ไม่พบผลการค้นหา

Thailand

เสวนา "อากง" เหยื่อ 112
Dec 3, 2011
( Last update Dec 3, 2011 09:50 )
นักกฎหมาย มั่นใจกระบวนการยุติธรรมไทยมีปัญหา จากการพิพากษาจำคุก อากง 20ปี ในคดีหมิ่นเบื้องสูง พร้อมเรียกร้องให้มีการพิจารณาแก้ไข กฎหมายหมิ่นสถาบัน มาตรา 112

นักกฎหมาย มั่นใจกระบวนการยุติธรรมไทยมีปัญหา จากการพิพากษาจำคุก อากง 20ปี ในคดีหมิ่นเบื้องสูง พร้อมเรียกร้องให้มีการพิจารณาแก้ไข กฎหมายหมิ่นสถาบัน มาตรา 112

 

เครือข่ายประชาธิปไตย หรือ คปต. จัดเสวนา "อากง เหยื่อ 112" เพื่อวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินคดี sms อากง  ทนายความจำเลยในคดี กล่าวว่า ความยากของคดี sms อากง คือผู้เชี่ยวชาญด้านโทรศัพท์มือถือ ไม่กล้าให้การในชั้นศาล เนื่องจากไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับคดีหมิ่นสถาบัน ทำให้ประเด็นหักล้างคำฟ้องไม่หนักแน่นพอ จากการตรวจสอบในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ขณะนี้มีผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบันประมาณ 11คน พบว่าจำเลยส่วนใหญ่ในคดีหมิ่นสถาบัน มีความเชื่อมโยงกับการต่อต้านรัฐประหาร 2549 พร้อมเปิดเผยแง่มุมบางอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่า กระบวนการยุติธรรมไทยมีปัญหา

 

นักวิชาการด้านนิติศาสตร์มองว่า กระบวนการยุติธรรมไทยมีปัญหา โดยเฉพาะคดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูง เนื่องจากไม่อนุญาตให้จำเลยได้รับการประกันตัว เพื่อออกมารวบรวมพยานหลักฐานต่อสู้คดีนอกเรือนจำ นอกจากนี้ผู้พิพากษายังไม่สืบคดีจนสิ้นสงสัย ในหลายประเด็น พร้อมย้ำว่า "ตุลาการ" เป็นอีกสถาบันหนึ่งที่ต้องถูกตรวจสอบ

 

ส่วนทางออกกรณี sms อากง มีแนวทางหลักอยู่ 2 อย่าง คือการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลสูง เพื่อให้มีการตรวจสอบคำพิพากษาศาลชั้นต้น และการขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งแต่ละแนวทางมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน

 

ขณะที่ทางออกของมาตรา 112 คือจะต้องแก้ไขเนื้อหาหรือยกเลิก รวมทั้งต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้บังคับใช้กฎหมาย และผู้ใหญ่ที่มีบทบาททางสังคม ควรออกมาเคลื่อนไหวเรื่องการไขมาตรา 112  สุดท้ายหากไม่มีใครทำอะไร สถาบันกษัตริย์ควรลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง

 

นายอำพล ตั้งนพกุล วัย 61ปี หรือ อากง เป็นผู้ต้องหาในคดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เนื่องจากส่งข้อความสั้น หรือ sms ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมไปยังโทรศัพท์มือถือของเลขานุการส่วนตัวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ในช่วงวันที่ 9-22 พฤษภาคม 2553 รวม 4 ข้อความ

 

อากงให้การปฎิเสธตลอดการพิจารณคดี โดยอ้างว่าส่ง sms ไม่เป็น และจำไม่ได้ว่าร้านซ่อมโทรศัพท์มือถืออยู่ที่ไหน ขณะที่ฝ่ายโจทย์ไม่สามารถหาหลักฐานมาสนับสนุนการกระทำผิดของจำเลยได้ แต่ศาลก็มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ให้จำคุกอากง 20ปี โดยไม่รอลงอาญา

 

Produced by VoiceTV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog