ไม่พบผลการค้นหา
สังคมไทยทุกวันนี้ เราอาจไม่รู้ว่า เรากำลังตัดสินหรือพิจารณาใครจากภายนอก จากใครที่แปลกแยก หรือ ไม่ได้คิดอย่างที่เราคิด เราเป็น และขณะนี้ถูกสะท้อนผ่านออกมาทางโฆษณา รวมทั้งกรณีห้ามรับนักศึกษาระดับอาชีวะศึกษาจากมีรอยสัก และระเบิดหู

สังคมไทยทุกวันนี้ เราอาจไม่รู้ว่า เรากำลังตัดสินหรือพิจารณาใครจากภายนอก จากใครที่แปลกแยก หรือ ไม่ได้คิดอย่างที่เราคิด เราเป็น และขณะนี้ถูกสะท้อนผ่านออกมาทางโฆษณา รวมทั้งกรณีห้ามรับนักศึกษาระดับอาชีวะศึกษาจากมีรอยสัก และระเบิดหู

ตัวอย่างโฆษณาของผงซักฟอกยี่ห้อหนึ่ง ที่ผู้หญิงเริ่มทำงานสถาปนิกวันแรก แล้วเจอกับผู้ชายคนหนึ่งที่ภูมิฐาน ซึ่งคาดว่าเป็นหัวหน้า หรือ ผู้บริหารบริษัท แล้วทำหน้าแปลกใจที่ผู้หญิงคนนี้นั่งรถกระบะคันเก่าที่พ่อขับรถมาส่ง ทำให้เกิดการตั้งกระทู้ในโลกออนไลน์ สอบถามว่า โฆษณานี้มีจุดประสงค์ต้องการสื่อถึงอะไร นอกเหนือจากเสื้อขาวสะอาด ซึ่งอาจขัดแย้งกับรถกระบะของพ่อ 

 ส่วนโฆษณาของค่ายมือถือใครหนึ่งชุด"มือถืออะไรก็ได้มาแลกเป็น iPhone 6" เพื่อให้ลูกค้าสามารถซื้อ iPhone 6 หรือ iPhone 6 Plus และออกอากาศเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยแสดงถึงคุณสมบัติการใช้งานในฟังก์ชันเฉพาะของiPhone ทำให้มีการแสดงความคิดเห็นต่อภาพยนตร์โฆษณาดังกล่าวเป็นที่หลากหลายในวงกว้าง ว่าการใช้โทรศัพท์ยี่ห้ออื่นทำไมต้องหลบซ่อน หรือ แตกต่าง หรือเป็นเรื่องน่าอายที่ไม่ใช่ iPhone บางส่วนก็เห็นว่า อาจส่งเสริมให้คนคลั่งวัตถุนิยม ตัดสินคุณค่าของตัวเองจากสิ่งของที่ใช้ 

ทำให้ค่ายมือถือต้องถอดโฆษณาชุดนี้ และออกแถลงการณ์ขอโทษต่อโฆษณาชุดนี้ ทำให้หลายคนมองว่า การโฆษณาในยุคปัจจุบันต้องนำการทำตลาดแบบเชิงลบ เพื่อกระตุ้นให้กิจกรรมหรือแคมเปญดังกล่าวถูกพูดถึงหรือได้รับความสนใจจากคนส่วนมาก

รวมทั้งกรณีสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย มีมติไม่รับผู้ที่มีรอยสักและระเบิดหูเข้าเรียน ในปีการศึกษา 2559 ซึ่งนายจอมพงศ์ มงคลวนิช นายกสมาคมฯ ระบุว่า   ไม่ได้เป็นการปิดโอกาสทางการศึกษาแต่อย่างใด เพียงแค่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ รวมถึงความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้กับตัวนักศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครอง และสังคม

ล่าสุด นายอดินันท์ ปากบารา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เปิดเผยว่า ในวันที่ 13 สิงหาคมนี้ จะมีการหารือร่วมกับทางสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย เพื่อหาทางออกในเรื่องนี้  และยืนยันว่าเด็กหากอยากเรียนต้องได้เรียนอย่างแน่นอน

และก่อนหน้านี้ ดารานักแสดงหนุ่ม “แทค ภรัณยู โรจนวุฒิธรรม” ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในประเด็นของคนมีรอยสักว่า “คนมีรอยสักไม่ดีตรงไหน ทำไมชอบคิดว่าคนมีรอยสักเป็นคนไม่ดี ทำไมถึงชอบดูคนที่ภายนอก คนจะดีไม่ดีไม่ได้เกี่ยวกับรอยสัก”

ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2557 หลังนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา หรือ กอศ. ได้เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา หรือ สอศ. ได้จัดกลุ่มวิทยาลัยอาชีวะที่มีความเสี่ยงในการก่อเหตุทะเลาะวิวาทจำนวน 21 แห่งในกรุงเทพและปริมณฑล ตั้งเป็นกลุ่มอาชีวศึกษาพัฒนากำหนดให้เข้มงวดในการคัดเลือกผู้ที่จะมาเข้าเรียนในสายอาชีพ ต้องมีความตั้งใจจริง มีความประพฤติดี ไม่มีประวัติก่อเหตุทะเลาะวิวาท ไม่เจาะหู ไม่มีรอยสักตามร่างกาย และเมื่อเข้าเรียนแล้วต้องแต่งกายตามระเบียบอย่างเคร่งครัด

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog