ไม่พบผลการค้นหา
นักวิชาการด้านกฎหมาย จัดงานเสวนา 'เพศ ภัยคุกคาม อินเตอร์เนต' โดยระบุว่า ประเทศไทยมีความหลากหลายวิธีการคุกคาม ขณะที่สังคมไทยมองการคุกคามเป็นเรื่องเล็กน้อย ทั้งกฎหมายที่มีปัจจุบันไม่ครอบคลุมการกระทำผิดทางเพศบนโลกออนไลน์

นักวิชาการด้านกฎหมาย จัดงานเสวนา 'เพศ ภัยคุกคาม อินเทอร์เนต'  โดยระบุว่า ประเทศไทยมีความหลากหลายวิธีการคุกคาม ขณะที่สังคมไทยมองการคุกคามเป็นเรื่องเล็กน้อย  ทั้งกฎหมายที่มีปัจจุบันไม่ครอบคลุมการกระทำผิดทางเพศบนโลกออนไลน์

งานเสวนา "เพศ ภัยคุกคาม อินเทอร์เนต" ของกลุ่มนักวิชาการด้านนิติศาตร์และสังคมศาสตร์ ได้แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประเด็นการคุกคามทางเพศบนโลกออนไลน์ ว่ามี 2 ลักษณะ คือ คุกคามโดยตรง และ การโพสต์ภาพ แสดงความคิดเห็นให้บุคคลที่ 3 รับรู้  นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สำรวจพบว่าปัจจุบันมีเยาวชนเคยถูกกระทำความรุนแรงทางออนไลน์มากถึง ร้อยละ 49.2  ถูกแบล็คเมล์ ร้อยละ 9.5 ถูกด่าทอ โจมตี ร้อยละ 43 ถูกคุกคามทางเพศ ร้อยละ14.3  และยังพบว่า เยาวชนที่ถูกคุกคามผ่านออนไลน์มีความเสี่ยงถูกคุกคามในสังคมจริงมากถึง 2.6 เท่า และยังพบเยาวชนเป็นผู้กระทำความรุนแรงออนไลน์เพิ่มขึ้น จากการแก้แค้น  

โดยภัยคุกคามบนโลกออนไลน์อีกประเภทคือ วิธีส่อง และใช้วิธีแอบอ้างประวัติ รูปโพรไฟล์ไปสวมรอยทำการค้าประเวณี หรือแสดงความคิดเห็นให้เกิดความเสียหาย ซึ่งวิธีเริ่มเกิดขึ้นมากในสังคมไทย รวมถึงวิธีการแก้แค้นจากการถูกคุมคาม ด้วยการประจาน ส่งต่อ ซึ่งเป็นการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550

ด้านกฎหมายการควบคุม ตามประมวลกฎหมายอาญา ส่วนใหญ่จะตีความผิดซึ่งหน้า และต่อหน้าสาธารณชน  ขณะที่กฎหมายควบคุมในโลกออนไลน์ มี พ.ร.บ.ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 มาตรา 14 ที่ใช้อ้างอิง แต่ยังไม่ครอบคลุมการคุกคามในหลายวิธีที่เกิดขึ้น

นอกจากกฎหมายที่ยังมีช่องว่างในการเอาผิดผู้คุกคามบนโลกออนไลน์แล้ว เวทีเสวนายังระบุถึงความตระหนักของผู้คนในสังคมไทยต่อทัศนคติต่อการส่งข้อความ ส่งภาพ และ หรือการตัดต่อภาพอนาจาร ซึ่งที่ผ่านมา สังคมไทยมองเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่แจ้งดำเนินคดี รวมทั้ง ทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่สนใจเท่าที่ควร

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog