อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย แนะวิธีแก้ปัญหาทางเท้าอย่างยั่งยืน ด้วยแนวทาง สมาร์ท โกรธ์ (Smart Growth) โดยชี้ว่า กิจกรรมบนทางเท้าคือตัวสร้างเศรษฐกิจของเมืองใหญ่ ขณะที่การเคลียร์หาบเร่แผงลอย เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
ทางเท้าอันกว้างขวาง ในย่านชานเมืองของมหานครนิวยอร์ก ถูกยกเป็นตัวอย่างของการจัดระเบียบพื้นที่สาธารณะ ที่เอื้อต่อวิถีชีวิตคนเมือง ที่สำคัญคือไม่ละเลยกิจกรรมบนทางเท้า เช่น การตั้งร้านค้า หรือ ปรับแต่งภูมิทัศน์ ตลอดจนวางโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นระเบียบ
อุปนายกสมาคมการผังเมือง สะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ด้วยแนวทาง Smart Growth ในเมืองใหญ่ทั่วโลก ไม่ได้มอง ร้านค้าบนฟุตบาท เป็นอุปสรรคของทางเท้า หากคือ ตัวสร้างสีสันให้ชุมชนเมือง และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้สังคม
นี่คือ สีลม เป็นพื้นที่ใจกลางเมือง ที่มีประชากรหนาแน่น แปรผันตรงกับ ความต้องการอาหารและสินค้า ตามหลักกลไลตลาด ในมุมมองผู้นักวิชาการผังเมือง จึงมองว่า การรื้อถอนร้านค้าออกพื้นที่ จนคนไม่สามารถเดินไปใช้บริการได้ คือความล้มเหลวในการแก้ปัญหา
เพราะฉะนั้น แทนที่จะรื้อถอนแผงค้า ผู้บริหารเมืองควรจัดการพื้นที่ค้าขาย ให้มีขนาด ปริมาณ ความหมาย และที่ตั้ง ที่ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับจำนวนประชาชน โดย กลไลที่สามารถทำได้ เช่น การออกกฎระเบียบ การกำหนดภาษี และการวางผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ
นี่คือแผนภูมิที่กำหนดรายละเอียดการใช้ที่ดิน กิจกรรม อาคาร ตลอดจนระบบการสัญจรเชื่อมโยง ระหว่างเมือง ย่าน และภายในย่าน ที่ใช้สำหรับการวางผังและออกแบบชุมชนเมือง
นักวิชาการผังเมือง ชี้ให้เราเห็นว่า ยิ่งเข้าใกล้ใจกลางเมือง พื้นที่ทางเท้ายิ่งได้รับความสำคัญ เช่น ถูกสร้างให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก และมีระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างเมืองแห่งการเดิน ซึ่งล้วนแนวทางการแก้ปัญหาทางเท้าอย่างยั่งยืน โดยเริ่มต้นจากต้นเหตุของปัญหา และเข้าใจลักษณะพื้นฐานของเมือง และที่สำคัญคือการหันหน้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างผู้บริหารเมือง ผู้ประกอบการ เจ้าของอาคารและที่ดิน ตลอดจนประชาชนทุกคน