ไม่พบผลการค้นหา
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พัฒนานวัตกรรมการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยการใช้ความร้อนบำบัดเป็นครั้งแรกในอาเซียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยมะเร็งให้มีชีวิตยาวนานขึ้น
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พัฒนานวัตกรรมการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยการใช้ความร้อนบำบัดเป็นครั้งแรกในอาเซียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยมะเร็งให้มีชีวิตยาวนานขึ้น
 
การใช้ความร้อนจากเครื่อง Oncothermia ร่วมกับการใช้สารเคมีหรือ คีโม คือวิธีการบำบัดรักษามะเร็งแนวใหม่ ที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ทดลองใช้เป็นครั้งแรกในอาเซียน 
 
คลื่นความร้อน อุณหภูมิประมาณ 42-43 องศาเซลเซียส จะส่งตรงไปยังจุดที่เป็นมะเร็งในร่างกาย ทำให้เซลล์มะเร็งโดยไม่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งผลการศึกษาในเบื้องต้นพบว่า สามารถใช้วิธีนี้เป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ ทำให้อัตราการอยู่รอดมีสูงขึ้น และยังลดโอกาสเกิดโรคซ้ำ
 
นายแพทย์สมชาย ธนะสิทธิชัย หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า ผลการใช้เครื่อง Oncothermia พบว่า ร้อยละ 22 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ระยะที่ 3 ในกลุ่มทดลอง ตอบสนองต่อการรักษาจนก้อนมะเร็งยุบหายหมด 
 
และพบว่า ร้อยละ 25 ของผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายในกลุ่มทดลอง มีระยะเวลาเฉลี่ยของการมีชีวิตรอดประมาณ 15 เดือน ส่วนผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา จะอยู่ที่ประมาณ 3 เดือน รวมทั้งไม่พบว่ามีผู้ป่วยรายใด มีผลข้างเคียงจากการรักษา
 
โรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของไทย โดยพบว่า ส่วนใหญ่เพศชายป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ และเพศหญิงป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม จากสถิติพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งตับ ที่สามารถผ่าตัดได้มีเพียงร้อยละ10-15 ที่เหลือเป็นการรักษาแบบประคับประคอง ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถมีชีวิตได้ประมาณ 2-3 เดือนเท่านั้น 
 
ส่วนมะเร็งเต้านม อัตราการรอดชีวิตจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 30-50 เมื่อผู้ป่วยอยู่ในระยะที่ 3 และ 4 แต่หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องในระยะเริ่มต้น จะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดจากโรคมะเร็งได้
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog