ไม่พบผลการค้นหา
คนไทยมีแนวโน้มมีภาวะไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะผู้ที่นิยมรับประทานอาหารจานด่วนแบบตะวันตก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง

คนไทยมีแนวโน้มมีภาวะไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะผู้ที่นิยมรับประทานอาหารจานด่วนแบบตะวันตก ซึ่งอาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ซึ่งถ้าบริโภคเป็นประจำ จะส่งผลให้เกิดโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูงและจะพัฒนาเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมะเร็งในทางเดินอาหารได้

การวิจัยเพื่อตรวจหาศักยภาพของผัก พบว่าการนำพืชผักบางชนิดมาเป็นส่วนประกอบของอาหารสามารถช่วยลดไขมันในเลือดได้ เช่น

พริกไทยดำ มีสารไปเปอรีนสามารถลดการซึมผ่านของโคเลสเตอรอลจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด

ข่า มีน้ำมันหอมระเหยและ ชาดำ มีสารกลุ่มแทนนินช่วยต้านกระบวนการย่อยสลายไขมันในลำไส้ของเอนไซม์ไลเปสจากตับอ่อน ทำให้ไขมันที่บริโภคไม่สามารถดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้ และถูกขับออกมากับกากอาหารอื่น

เหง้าขิง มีสารสำคัญกลุ่มน้ำมันหอมระเหยและยางเรซิน สามารถลดโคเลสเตอรอลได้ แต่ไม่มีผลลดระดับไตรกลีเซอไรด์

ใบมะรุม และผลมะระขี้นก ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ เช่นเดียวกับยาลดไขมันกลุ่มสแตติน เช่น พราวาสแตติน ทำให้การสังเคราะห์โคเลสเตอรอลในร่างกายลดลง

พริกชี้ฟ้า มี สารสีแดงกลุ่มแคโรทีนอยด์ทำให้ระดับไขมันชนิดดีในสัตว์ทดลองสูงขึ้น

ใบผักบุ้ง ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ของหนูแรทที่ทำให้มีไขมันสูงได้ทั้งในเลือด ตับ ไต และหัวใจอย่างมีนัยสำคัญ

ใบตะไคร้ จากการทดลองให้หนูทดลองกินน้ำต้มใบตะไคร้ นาน 42 วัน พบว่า ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดและไขมันชนิดไม่ดีลดลงตามขนาดที่กิน 

กระเทียมสด มีสารอัลลิซินและอะโจอินใน มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างสารโคเลสเตอรอลในร่างกายและมีฤทธิ์ต้านการก่อไขมันอุดตันในหลอดเลือดได้

มะเขือเทศ มีไลโคปีนสูง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสามารถลดระดับไขมันชนิดเลวได้ดี

ลูกเดือย มีสารกลุ่มโพลีฟีนอล ซึ่งออกฤทธิ์ลดโคเลสเตอรอล ต้านอนุมูลอิสระ และลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ที่มา : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog