ไม่พบผลการค้นหา
นักวิทยาศาสตร์พบฟอสซิลอายุ 260 ล้านปี เผยเป็นเต่าตัวแรกของโลก แม้ไม่มีกระดอง แถมรูปร่างหน้าตายังคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน

นักวิทยาศาสตร์พบฟอสซิลอายุ 260 ล้านปี เผยเป็นเต่าตัวแรกของโลก แม้ไม่มีกระดอง แถมรูปร่างหน้าตายังคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน

 

ผลวิเคราะห์กะโหลกของสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Eunotosaurus africanus ซึ่งเคยมีชีวิตในพื้นที่ตอนใต้ของทวีปแอฟริกาเมื่อ 260 ล้านปีก่อน บ่งบอกว่า มันเป็นเต่าชนิดแรกสุดเท่าที่เคยพบ

 

ยูโนโทซอรัสถือกำเนิดขึ้นก่อนไดโนเสาร์ตัวแรกราว 30 ล้านปี

 

ยูโนโทซอรัส ตัวยาว 30 เซนติเมตร มีซี่โครงแบนและกว้าง ทำให้ลำตัวแลดูกลมป้อมคล้ายเต่า มันสืบทอดลักษณะต่างๆของสัตว์เลื้อยคลานจากบรรพบุรุษ ขณะเดียวกัน เริ่มมีรูปร่างหน้าตาบางอย่างคล้ายเต่า ซึ่งจะใช้เวลาอีกหลายสิบล้านปีต่อมาวิวัฒนาการจนกลายเป็นเต่า อย่างที่เราเห็นกันเจนตา

 

@  ภาพวาดยูโนโทซอรัส (ตัวหน้า) สัตว์เลื้อยคลานที่เชื่อมโยงกับเต่า จิ้งจกตุ๊กแก งู จระเข้ และนก (image credit: American Museum of Natural History, Mick Ellison)

 

เกเบรียล บีเวอร์ นักกายวิภาคของสถาบันเทคโนโลยีนิวยอร์ก บอกว่า ยูโนโทซอรัสมีผิวเป็นเกล็ด มีหางยาว และมีฟันเต็มปาก ลักษณะเหล่านี้หายไปเมื่อสัตว์เลื้อยคลานวิวัฒนาการเป็นเต่ามีกระดองเมื่อประมาณ 210 ล้านปีก่อน

 

นักวิทยาศาสตร์ถกเถียงกันมานานว่า ควรจัดมันไว้ในสายวิวัฒนาการของเต่าหรือไม่

 

ในแง่มุมกว้างกว่านั้น นักวิทยาศาสตร์ถกเถียงกันมาตลอดว่า เต่ามาจากไหน และเกี่ยวพันกับสัตว์เลื้อยคลานอย่างพวกจิ้งจกตุ๊กแก งู จระเข้ และนกในปัจจุบันอย่างไร

 

รายงานชิ้นนี้ตีพิมพ์ในนิตยสาร Nature.

 

Source: Reuters

Image credit: Smokeybjb via sci-news.com

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog