ไม่พบผลการค้นหา
ปลาดึกดำบรรพ์ เจ้าของฉายา ‘ไดโนเสาร์มีชีวิต’ ติดอวนที่รัฐนิวเซาท์เวลส์ เผยเป็นปลาก้นสมุทร เกลียดแสงแดด จึงควบฉายา ‘ฉลามแวมไพร์’ เตรียมส่งซากจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์

ปลาดึกดำบรรพ์ เจ้าของฉายา ‘ไดโนเสาร์มีชีวิต’ ติดอวนที่รัฐนิวเซาท์เวลส์ เผยเป็นปลาก้นสมุทร เกลียดแสงแดด จึงควบฉายา ‘ฉลามแวมไพร์’ เตรียมส่งซากจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์

 

ปลาชนิดนี้มีชื่อสามัญว่า ฉลามก็อบลิน (Goblin shark) โดยทั่วไปอาศัยอยู่ในระดับความลึกราว 1,200 เมตร จึงแทบไม่มีใครได้เคยเห็น

 

 

เจ้าตัวนี้ติดอวนในบริเวณใกล้กับแหลมกรีนเคป นอกฝั่งเซาท์โคสต์ ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ชาวประมงสองพ่อลูก ล็อกเลน เคลลี วัย 22 กับบิดาชื่อ ไมค์  ได้ตัวมันที่ความลึกแค่ 609 เมตร แล้วพาเข้าฝั่งที่เมืองเมริมบูลา

 

ด้วยความที่เป็นปลาน้ำลึก อาศัยอยู่ในความมืดที่ก้นทะเล มันจึงไม่ชอบแสง จึงได้ฉายาว่า ฉลามแวมไพร์

 

 

เจ้าปลาหน้าตาชวนหลอนชนิดนี้ มีท้องพลุ้ยสีชมพู ครีบสีเทา จมูกแหลม มีซี่ฟันคมเรียงเป็นแถวสั้นๆ

 

ที่เมืองเมริมบูลา ไมเคิล แม็กมาสเตอร์ ภัณฑารักษ์ประจำสวนน้ำวอร์ฟอะควอเรียม กับอลัน สกริมเกอร์ จากศูนย์การค้นพบทางทะเลแซฟไฟร์โคสต์ ช่วยกันศึกษาเจ้าฉลาม ซึ่งเป็นชนิดสุดท้ายในวงศ์ Mitsukurinidae ปลาในวงศ์นี้ปรากฏขึ้นบนโลกเมื่อ 125 ล้านปีก่อน

 

 

ทั้งสองลงความเห็นว่า มันมีอายุ 2-3 ปี เพราะตัวค่อนข้างเล็ก ลำตัวยาวเพียง 1.2 เมตร ฉลามก็อบลินที่โตเต็มที่นั้นจะมีขนาด 3-4 เมตร

 

 

ซากของมันจะถูกส่งไปจัดแสดงที่ออสเตรเลียน มิวเซียม ในเมืองซิดนีย์.

 

 

Source: Daily Mail ; The Sydney Morning Herald

Video: Epic Wildlife

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog