ไม่พบผลการค้นหา
คนกรุงเทพมหานคร มีระบบระบายน้ำผ่านอุโมงค์ครั้งแรกเมื่อ 33 ปีก่อน และปัจจุบันมีอุโมงค์ระบายน้ำ 7 แห่ง เป็นหนึ่งในกลไกการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง

คนกรุงเทพมหานคร มีระบบระบายน้ำผ่านอุโมงค์ครั้งแรกเมื่อ 33 ปีก่อน และปัจจุบันมีอุโมงค์ระบายน้ำ 7 แห่ง เป็นหนึ่งในกลไกการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง 

อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่แห่งแรกของกรุงเทพมหานครเปิดใช้งานครั้งแรกในปี 2526 ภายใต้ชื่อสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 26 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอุโมงค์ 1 เมตร เพื่อแก้ไขปัญหาบนถนนสุขุมวิท ระหว่าง ซอยสุขุมวิท 22-28  ซอยสุขุมวิท 26 และบริเวณใกล้เคียง

ถัดมาอีก 8 ปี มีอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่อีก 2 แห่งเกิดขึ้น คือ ระบบผันน้ำคลองเปรมประชากร และอุโมงค์ใต้ดินครอบคลุมพื้นที่ 3.50 ตารางกิโลเมตร เขตบางซื่อ , จตุจักร , หลักสี่ , บางเขนและดอนเมือง และสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท ครอบคลุมพื้นที่ถนนสุขุมวิทและบริเวณซอยสุขุมวิท 36

ปี 2545 เกิดโครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 42 เริ่มเดินระบบช่วยระบายน้ำบนถนนสุขุมวิทและซอยสุขุมวิท 42

ปี 2546 ก่อสร้างแล้วเสร็จอีก 1 แห่ง คือโครงการระบบระบายน้ำพื้นที่เขตพญาไท และอุโมงค์ใต้ดิน ครอบคลุมเขตพญาไท ถนนพหลโยธิน ช่วงจากซอยพหลโยธิน 5-11 และถนนพระราม 6

เดือนเมษายน 2553 คนกรุงเทพฯมีอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่เป็นแห่งที่ 6 คือ บึงมักกะสัน ครอบคลุมพื้นที่ 26 ตารางกิโลเมตร เขตวัฒนา , ปทุมวัน ราชเทวี , พญาไท , ห้วยขวาง และดินแดง 

ส่วนแห่งที่ 7 ที่คนกรุงเทพฯรู้จักเป็นอย่างดีคือ อุโมงค์ยักษ์พระราม 9 - รามคำแหง ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร เปิดใช้งานเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ดูแลเขตห้วยขวาง , บางกะปิ , บึงกุ่ม , วัฒนา , วังทองหลางและลาดพร้าว

​ทั้ง 7 โครงการนี้ กรุงเทพมหานครใช้งบประมาณในการก่อสร้างไปแล้วกว่า 4,979 ล้านบาท และยังมีอีก 5 โครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog