ไม่พบผลการค้นหา
นักวิชาการ มศว เตือนก่อคอนกรีตกั้นหน้าประตูบ้านป้องกันน้ำท่วม ระวังแรงดันน้ำจนเกิดน้ำพุกลางบ้าน ชี้ปล่อยน้ำเข้าบ้านส่งผลเสียหายน้อยกว่า

นักวิชาการ มศว เตือนก่อคอนกรีตกั้นหน้าประตูบ้านป้องกันน้ำท่วม ระวังแรงดันน้ำจนเกิดน้ำพุกลางบ้าน ชี้ปล่อยน้ำเข้าบ้านส่งผลเสียหายน้อยกว่า

 

นายศุภชัย สินถาวร อาจารย์ประจำภาควิชาโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า ภาวะวิกฤติน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ประชาชนเริ่มก่อคอนกรีต ก่ออิฐบล็อกฉาบปูนไว้บริเวณประตูทางเข้าบ้าน ซึ่งบ้านแต่ละหลังกั้นสูงต่ำไม่เท่ากัน โดยเข้าใจกันว่าคอนกรีตอิฐบล็อกฉาบปูนสามารถกันน้ำท่วมบ้านได้ แต่ที่จริงแล้วไม่มีความรู้ในเรื่องฐานรากแต่อย่างใด

 

นายศุภชัยกล่าวว่า การก่ออิฐบล็อกสามารถกั้นน้ำได้ แต่แรงดันน้ำอาจทำให้พื้นบ้านพังเสียหาย ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการป้องกันน้ำท่วมบ้านด้วยการก่ออิฐบล็อกฉาบปูนควรจะมีความรู้เรื่องเสถียรภาพของคอนกรีตด้วย ซึ่งเสถียรภาพที่จะกั้นน้ำมีแค่ไหน ถ้าเรากั้นความสูงเพียง 30 เซนติเมตร บริเวณหน้าบ้านประตูทางเข้าก็พอจะกั้นได้ แต่ถ้าเราก่อคอนกรีตสูง 70 เซนติเมตร-1 เมตร ซึ่งความสูงมันเพิ่มขึ้น ก็ต้องวิเคราะห์โครงสร้างด้วย เพราะยิ่งเรากั้นใกล้ประตูทางเข้าบ้านและน้ำท่วมขังเป็นเดือนจะเริ่มมีปัญหา เพราะแรงดันน้ำจะดันพื้นภายในบ้านให้พังได้

 

"เนื่องจากบ้านที่อยู่อาศัยในเมืองไทยโครงสร้างไม่ได้คำนวณฐานรากที่จะรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น เราคำนวณฐานรากเพียงแค่รับน้ำหนักคน น้ำหนักข้าวของในบ้าน แต่ถ้ามีแรงดันน้ำเข้ามาเพิ่มมันจะดันพื้นในบ้านให้ทะลุ และในบ้านจะกลายเป็นน้ำพุ ซึ่งจะเสียหายมากกว่าการปล่อยให้น้ำเข้าบ้าน ดังนั้นจะก่อคอนกรีต-ก่ออิฐบล็อกเพื่อกันน้ำท่วมต้องพิจารณาให้ดีด้วย หากกั้นห่างจากตัวบ้านมากเท่าไหร่ก็จะเสี่ยงน้อยกว่า" อาจารย์ประจำภาควิชาโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ เผย

 

Source:thaipost/kerbyriders.wordpress.com(image)

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog