บทบาทสื่อโทรทัศน์ในปัจจุบันยังคงขาดรายการสร้างสรรค์สังคม และยังคงมีภาพรุนแรงที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจความหมายสัญลักษณ์เรตติ้ง
ทำให้หน่วยงานโทรทัศน์ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมหาทางออกให้บทบาทโทรทัศน์สร้างสังคมให้น่าอยู่
บทบาทสื่อโทรทัศน์ในปัจจุบันยังคงขาดรายการสร้างสรรค์สังคม และยังคงมีภาพรุนแรงที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจความหมายสัญลักษณ์เรตติ้ง ทำให้หน่วยงานโทรทัศน์ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมหาทางออกให้บทบาทสื่อโทรทัศน์สร้างสังคมให้น่าอยู่ ติดตามรายงานได้จากคุณพรทิพย์ โม่งใหญ่
คณะกรรมธิการการพัฒนาสังคม วุติสภา ประชุมร่วมกับตัวแทนภาคีเฝ้าระวังสื่อ ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ และละคร เพื่อหารือสัดส่วนเวลาออกอากาศของรายการแต่ละประเภท และละครที่มีฉากรุนแรง หรือมีภาพไม่เหมาะสม
คณะกรรมธิการการพัฒนาสังคม วุติสภา เรียกตัวแทนผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง ผู้บริหารบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ ผู้ผลิตละคร พร้อมด้วยภาคีเฝ้าระวังสื่อ ร่วมประชุมแนวทางบทบาทสื่อโทรทัศน์ เพื่อกำหนดสัดส่วนเวลาออกอากาศของรายการแต่ละประเภท และละครที่มีฉากรุนแรง หรือมีภาพไม่เหมาะสม
ตัวแทนหน่วยงานเฝ้าระวังสื่อ กล่าวว่า รายการและละครที่มีการเผยแพร่ในปัจจุบันยังมีภาพการข่มขืน และการแต่งกายล่อแหลม ก่อให้เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรงได้ โดยผู้ประกอบการหวังผลการสร้างเรตติ้งจากภาพเหล่านี้มากกว่าการสร้างสรรค์สังคม ถึงแม้ว่าจะมีพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 และพระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ควบคุมแล้วก็ตาม
ผู้บริหารบริษัททีวีบูรพา จำกัด ผู้ผลิตรายการสารคดี กล่าวว่า รายการโทรทัศน์ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับผลกำไรของธุรกิจ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์เคเบิ้ล 100 กว่าช่อง ที่ไม่ได้ควบคุมมาตรฐานการออกอากาศ ส่งผลให้สังคมเกิดปัญหาจากบทบาทสื่อ โดยรายการสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์เชิงบวกก็ยังเป็นที่ต้องการของประชาชน แต่ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกและจริยธรรมของผู้ประกอบการสื่อว่าจะทำเพื่อสังคมหรือเพื่อกำไร
นอกจากนี้ที่ประชุมยังเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือกสทช. จัดตั้งงบประมาณ500-1,000 ล้านบาท เพื่อเป็นกองทุนผลิตรายการสร้างสรรค์สังคม ให้กับผู้ผลิตรายการที่มีต้นทุนต่ำ แต่ต้องการทำรายการเพื่อสังคม โดยปัจจุบันผังรายการสาระความรู้เพื่อเยาวชนและสังคมมีไม่ถึงร้อยละ 20 ของรายการโทรทัศน์ทั้งหมด ส่วนรายการเพื่อเยาวชนมีช่วงเวลาการออกอากาศที่ไม่เหมาะสม และยังขาดรายการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
Produced by VoiceTV