ไม่พบผลการค้นหา
อิทธิพลตะวันตกที่เข้าสู่สยามส่งผลให้ศิลปกรรมในวัดหลวงหลายแห่งสะท้อนแนวคิดเหมือนจริง หนึ่งในจำนวนนี้คือ วัดโสมนัสราชวรวิหาร ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

อิทธิพลตะวันตกที่เข้าสู่สยามส่งผลให้ศิลปกรรมในวัดหลวงหลายแห่งสะท้อนแนวคิดเหมือนจริง หนึ่งในจำนวนนี้คือ วัดโสมนัสราชวรวิหาร ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

 

วัดโสมนัสวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ใกล้กับทำเนียบรัฐบาลในปัจจุบัน

 

 

แปลนวัดโสมนัสวิหาร ซึ่งมีในพระอุโบสถสมัยเริ่มการก่อสร้าง พ.ศ.2396

 

 

วัดโสมนัสราชวรวิหาร ตั้งอยู่ในแขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 

 

 

รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯสร้างวัดโสมนัสราชวรวิหาร เพื่ออุทิศแก่พระอัครมเหสี  คือ สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี 

 

 

สิ่งน่าสนใจภายในวัด มีเช่น จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ จิตรกรรมฝาผนังในพระวิหาร เจดีย์ทรงระฆังสีทอง กับเจดีย์มอญ

 

 

ภายในพระวิหาร มีจิตรกรรมฝาผนัง

 

 

ภายในพระอุโบสถ มีจิตรกรรมฝาผนังอันน่าชมเช่นกัน

 

 

เจดีย์ทรงระฆังสีทอง กับเจดีย์มอญ ลักษณะคล้ายปรินิพพานสถูปในอินเดีย (ขวา)

 

 

เจดีย์ทรงระฆังเป็นเจดีย์แบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 4. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ (2556: 86) อธิบายว่า พระเจดีย์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นตามวัดต่างๆนั้น เกือบทั้งหมดเป���นเจดีย์ทรงระฆัง เป็นรูปแบบที่พระองค์ทรงโปรด. 

 

 

พระวิหาร ก่ออิฐถือปูน

 

 

อาคารวิหารมีพาไลและเสาพาไลโดยรอบ เสาอาคารเป็นเสากลม มีบัวหัวเสา แต่ไม่มีลายกลีบบัว ไม่มีคันทวยรองรับชายคา พระเจดีย์อยู่หลังพระวิหาร

 

 

หน้าบันประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ตัวช่อฟ้าและหางหงส์ทำเป็นปูนปั้นรูปหัวนาคแต่มีปากเป็นนก เรียกว่า นกเจ่า 

 

 

หน้าบันเป็นงานปูนปั้นลวดลายกระหนกอย่างไทย มีกรอบลายสามเหลี่ยม 2 ชั้น ส่วนกลางหน้าบันด้านล่างมีตราพระบรมราชสัญลักษณ์ในสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า เหนือขั้นไปเป็นมหาพิชัยมงกุฏอันเป็นตราพระบรมราชสัญลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้อมรอบด้วยลายกระหนก มีเทวดาถือฉัตรประดับด้านข้าง

 

 

กรอบนอกของหน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นแถวลายดอกไม้ขนาดใหญ่ จำพวกลายดอกโบตั๋น

 

 

ซุ้มประตูและหน้าต่างพระวิหาร ประดับตกแต่งด้วยลวดลายอย่างเทศ

 

 

ลวดลายของกรอบซุ้มและกรอบหน้าต่าง เป็นลายเถาดอกไม้ใบไม้ แบบศิลปะจีนผสมศิลปะตะวันตก 

 

 

บานหน้าต่างพระวิหาร

 

 

ส่วนยอดซุ้มตรงกลาง ประดับด้วยลายมงกุฏ บานประตูและบานหน้าต่างเป็นงานลงรักปิดทอง ใช้ลวดลายสัญลักษณ์ของพระจักรพรรดิราช ได้แก่ รัตนะ 7 ประการ คือ ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว จักรแก้ว และแก้วมณี

 

 

ภายในพระวิหารมีเสาทรงสี่เหลี่ยม รับน้ำหนักหลังคาและเพดาน

 

 

พระประธานในพระวิหาร มีนามว่า พระสัมพุทธโสมนัสวัฒนาบดีนาถบพิตร

 

 

จิตรกรรมภายในวิหาร เป็นเรื่องอิเหนา นับว่าผิดแผกจากภาพในที่อื่นๆ ซึ่งมักเขียนเรื่องชาดก ชาดกนอกนิบาต และต่างจากภาพเขียนในสมัยรัชกาลที่ 4 ทั่วไป ซึ่งมักเป็นภาพงานประเพณี งานบุญ ปริศนาธรรม หรือกิจวัตรของพระภิกษุ 

 

 

งานจิตรกรรมใช้เทคนิคผสมแบบไทย-ตะวันตก ภาพตัวละครที่เป็นกษัตริย์และชนชั้นสูง เขียนแบบสองมิติ แสดงเครื่องแต่งกายตามแบบแผนประเพณี ภาพฉากบ้านเรือนเขียนแบบสามมิติ มีระยะใกล้-ไกล 

 

 

นอกจากภาพอาคารบ้านเรือนแบบตะวันตกแล้ว งานจิตรกรรมภายในวิหารยังแสดงสิ่งที่เข้ามาในสังคมสยาม เช่น เรือกลไฟ 

 

 

สิ่งพิเศษของจิตรกรรมในพระวิหารแห่งนี้อีกอย่างหนึ่ง คือ ฉฬาภิชาติ หรือคนหกประเภท เขียนไว้ที่เสา 6 คู่ หรือ 12 ต้น 

 

 

เสาแต่ละคู่มีสีต่างกัน คู่ที่อยู่ใกล้พระประธานจะเป็นสีอ่อน แล้วไล่ไปสู่สีเข้มขึ้นในเสาที่ไกลออกไป แสดงความหมายถึงจิตใจมนุษย์ว่า ยิ่งอยู่ใกล้พระพุทธศาสนา ยิ่งสว่าง ยิ่งห่างศาสนา ยิ่งมีกิเลส

 

 

หลังบานประตูทางด้านหน้าของพระวิหาร เป็นภาพผ้าม่านแหวก มีโคมระย้าห้อยลงมาตรงกลาง ด้านล่างโคมเป็นภาพบุคคลถือช่อดอกไม้บูชา

 

 

พระอุโบสถอยู่หลังพระเจดีย์

 

 

พระอุโบสถมีรูปแบบศิลปกรรมลักษณะเดียวกับพระวิหาร งานประดับตกแต่งแตกต่างกันเล็กน้อย

 

 

ขณะที่ซุ้มประตูและหน้าต่างของพระวิหารประดับรูปพระมหาพิชัยมงกุฏ ที่พระอุโบสถทำเป็นรูปพานพุ่ม

 

 

ซุ้มหน้าต่างพระอุโบสถ ประดับรูปพานพุ่มเช่นกัน

 

 

จุดเด่นของสีมาของวัดโสมนัสวิหาร คือ ตำแหน่งประดิษฐานของสีมา และลักษณะของซุ้มสีมา

 

 

สีมาที่วัดแห่งนี้ ประดิษฐานติดกับตัวอาคารพระอุโบสถ อันเป็นแบบแผนอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

 

 

ซุ้มสีมาตั้งอยู่บนกำแพงแก้ว ในตำแหน่งของสีมาในแต่ละทิศ

 

 

สีมาประจำทิศ

 

 

ภายในซุ้มสีมา ไม่มีใบสีมา

 

 

หน้าบันพระอุโบสถ

 

 

รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯให้สร้างวัดโสมนัสวิหารเมื่อปี พ.ศ.2396 และโปรดเกล้าฯให้อาราธนาพระอริยมุนี (ทับ พุทธสิริ) จากวัดสมอราย (วัดราชาธิวาสในปัจจุบัน) มาครองวัดแห่งใหม่นี้ในปี 2399 พระอริยมุนีได้อัญเชิญพระพุทธรูปที่ท่านสร้างขึ้นที่วัดสมอรายมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัดนี้ ต่อมาขนานนามว่า พระสัมพุทธสิริ ตามชื่อสกุลของท่าน

 

 

พระสัมพุทธสิริ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ ครองจีวรแสดงรอยริ้วจีบคล้ายรอยริ้วผ้า เค้าพระพักตร์ดูคล้ายมนุษย์ปุถุชน ใบพระกรรณหดสั้นลง ไม่มีเปลวรัศมีเหนือพระเศียร เหล่านี้บ่งถึงศิลปะแนวเหมือนจริง ด้านหน้าพระประธานประดิษฐานพระนิรันตราย

 

 

จิตรกรรมในพระอุโบสถ ที่ผนังสกัดด้านหน้า แสดงสิ่งที่ปฏิบัติเมื่อมีงานศพ

 

 

บนผนังระหว่างช่องประตูและหน้าต่าง เป็นภาพอสุภกรรมฐาน 10 ประการ แสดงการเพ่งอสุภะ (ศพ) ในลักษณะต่างๆ. 

 

เอกสารอ้างอิง

 

ศักดิ์ชัย สายสิงห์.  (2556).  พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ : พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน.  กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

 

ติดตาม ไทยทัศนา ย้อนหลัง

 

ไทยทัศนา : (1) วัดเบญจมบพิตรฯ

ไทยทัศนา : (2) วัดสุวรรณาราม

ไทยทัศนา : (3) วัดราชโอรส

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog