ไม่พบผลการค้นหา
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดบรรยายทางวิชาการหัวข้อ "อ่านบางระจัน ประวัติศาสตร์กับนวนิยาย ชาตินี้เราจะรักกันจนตาย" โดยเชิญนักวิชาการและนักวิจารณ์วรรณกรรมมาพูดคุยกับแลกเปลี่ยนกับนักศึกษา ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ทำไม 'พม่า' ถึงถูกผลิตซ้ำให้เป็นศัตรูของสยามในนวนิยายหรือสื่อต่างๆ เรื่อยมา เช่น บางระจัน

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดบรรยายทางวิชาการหัวข้อ "อ่านบางระจัน ประวัติศาสตร์กับนวนิยาย ชาตินี้เราจะรักกันจนตาย" โดยเชิญนักวิชาการและนักวิจารณ์วรรณกรรมมาพูดคุยกับแลกเปลี่ยนกับนักศึกษา  ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ทำไม 'พม่า' ถึงถูกผลิตซ้ำให้เป็นศัตรูของสยามในนวนิยายหรือสื่อต่างๆ เรื่อยมา เช่น บางระจัน 

ประเด็นนี้ผู้บรรยายมองว่า เหตุผลที่พม่าถูกสร้างเป็นตัวร้ายของเรื่อง เนื่องจาก มีความสมน้ำสมเหนือ ลาวหรือกัมพูชาอาจจะเล็กไป ในขณะที่ชาติยุโรปอาจจะใหญ่ไป ทั้งๆที่ความจริงแล้ว ศัตรูในสังคมสมัยใหม่คือชาติตะวันตกเสียมากกว่า

อาจารย์อาทิตย์ ศรีจันทร์ บอกว่า การสร้างบทบาทผู้ร้ายในสื่อ เป็นการสร้างผู้ร้ายร่วมกัน เพื่อสร้างความรักความสามัคคีในกลุ่มของคนตนเอง ซึ่งเป็นลักษณะร่วมของสื่อทั่วโลก เช่น หนังฮอลลีวูดที่แน่นอนว่า บทบาทพระเอกของเรื่อง คือ ฮีโร่ชาวอเมริกัน ส่วนผู้ร้ายคือกลุ่มก่อการร้ายมุสลิม หรือชาติเกาหลีเหนือ

แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วงที่สุด นอกเหนือจากการผลิตซ้ำนวนิยายแนวไทยรบพม่า ในขณะที่ประเทศไทยจะควบรวมเป็นอาเซียน คือ การสร้าชาติเพื่อนบ้านให้เป็นผู้ร้ายหรือคนใช้ 

อาจารย์อาทิตยทิ้งท้าย ยังเชื่อว่าประชาชนยังเสพสื่ออย่างมีวิจารณญาณและสามารถแยกแยะได้ ส่วนละครเรื่องบางระจันเวอร์ชั่นล่าสุด ก็เห็นได้ชัดว่ามีการสร้างคาแรคเตอร์ที่มีไว้สำหรับประนีประนอมระหว่างไทยและพม่าโดยเฉพาะด้วย

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog