ไม่พบผลการค้นหา
การนอนหลับนอกจากเป็นการพักผ่อนร่างกายแล้ว ท่านอนก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รวมทั้งการนอนไม่ถูกท่าอาจทำให้อาการเจ็บป่วยปวดเมื่อยมากขึ้น และอาจส่งผลให้นอนไม่หลับด้วย

การนอนหลับนอกจากเป็นการพักผ่อนร่างกายแล้ว ท่านอนก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รวมทั้งการนอนไม่ถูกท่าอาจทำให้อาการเจ็บป่วยปวดเมื่อยมากขึ้น และอาจส่งผลให้นอนไม่หลับด้วย

ท่านอนสำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยปวดเมื่อยตามร่างกาย

1. กรดไหลย้อน : นอนตะแคงซ้าย แขนยื่นไปด้านหน้า และงอเข่าขึ้นมาทางด้านส่วนบนของร่างกายเล็กน้อย 

การนอนตะแคงซ้ายจะทำให้แรงดันบริเวณที่ต่ำกว่ากล้ามเนื้อบริเวณหูรูดหลอดอาหารลดลง เมื่อแรงดันลดลง กรดในกระเพาะอาหารที่จะไหลย้อนขึ้นมาสร้างความระคายเคืองบริเวณหลอดอาหารก็จะลดลง แต่หากมีอาการแสบร้อนกลางหน้าอกมาก ควรเปลี่ยนเป็นท่านอนหงายแล้วใช้หมอนรองบริเวณใต้หน้าอกและศีรษะโดยต้องให้สูงกว่าลำตัวไม่เกิน 6 นิ้ว จะช่วยทำให้หลับสบายมากขึ้น 

 2. ปวดไซนัส : นอนตะแคง หนุนหมอนสูง และควรงอตัวและปล่อยขาตามสบาย 

          อาการไซนัสอักเสบหรืออาการไข้หวัดธรรมดา เป็นท่าที่ไม่ควรนอนหงายอย่างเด็ดขาด เพราะคุณอาจจะเกิดอาการสำลักในขณะนอนหลับและเป็นอันตรายได้  

3. ปวดประจำเดือน : นอนหงาย หนุนหมอนใต้เข่า 

          ช่วงมีประจำเดือนผู้หญิงหลายท่านมักมีอาการปวดท้อง การนอนหงาย เป็นท่าที่ดีที่สุด เพราะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะอยู่ในท่าทางที่สบายที่สุด และการหนุนหมอนใต้เข่า เป็นการช่วยไม่ให้กระดูกสันหลังอยู่ในลักษณะโค้งมากเกินไป เพราะจะส่งผลให้ปวดมากขึ้น แต่ไม่ควรนอนตะแคง เพราะจะทำให้น้ำหนักลงไปทับที่ข้างใดข้างหนึ่งและทำให้อาการปวดรุนแรงมากขึ้น 

4. ปวดฟัน : นอนหงาย และหงายหน้าขึ้น 

          เมื่อมีอาการปวดฟัน การนอนหงายจะช่วยทำให้ขากรรไกรของคุณผ่อนคลาย ลดอาการปวดได้ หากมีอาการนอนกัดฟันด้วย ควรนอนหงายและหงายศีรษะขึ้น จะช่วยลดอาการนอนกัดฟันได้ การนอนกัดฟัน หรือการเคี้ยวฟันขณะหลับ เป็นพฤติกรรมการนอนหลับที่ผิดปกติและมีความเชื่อมโยงกับความเครียด ความวิตกกังวลและการนอนหลับที่ผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดฟันและขากรรไกรได้ 

5. นอนกรนหรือมีอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ  : นอนตะแคงหรือนอนคว่ำ 

           คนที่นอนกรน ไม่ควรนอนหงาย เพราะจะยิ่งทำให้กรนได้ง่ายขึ้น และทำให้เกิดภาวะการหยุดหายใจขณะที่หลับได้ด้วย ดังนั้นคนนอนกรนควรนอนในท่าตะแคงหรือนอนคว่ำ  เพราะจะช่วยทำให้ไม่เกิดการปิดกั้นหลอดลมลดอาการนอนกรนได้
 

6. ปวดหลัง : นอนตะแคง หนุนหมอนที่ขา 

          คนที่มีอาการปวดหลัง ควรนอนตะแคงและงอเข่าเล็กน้อยและควรหนุนหมอนที่ระหว่างขา 2 ข้าง เพื่อให้สะโพกอยู่ในท่าที่ปกติ ลดอาการปวดหลัง ทำให้นอนหลับสนิท การนอนผิดท่าจะทำให้กระดูกสันหลังอยู่ในลักษณะที่ผิดปกติ อาจทำให้อาการปวดหลังหนักขึ้น 

7. ปวดไหล่ : นอนตะแคงในท่ากอด 

          การนอนตะแคงสามารถบรรเทาอาการปวดไหล่ที่มักเกิดจากการถือหรือสะพายกระเป๋าที่หนักจนเกินไป โดยเลี่ยงการนอนตะแคงในไหล่ข้างที่ปวดเพราะจะยิ่งทำให้ปวดมากขึ้น และงอขาเล็กน้อย ยื่นแขนออกไปทางด้านหน้าและกอดหมอนเอาไว้ ท่านี้จะช่วยทำให้ไหล่และแขนอยู่ในท่าทางที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด และเพื่อป้องกันการปวดหลัง ควรนำหมอนรองไว้ระหว่างขาด้วย 

8. ปวดคอ : นอนตะแคง 

          ผู้ที่มีอาการปวดคอ ควรนอนตะแคง และหนุนหมอนให้มีลักษณะพอดีกับไหล่ จะช่วยลดอาการปวดบริเวณคอ หากหนุนหมอนที่ต่ำกว่าไหล่จะทำให้ปวดคอมากขึ้น และไม่ควรนอนคว่ำ เพราะการนอนคว่ำต้องเอียงศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้อาการปวดมากขึ้นกว่าเดิม

          ผู้ที่มีอาการปวดตามร่างกายส่วนต่างๆ หากปรับเปลี่ยนท่านอนแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการเพื่อทำการรักษาต่อไป

เรียบเรียง : http://bottomlinehealth.comhttp://www.womenshealthmag.com/ , www.healththai.com

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog