นักจิตวิทยาที่ค้นพบยาลบความทรงจำส่วนที่เป็นด้านลบออกไปได้ ยาดังกล่าวนั้นถูกนำมาใช้เพื่อรักษาอาการ กลัวแมงมุมอย่างรุนแรง นอกจากนี้หลังทดลองใส่ความจำที่ไม่มีอยู่จริงให้กับอาสาสมัครจนทำให้พวกเขาเชื่อว่าเคยเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นขึ้นในชีวิตจริงๆ
เชื่อว่าในชีวิตนี้ทุกๆ คนคงเคยมีประสบการณ์แย่ๆ ที่ก่อเป็นความทรงจำที่ไม่ดี ต่อให้เคยคิดอยากลบมันออกไปจากสมองแค่ไหนก็เป็นไปไม่ได้แถมยิ่งคิดยิ่งจำมาก เข้าไปอีก แต่ต่อไปนี้จะความทรงจำแย่ๆ จะไม่มีวันย้อนมากวนใจคุณได้อีกแล้วเพราะแม้จะฟังดูเป็นหนัง Sci-fi แต่ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นการลบความทรงจำที่ไม่พึงปรารถนาในสมองเรา สำเร็จแล้ว
โดยเมื่อช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมาได้มีการเปิดเผยคลิปที่มีชื่อว่า "Memory Hackers" ที่นำเสนอโดย NOVA จากทาง PBS บอกเล่าเรื่องราวของความทรงจำและทำอย่างไรที่มนุษย์จะสามารถควบคุมความทรงจำเหล่านั้นได้ ซึ่งนั่นอาจจะไม่ใช่แค่การลบเรื่องราวบางอย่างออกไป แต่มันอาจจะหมายถึงการสร้างสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นให้มีอยู่จริงในสมองของใครบางคนก็เป็นได้
ที่ผ่านมามนุษย์เรามองว่าความจำคือสิ่งที่เราบันทึกไว้บบแผ่นเทป แต่ปัจจุบันทางทีมวิจัยได้ค้นพบหลักการทำงานของความจำที่จริงๆ แล้วความทรงจำนั้นสามารถถูกดัดแปลงได้ง่ายเพราะมันจะมีการแต่เขียนทับและเขียนทับได้ตลอดเวลาซึ่งไม่เพียงแต่การค้นพบวิธีการทำงานของมัน นักวิทยาศาตร์ยังค้นพบวิธีการควบคุมความทรงจำอีกด้วย
ซึ่งในตัวคลิปนี้เองก็ได้มีการพูดถึง Merel Kindt นักจิตวิยาที่ค้นพบยาลบความทรงจำส่วนที่เป็นด้านลบออกไปได้ ทั้งนี้ยาดังกล่าวนั้นถูกนำมาใช้เพื่อรักษาอาการ Arachnophobia หรืออาการกลัวแมงมุมอย่างรุนแรง
ส่วนอีกหนึ่งเนื้อหาในคลิปนี้ที่มีความน่าสนใจก็คือเรื่องราวของเด็กชายวัย 12 ปีที่ชื่อ Jake Hausler เด็กที่สามารถจดจำทุกๆ รายละเอียดของสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับตัวเขาได้ตั้งแต่อายุ 8ขวบเป็นต้นมา ซึ่งอาการของเขาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Superior Autobiographical Memory ทำให้เขาไม่สามารถเลือกที่จะจดจำเหตุการณ์ได้ กลับจำไปซะทุกเรื่อง ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไปยันเรื่องที่ควรลืม เพราะจริงๆ แล้วการลืมก็เป็นกระบวนการที่สำคัญของสมองที่จะรับมือกับเรื่องราวต่างๆ เช่นกัน ดังนั้นจึงมีความท้าทายที่จะช่วยลบความทรงจำที่ไม่ดีให้กับหนูน้อย
นอกจากนี้ก็ยังมีบทสัมภาษณ์ของ Julia Shaw ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัย London South Bank ที่ได้พูดถึงความสำเร็จของการทดลองปลูกฝังความทรงจำใหม่ให้สมอง หลังทดลองใส่ความจำที่ไม่มีอยู่จริงให้กับอาสาสมัครจนทำให้พวกเขาเชื่อว่าเคยเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นขึ้นในชีวิตจริงๆ
แม้ไอเดียนี้จะดูเป็นเรื่องที่น่าสนใจและอาจจะสามารถช่วยรักษาอาการต่างๆ ที่ไม่พึงประสงค์ หรือลบเรื่องราวเลยร้ายที่เคยเกิดขึ้นได้ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าในอีกด้านหนึ่งความทรงจำต่างๆ นั้นเป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจทำหรือไม่ทำอะไรของเราเช่นกัน ความทรงจำที่เลวร้ายบางครั้งก็อาจจะกลายเป็นบทเรียนชั้นดีก็ได้ และหากมองเรื่องนี้ในมุมของกฎหมายแล้วก็ยังต้องมีข้อถกเถียงอีกมากมายว่าใครบ้างม่ควรจพได้ลบความทรงจำ หรือใส่ความทรงจำ และหากคนดังกล่าวเคยก่อคดีไว้ในอดีตแล้วในเชิงของการพิจารณาคดีต่างๆ จะทำได้อย่างไร รวมไปถึงนี่อาจจะเป็นหนึ่งในกระบวนการแปลงให้มนุษย์กลายเป็นหุ่นยนต์หรือไม่เพราะไม่ว่าใครๆ ก็สามารถอัพโหลดความรู้ต่างๆ เข้าไปได้ง่ายๆ เหมือนกับกระบวนการของ AI