแต่เวลา 7.00 -17.00 น. และต้องทำงานล่วงเวลาตั้งแต่เวลา 19.00 – 05.00 น.โดยไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์ และวันหยุดประจำปี  ได้รับค่าจ้างวันละ 230 บาท และถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการเดินทางออกจากฟาร์มได้เพียงสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ซึ่งต้องอยู่ในการควบคุมของผู้แทนนายจ้างตลอดเวลา โดยนายจ้างได้ยึดเอกสารประจำตัวของแรงงานทั้ง 14 คน ไม่อนุญาตให้ถือเอกสารประจำตัวด้วยตนเอง ทั้งนี้ ยังมีการหักค่าเช่าห้องพักอีกคนละ 1,600 บาท หักค่าน้ำ-ค่าไฟ ไม่มีประกันสังคม และไม่มีค่าล่วงเวลา 

อย่างไรก็ตาม เจ้าของบริษัทธรรมเกษตรได้ให้ข้อมูลกับ Voice TV ในทิศทางตรงกันข้าม ยืนยันว่าไม่เคยมีการกักขังแรงงาน คนงานทั้งหมดได้รับการดูแลอย่างดี มีที่อยู่ที่เหมาะสม และมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี การทำงานถึงวันละ 20 ชั่วโมงก็เป็นไปไม่ได้ เพราะไก่ต้องนอนวันละ 8 ชั่วโมง จึงไม่มีงานใดๆให้แรงงานทำถึง 20 ชั่วโมง นอกจากนี้ทางบริษัทยังดำเนินการตามมาตรฐานยุโรป เพราะทำธุรกิจส่งออกไก่ไปยังยุโรป จึงเป็นไม่ได้ที่จะมีการละเมิดแรงงานร้ายแรงตามที่ถูกกล่าวหา

ทางฟาร์มยังยืนยันว่าจะฟ้องร้องดำเนินคดีกับทางแรงงานและเครือข่าย NGO ฐานทำให้กิจการต้องถูกปิด ได้รับความเสียหายวงเงินเกินกว่าร้อยล้านบาท โดยระบุด้วยว่า MWRN และเครือข่าย ซึ่งเป็นตัวแทนของแรงงาน ต้องการทำลายชื่อเสียงของอุตสาหกรรมไก่ไทยโดยใช้สื่อเป็นเครื่องมือ เหมือนที่เคยทำมาแล้วกับอุตสาหกรรมประมง สับปะรด และอ้อย

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog