ไม่พบผลการค้นหา
ภาคประชาชน ลุยยื่นหนังสือ กสทช.ป้องกันการผูกขาดตลาดโทรคมนาคม จากดีลทรู-ดีแทค ปลุกยึดมั่นตามหลักการรัฐธรรรมนูญ ดูแลผลประโยชน์ประชาชน

วันที่ 29 ส.ค. 2565 กลุ่มพลเมืองเพื่อเสรีภาพในการสื่อสาร และสภาผู้บริโภค รวมตัวนัดหมายเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เพื่อให้พิจารณาการควบรวมธุรกิจระหว่าง “ทรู-ดีแทค” อย่างถูกต้องและเป็นธรรม

LINE_ALBUM_220829_4.jpg

โดยเนื้อหาหนังสือดังกล่าวกลุ่มพลเมืองเสรีภาพในการสื่อสาร ได้สะท้อนความกังวลกรณีเมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา กสทช.ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ในการพิจารณาการควบรวมธุรกิจครั้งนี้ อาจทำให้ประชาชนสับสนและเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า กสทช.มีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะองค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ โดยยินยอมให้ฝ่ายบริหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซง 

LINE_ALBUM_220829_1.jpg

ดังนั้นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 60 ที่ให้อำนาจ กสทช.กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม เพื่อสนับสนุนการแข่งขันเสรีที่เป็นธรรม และดูแลผลประโยชน์ประชาชน โดยผลการศึกษาของ กสทช.ชี้ว่า การควบรวมครั้งนี้จะทำให้ประชาชนต้องรับภาระค่าบริการที่เพิ่มขึ้น 2.03-244 % และอาจไม่มีการปรับราคาลดลง ที่มีการแข่งขันสูงเหมือนในอดีต และยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดขายส่งและขายปลีก ต่อเนื่องไปจนถึงผู้ให้เช่าสถานที่ จึงหวังว่า กสทช.จะทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งไม่ทำหน้าที่ ให้ผู้บริโภคและประเทศชาติเสียผลประโยชน์

หลังจากนั้น กลุ่มพลเมืองเพื่อเสรีภาพในการสื่อสารได้เดินหน้าต่อไปยัง สำนักงานการแข่งขันทางการค้า หรือ กขค. เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้สำนักงานดังกล่าว พิจารณาการควบรวมธุรกิจระหว่าง ทรูและดีแทค ซึ่งจะเป็นการควบรวมของบริษัทเอกชนทั้ง 2 บริษัท ประเทศแรกในโลก ที่มีการอนุญาตให้ควบรวมผู้ประกอบการรายใหญ่จาก 3 ราย เหลือ 2 ราย และการควบรวมธุรกิจดังกล่าวเป็นการผูกขาดตลาด ลดทางเลือกในการใช้บริการของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นทางเลือกด้านราคา ทางเลือกด้านบริการหลังการขาย และ ทางเลือกด้านคุณภาพการใช้บริการ 

เนื่องจากก่อนหน้านี้ กขค. มีความเห็นว่า กสทช. มีกฎหมายเฉพาะ สามารถพิจารณาการควบรวมดังกล่าวเองได้ เห็นว่าถ้าเป็นเรื่องใบอนุญาตบริการ คลื่นความถี่ และเรื่องทางเทคนิคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโทรคมนาคม เป็นหน้าที่ของ กสทช. ที่ต้องกำกับดูแล แต่ผลกระทบกับตลาดการแข่งขัน กขค. ย่อมไม่อาจปฏิเสธอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องเข้ามาพิจารณาควบคู่กับไปกับการพิจารณา ของ กสทช.  

S__7717092.jpg

ไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการณ์ เลขาธิการ กสทช. ให้ข้อมูลในกรณี ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดที่ สทช ๒๔๐๒/ ต่อ นายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็นในประเด็นข้อกฎหมายว่า “ถ้าทางคณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยพิจารณาต่อกรณีนี้ ก็จะเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของ กสทช ซึ่งจากการทำเรื่องส่งไปในครั้งที่แล้วทางกฤษฎีกาก็มีหลักเกณฑ์กลับมาว่าเรื่องอยู่ในศาล ครั้งนี้เราก็เลยทำเรื่องเข้าไปให้พิจารณาอีกครั้ง ผ่านทางนายกรัฐมนตรี ส่วนท่านจะสั่งการหรือยังไม่แน่ใจ ซึ่งคาดหวังอำนาจจากนายกรัฐมนตรี สั่งการให้คณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยตีความให้ ถ้าท่านอนุเคราะห์ให้เราในการตีความก็จะขอบคุณมาก เราเป็นองค์กรอิสระก็จริงแต่ก็อยากฟังความเห็นของหลายๆ ฝ่ายเพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ หากท่านฯ ตีตกกลับมาก็ไม่ได้กระทบกับเงื่อนเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ”