ไม่พบผลการค้นหา
ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองริมถนนที่ลดความระอุลง เพราะโฟกัสถูกมาอยู่กับ ‘การเมืองในระบบ’ มากขึ้น หลังกระแสการเลือกตั้งถูกกระพือ ไม่ว่า “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม จะชิงยุบสภาเมื่อใด แต่หากดูไทม์ไลน์แล้วนั้น รัฐบาลจะครบวาระปี 2566

หมายความว่าอย่างช้าการ “ยุบสภา” อาจเกิดขึ้นต้นปี 2566 เว้นแต่มี “อุบัติเหตุทางการเมือง” หรือ “เงื่อนไขการเมือง” ใดแทรกเข้ามา ระยะเวลาเพียง 1 ปีกว่าจากนี้ จึงต้อง “ปลุกมวลชน-ปูฐานเสียง-ลงพื้นที่” กันมากขึ้น

แต่ยังคงมีความเคลื่อนไหวทางการเมืองของผู้ชุมนุมปรากฎอยู่ ล่าสุด “กลุ่มทะลุแก๊ซ” ได้รีแบรนด์ใหม่เป็น “ภาคีปฏิวัติประชาชนไท” หรือ People’s Revolutionary Alliance โดยแสดงจุดยืนโค่นล้มการปกครอง และปลดปล่อยอีสาน ล้านนา ปาตานี 

ภาคีปฏิวัติประชาชนไท 8C32FB69-4CE8-4622-9C7D-ED7C53E4FD73.jpeg

ทั้งนี้ฝ่ายความมั่นคงไม่ได้มีความกังวลกับการเคลื่อนไหวดังกล่าวมากนัก โดย “บิ๊กแก้ว”พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผบ.ทหารสูงสุด มองว่า ยังคงเป็นระดับการใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นเท่านั้น พร้อมทั้ง “ขีดเส้นแบ่ง” เหตุการณ์ที่ “กองทัพ” จะต้องออกมา หากสถานการณ์ไปถึง “กบฏ-จราจล” ที่กระทบ “เอกราช-อธิปไตย” ดังนั้นการเคลื่อนไหวในขณะนี้ จึงให้เป็นหน้าที่ของ ตร. ดูแลเป็นหลัก

“แต่ถ้ามีกระบวนการไปกระทบเรื่องความมั่นคง และสุดท้ายปลายทางกระทบเอกราช อธิปไตย ก็เป็นหน้าที่ของกองทัพที่จะดำเนินการ” พล.อ.เฉลิมพล กล่าว

“ถ้ายึดถือกันตามหน้าที่แล้วนั้น หน้าที่ทหารก็คือปราบปรามกบฏและจราจล ถ้ามีกบฏ ถ้ามีจลาจล เป็นหน้าที่ทหาร แต่ถ้ายังไม่ถึง ตร.ก็ดูแล และถ้าขอบเขตนั้นกว้างขวาง ไม่ถึงกบฏ ไม่ถึงจราจล ทหารอาจถูกขอให้ไปเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงาน” พล.อ.เฉลิมพล กล่าว

ฝ่ายความมั่นคงยังมองว่า เป็นการ “ปรับรูปแบบ” กันภายในของกลุ่มทะลุแก๊ซ หลังการเคลื่อนไหวไร้แกนนำที่ชัดเจน นำมาสู่การถูกจับกุมและปะทะกับ ตร. ได้รับบาดเจ็บทั้ง 2 ฝ่าย โดยการปรับทัพครั้งนี้ คาดว่ามาจากกลุ่ม “สายเด็กช่าง” กับ “สายราม” ในขบวนการเคลื่อนไหว โดยขายชุดความคิด “ปลดปล่อยท้องถิ่น” ตามความเชื่อของ “ขบวนการ” ในการชู “อัตลักษณ์ท้องถิ่น” ซึ่ง “กลุ่มนักศึกษา” ที่อยู่ในขบวนการ ต่างเติบโตมาจากภูมิภาคต่างๆ ที่เข้ามาเรียนใน กทม. ถือเป็นการ “ปรับภาพลักษณ์” ของกลุ่มไปด้วย ทั้งนี้ฝ่ายความมั่นคงยังคงจับตาดูความเคลื่อนไหวต่อไป

เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ _58146823.jpg

(พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผบ.ทสส.)

ด้านกลุ่ม “ราษฎร” กลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง โดยนัดหมาย 31 ต.ค.นี้ เพื่อรำลึก 15 ปี “นวมทอง ไพรวัลย์” ซึ่งขับรถแท๊กซี่ชนรถถัง เพื่อต่อต้านการรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ในยุค คมช. ก่อนตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง 31ต.ค.49 ที่สะพานลอยหน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ถ.วิภาวดีฯ 

โดยในจดหมายลาตายของ “นวมทอง” ตอนหนึ่งระบุว่าต้องการลบคำสบประมาทของ พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ รองโฆษก คมช. ที่ว่า "ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้"

ซึ่งการเคลื่อนไหวของ “กลุ่มราษฎร” ครั้งนี้ นอกจากครบรอบ 1 ปี กลุ่มราษฎร ยังถูกมองว่าเป็น “ภาคต่อ” จากกลุ่มคาร์ม็อบของ “เต้น-ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” เลขาธิการ นปช. ที่จัดครบรอบ 15 ปี รัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ไปเมื่อเดือนก่อน หนึ่งในกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์คือ “เต้น-ณัฐวุฒิ” ขับรถแท๊กซี่ชน “รถถังจำลอง” กลางแยกอโศก ก่อนจัด “คาร์ม็อบ-คาร์ปาร์ก” ไปตามถนน ผ่านมา 1 เดือน “กลุ่มคาร์ม็อบ” ได้นิ่งเงียบไป เพราะด้วยเหตุผลโควิดระบาด

แม้ว่า “กองทัพ” จะนิ่ง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยตรง แต่ภายในมีความเคลื่อนไหวที่สำคัญ โดยเฉพาะ ทบ. หลัง “บิ๊กบี้”พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ. จัดโผโยกย้าย “ผู้พัน” 337 นาย ที่ย้ายทั้งหน่วยทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ สื่อสาร ทหารช่าง รบพิเศษ และทุกกองทัพภาค ที่สำคัญย้ายระดับ “กองพันหลัก” เป็นจำนวนมาก

การย้ายเช่นนี้ในอดีตมักถูกตีความโยงไปถึงการเตรียมทำ “รัฐประหาร” แต่ในยุคนี้การทำรัฐประหารมี “เงื่อนไข-ปัจจัย” แตกต่างจากอดีต

ซึ่งได้รับการยืนยันว่า “โผผู้พัน” ครั้งนี้ เป็นเพียงการ “ปรับภายใน ทบ.” เท่านั้น แต่การโยกย้ายไม่ได้มีเพียง “ขุมกำลังหลัก” แต่รวมถึง “หน่วยสนับสนุน-อำนวยการ” ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการ “ย้ายระนาบ” ในการสลับตำแหน่งกัน จึงทำให้ “โผผู้พัน” ดังกล่าว เป็นที่พูดกันอย่างมากใน ทบ. และเหล่าทัพอื่นๆ ถึงการขยับใหญ่ครั้งนี้

ณรงค์พันธ์ เฉลิมพล กองทัพบก ทหาร 23_06.jpg

สำหรับหนึ่งในหน่วยที่มีการโยกหลายตำแหน่งคือ พล.ร.2 รอ. และ ร.21 รอ. สาย “บูรพาพยัคฆ์-ทหารเสือฯ” ซึ่งเป็นหน่วยของ ทภ.1 ที่มี “บิ๊กโต”พล.ท.สุขสรรค์ หนองบัวล่าง เป็น “แม่ทัพภาคที่ 1” จึงต้องติดตามการ “จัดขุนพล” ของ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ต่อไป ที่ยังอยู่ในเก้าอี้ ทบ.1 อีก 2 ปี จากนี้ด้วย

ในส่วน “กองทัพเรือ” สัญญาณแห่งความระอุได้เริ่มขึ้น หลัง “บิ๊กเฒ่า”พล.ร.อ.สมประสงค์ นิลสมัย ผบ.ทร. ทำการ “รื้อต้นไผ่” ที่ปลูกในยุค “บิ๊กลือ”พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผบ.ทร. ในพื้นที่ บก.ทร.วังเดิม-วังนันทอุทยาน โดยให้เหตุผลว่าเพื่อปรับภูมิทัศน์ หลังต้นไผ่ปลูกมา 3 ปี ขึ้นสูง ไม่เกี่ยวมีเรื่อง “ความขัดแย้ง” ใดๆทั้งสิ้น พร้อมยืนยันไม่มีคำสั่งให้ถอนต้นไผ่ในหน่วยต่างๆออก

หลังมีการมองว่า พล.ร.อ.สมประสงค์ เคยถูกโยกออกนอก ทร. เมื่อ 2 ปีก่อน ในยุค พล.ร.อ.ลือชัย ไปยังกลาโหม ในตำแหน่ง รองปลัดกลาโหม ทำให้ “หลุดไลน์ ผบ.ทร.” ก่อนได้โยกกลับ ทร. อีกครั้ง ด้วยแรงสนับสนุน เพื่อน ตท.20 ขึ้นเป็น ผบ.ทร. ก่อนเกษียณฯ 1 ปี

ผบ.ทร. ลือชัย กองทัพเรือ ชาติชาย ศรีวรขานกองทัพเรือ B-5EDB9283E436.jpegกองทัพเรือ 3DFC004B-CCB0-4A72-8717-5D4081D62C6E.jpeg

เหตุการณ์ “รื้อต้นไผ่” ถูกนำไปเปรียบเทียบกับ ทบ. ในอดีต ยุค “บิ๊กหมู”พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ขณะขึ้นเป็น ผบ.ทบ. ได้ทำการทุบกำแพง ปิดบ่อน้ำพุ ใน บก.ทบ.ราชดำเนิน ที่สร้างในยุค “บิ๊กโด่ง”พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร อดีตผบ.ทบ. คนก่อนหน้า ชนิดที่ว่าชัดเจนใน “ความขัดแย้ง” ใน ทบ. ยุคนั้น ตามมาด้วยการ “ล้างบาง” ผ่านโผโยกย้าย “ผู้พัน-นายพล” ด้วย

ดังนั้นเหตุการณ์ใน ทบ. เมื่อครั้งอดีต จึงถูกมองว่า ทร. จะเดินซ้ำรอยหรือไม่ โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้ายที่ พล.ร.อ.ลือชัย ดันคนสายตัวเองขึ้นมาเป็น “ทายาท” ใน ทร. ตามทฤษฎี “เลือกไข่ในตระกร้า” ที่รู้กันในรั้ว ทร. จึงต้องดูว่า พล.ร.อ.สมประสงค์ จะจัดการกับ “ไข่ในตระกร้า” ที่ถูกเลือกอย่างไร

รอยร้าวใน “กองทัพ” เปรียบเป็น “ระเบิดเวลา” ที่ตอกย้ำแนวคิด “ยุคใครยุคมัน” ไม่ต่างจากม็อบบนถนนที่วันนี้แผ่วลง แต่ของอย่างนี้ก็ “ทีใครทีมัน” เช่นกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปริศนา ลายพราง
164Article
0Video
39Blog