ไม่พบผลการค้นหา
“จนกระทั่งโดนธนูปักที่เข่า”สำนวนใหม่ที่กำลังฮิตบนโลกไซเบอร์อยู่ในขณะนี้ ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ จนถึงกับมีการตั้งแฟนเพจที่ใช่ชื่อว่า “จนกระทั่งโดนธนูปักที่เข่า”

“จนกระทั่งโดนธนูปักที่เข่า”สำนวนใหม่ที่กำลังฮิตบนโลกไซเบอร์อยู่ในขณะนี้ ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ จนถึงกับมีการตั้งแฟนเพจที่ใช่ชื่อว่า “จนกระทั่งโดนธนูปักที่เข่า”

 

สำหรับที่มาของสำนวนนี้ มีที่มาจากเกมส์ "The Elder Scroll V : Skyrim"โดยตัวละครที่เป็นทหารยามแทบทุกเมืองที่ผู้เล่นผ่านด่านไปถึงจะพูดประโยคว่า "I used to be an adventurer like you... then i took an arrow in the knee." มีความหมายว่าเมื่อก่อนพวกเราก็เป็นนักล่าเหมือนคุณ จนกระทั่งโดนธนูปักที่เข่า ก็เลยมาเป็นยาม 

กล่าวคือ เป็นประโยคที่ตัวละครทหารในเกมส์ใช้แก้ตัว แบบน้ำขุ่นๆ ยกข้ออ้างแบบคนละเหตุคนละผล โดยใช้ตรรกะแบบผิดๆ ปัดให้พ้นๆทางไป หรือจะแปลไทยเป็นไทยได้ว่า “ข้าก็เคยเป็นนักผจญภัยเหมือนกันนะ แต่บังเอิญโดนธนูยิงเข้าไปที่เข่า ก็เลยต้องมาเป็นยามต๊อกต๋อยอยู่แบบนี้"

 

 

ผู้ที่เล่นเกมส์จึงหยิบยกสำนวนนี้ มาใช้เปรียบเปรยกับสถานการณ์ของตนเอง เพื่อกลบเกลื่อนเรื่องเลวร้าย จุดบกพร่องปมด้อย หรือเรื่องตรงข้ามจากดีมาเป็นร้าย มาใช้ในรูปแบบติดตลกเช่น

"เมื่อก่อนผมก็เคยหล่อนะ จนกระทั่งธนูปักหัวเข่า"

"ตลอดชีวิตนี้ผมไม่เคยขี้เกียจเลย จนกระทั่งธนูปักหัวเข่า"

"เมื่อก่อนเราเล่นฟุตบอลเก่งมาก จนกระทั่งธนูปักหัวเข่า"

 

จนกระทั่งสำนวนนี้แพร่หลายบนโลกออนไลน์ และมีนำมาใช่ต่อๆกัน บางคนใช้เป็น มุกเข้าข้างตัวเอง หลงตัวเอง ปลอบใจตัวเองอย่างน่ารักๆ หรือจะประชดประชันเสียดสี และแพร่หลายจนเป็นสำนวนฮิตที่ไม่ว่าใครต่อใครก็ต้องพูดสำนวน “จนกระทั่งธนูปักหัวเข่า”

 

อย่างไรก็ตาม มุมมองของนักภาษาศาสตร์ มองว่า การเกิดสำนวนใหม่ๆขึ้นมาถือเป็นการสะท้อนวัฒนธรรมและสภาพสังคมในช่วงเวลานั้น โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม สาขาวรรณศิลป์ กล่าวว่า การเกิดสำนวนใหม่เกิดขึ้นนั้น เป็นการสะท้อนสภาพสังคมและประสบการณ์ของผู้คนในสังคมช่วงนั้น และอย่างที่เห็นว่าอาจเป็นการที่คนบางกลุ่มคิดอะไรไม่ออก ก็ไปนำคำพูดที่นิยม หรือคำพูดในสังคมนั้นๆมาใช้ตามกัน จนเป็นการแพร่หลาย โดยอาจไม่ได้คำนึงถึงเรื่องหลักภาษามากนัก

 

"ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ที่สังคมจะมีคำศัพท์ใหม่ หรือประโยค หรือวลีใหม่ๆเกิดขึ้น เพราะสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของผู้คนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่การจะนำไปใช้ก็อยู่ที่ผู้ใช้ว่าจะเลือกเอาไปใช้อย่างไร แต่ถ้าไม่ได้ก่อให้เกิดเรื่องเสื่อมเสีย ก็ถือว่าไม่เกิดผลกระทบอะไร แต่ก็ยังอยากให้คำนึงสิ่งสำคัญ คือ ภาษาจะสะท้อนค่านิยม จากบรรพบุรุษมาจนถึงว่าเราเป็นใคร และก็ควรใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง แม้จะต้องปรับให้เป็นสากลมากขึ้น แต่ควรคำนึงเรื่องความถูกต้องเอาไว้ด้วย" ราชบัณฑิต เจ้าของตำนานรายการ "ภาษาไทยวันละคำ"ระบุ

 

ฉัตรชัย พ่วงภู่

ทีมข่าววอยซ์ทีวีออนไลน์ : รายงาน

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog