ไม่พบผลการค้นหา
กสทช. เผยเชื้อโควิด-19 ดันยอดใช้งานสื่อออนไลน์เพิ่มสูง ในเดือน ก.พ. ทำ 4 แอปฯ โตก้าวกระโดด หลังคนแห่ใช้ช่องทางออนไลน์ ติดตามข่าวสารและสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเลี่ยงเดินทางไปที่ชุมนุมชน

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า รายงานแอปพลิเคชัน พฤติมาตร หรือแอปพลิเคชันสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ โดยสำนักงานกสทช. ในปี 2563 พบว่าเดือน ก.พ. 2563 มีประชาชนมีการใช้งาน 4 แอปพลิเคชันยอดนิยม เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไลน์และยูทูบ และการสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นจากเดือน ม.ค. เกินร้อยละ 80

ทั้งนี้จาก 4 แอปฯ ที่กลุ่มตัวอย่างใช้งานมากที่สุด ได้แก่ เฟซบุ๊ก ทวิตเอร์ ไลน์ และยูทูบ นั้น เดือน ม.ค. 2563 มียอดการใช้งานเฟซบุ๊กอยู่ที่ 352.05 เมกกะไบต์ ต่อคนต่อวัน ยอดใช้ทวิตเตอร์ 21.47 เมกกะไบต์ ต่อคนต่อวัน, แอปฯ ไลน์ 23.95 เมกกะไบต์ ต่อคนต่อวัน และยอดการเข้าใช้ยูทูบ 401. 28 เมกกะไบต์ต่อคนต่อวัน ขณะที่เดือน ก.พ. 2563 มียอดการใช้งานเฟซบุ๊ก 682.29 เมกกะไบต์ ต่อคนต่อวัน, ทวิตเตอร์ 78.68 เมกกะไบต์ ต่อคนต่อวัน, ไลน์ 60.90 เมกกะไบต์ ต่อคนต่อวัน, ยูทูบ 731.11 เมกกะไบต์ ต่อคนต่อวัน เมื่อเปรียบเทียบการใช้งานทั้ง 4 แอปฯ ในเดือน ก.พ. 2563 กับเดือน ม.ค. 2563

เลขาธิการกสทช. กล่าวอีกว่า เดือน ก.พ. 2563 แอปฯ ทั้ง 4 มีการใช้เพิ่มขึ้น โดยเฟซบุ๊ก มีการใช้งานเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 93.80, ทวิตเตอร์ มีการใช้งานเพิ่มขึ้นร้อยละ 266. 43, ไลน์ ใช้งานเพิ่มขึ้นร้อยละ 154.26 และยูทูบ มีการใช้งานเพิ่มขึ้นร้อยละ 82.19

สำหรับแอปพลิเคชันที่เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าออนไลน์ พบว่าผู้ใช้งานแอปฯ ลาซาด้า ในเดือน ม.ค. 2563 อยู่ที่ 3.78 เมกกะไบต์ ต่อคนต่อวัน เดือน ก.พ. 2563 มีการใช้งานอยู่ที่ 8.37 เมกกะไบต์ต่อคนต่อวัน โดยเดือน ก.พ. มีการใช้งานเพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค. ร้อยละ 121. 529 การใช้งานแอปฯ Shopee เดือน ม.ค. อยู่ที่ 7.17 เมกกะไบต์ต่อคนต่อวัน เดือน ก.พ. 2563 มีการใช้งานเพิ่มขึ้นเป็น 41.48 เมกกะไบต์ ต่อคนต่อวัน โดยเดือน ก.พ. มีการใช้งานเพิ่มขึ้นจากเดือนม.ค.ร้อยละ 478.59

ทั้งนี้คาดว่าสาเหตุที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานพฤติกรรมพฤติมาตรเพิ่มสูงขึ้นมาจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังตัวหลีกเลี่ยงการเดินทางไปพื้นที่ที่มีผู้คนหนาแน่น เช่น ห้างสรรพสินค้า โดยประชาชนที่มีความกังวลจะออกจากบ้านน้อยลงและใช้การติดต่อสื่อสาร รวมถึงการรับชมข้อมูลข่าวสารความรู้และความบันเทิงผ่านช่องทางออนไลน์ และแอปพลิเคชันในการอำนาจความสะดวกในการซื้อขายสินค้าเพิ่มมาขึ้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและลดความเสี่ยง รวมถึงแนวโน้มที่องค์กรต่างๆ จะให้พนักงานทำงานที่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงในการเดินทางซึ่งจะทำให้ความจำเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องไปด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :