ไม่พบผลการค้นหา
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย มีมุมมองสะท้อนถึงชีวิต การทำงาน และคุณค่าของตัวตนแปรผันตรงกับผลงาน ตามติดกระแสภาพยนตร์เรื่อง "ฟรีแลนซ์...ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ"

Facebook  สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงภาพยนตร์ "ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ" โดย  #ทุกการเลือก_คือการแลก ชี้ให้เห็นว่า  ชีวิตฟรีแลนซ์ มันไม่ได้ชิล สบาย เป็นเจ้านายตัวเอง อย่างที่หลายๆคนวาดภาพ เพราะแม้ไม่มีเวลาเข้างาน-เลิกงาน แต่มี 'deadline' มาแทน  และลูกค้าคือพระเจ้า การไม่รับงานๆหนึ่งอาจหมายถึงโอกาสอื่นๆที่จะหลุดลอยไป ในเมื่อสังคมปัจจุบัน เงินคือตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ การเป็นฟรีแลนซ์ จะทำให้เรามีอิสระมากกว่าการเป็นมนุษย์เงินเดือนจริงๆหรือ ... หรือเราแค่จะก้าวออกจากเล้าไปเข้ากรงเท่านั้น?
      
ชีวิตมิติเดียว : คุณค่าของตัวตนแปรผันตรงกับผลงาน โดย ผื่นคันของพระเอก (คือ ยุ่น)  คือวิธีที่ชีวิตใช้เป็นสัญญาณเรียกร้องขอความสมดุลให้กับร่างกายที่จิตใจของเขาอาศัยอยู่ สำหรับยุ่น งานไม่ใช่แค่วิธีการหารายได้เพื่อยังชีพ แต่คือเครื่องยืนยันการมีอยู่ของเขา ผลงานที่เนี้ยบและทันเวลา คือเกณฑ์พิสูจน์คุณค่าของตัวเอง ดังนั้นเมื่อ 'ผลงาน' ไม่เป็นไปอย่างที่คิด 'ตัวตน' ก็สั่นคลอน

รวมทั้ง คำกล่าวเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่าง เวลา - สุขภาพ - เงิน ,หรือ เจ๋ - นาฬิกาที่มีชีวิตอีกเรือน และคนๆเดียวที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นเพื่อนสนิทของยุ่น และเมื่อเจ๋ ตัดสินใจแต่งงาน เธอแค่ไม่ได้ "เลือก"งาน อย่างที่ยุ่นเลือก มันคือความรู้สึกเคว้งคว้าง โดดเดี่ยว ที่ยุ่นสูญเสียเพื่อนสนิทที่มีอยู่คนเดียว ตอนที่ความตายเข้ามาสบตา คือตอนที่ยุ่นได้ทบทวนว่า เขาพลาดอะไรไปบ้าง หรือ อะไรกันแน่ที่สำคัญ คนเรามักจะมองเห็นสิ่งเหล่านั้นก็ต่อเมื่อชีวิตจะปลิดปลิว ความตายเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ได้ชวนโศกเศร้าเท่าไหร่ แต่เก้าอี้ว่างมากมายในงานศพนั่นต่างหากที่น่าใจหาย

ยุ่นเป็นแค่ตัวอย่างของคนๆหนึ่ง ที่ชีวิตห่างไกลจากคำว่าสมดุล ใครๆก็เป็นแบบนี้ได้ ไม่ว่าอาชีพไหน เราไม่อาจจะได้ทุกอย่าง ในเวลาเดียวกัน
เราไม่อาจจะได้ทุกอย่าง โดยไม่เสียอะไรไป ทุกการ "เลือก" คือการ "แลก"
           
ด้าน แบ๊งค์ งามอรุณโชติ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  และ ปรเมศร์ รังสิพล ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องแรงงานนอกระบบ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องฟรีแลนซ์ โดยชี้ให้เห็นว่า ในปี 2556 ประเทศไทยมีฟรีแลนซ์ถึง 111,983 คน หรือ 6% ของแรงงานที่จบปริญญาตรีขึ้นไป เป็นกลุ่มเจนเอ็กซ์ อยู่ที่กรุงเทพฯ และภาคกลาง มีรายได้ต่อเดือน 20,600 บาท และ 70% ของฟรีแลนซ์ไม่ได้เป็นผู้หารายได้คนเดียวในครอบครัว และมักมีสมาชิก 2-3 คนหารายได้ให้ครอบครัว รวมทั้งฟรีแลนซ์ทั่วไปไม่ได้รับสวัสดิการใดๆ ของรัฐ นอกจาก มาตรา 40 พ.ร.บ.ประกันสังคม หรือสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog