ไม่พบผลการค้นหา
วิกฤตการณ์ด้านพลังงานในขณะนี้ ไม่ได้มีแต่เฉพาะในภาคส่วนของทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น แต่ที่สำคัญคือเมืองไทยยังคงขาดแคลนทรัพยากรบุคคลด้านการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยชินวัตร จึงได้เปิดหลักสูตรการจัดการพลัง
วิกฤตการณ์ด้านพลังงานในขณะนี้ ไม่ได้มีแต่เฉพาะในภาคส่วนของทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น แต่ที่สำคัญคือเมืองไทยยังคงขาดแคลนทรัพยากรบุคคลด้านการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยชินวัตร จึงได้เปิดหลักสูตรการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมขึ้นมาเป็นปีที่ 3 แล้ว ติดตามได้ในช่วง Open House 
 
ในทุกภาคส่วนเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตขึ้นของโลก ไม่มีส่วนไหน หนีพ้นองค์ประกอบพื้นฐานอย่างพลังงาน ท่ามกลางการเจริญเติบโตที่ก้าวกระโดดของอุตสาหกรรม สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหา คือ การขาดแคลนบุคลากรในระดับบริหารจัดการ 
 
ที่ผ่านมาพบว่ามีสถิติเกิดอุบัติเหตุในขั้นตอนการผลิตก๊าซธรรมชาติ จนแรงงานในระดับปฏิบัติการเสียชีวิตกว่า 40 ราย ผู้อำนวยการสถาบันพลังงานทดแทนเปิดเผยว่า สาเหตุหลักไม่ใช่แค่ความประมาท แต่มาจากการขาดแคลนบุคลากรในระดับควบคุมบังคับการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
 
สอดคล้องกับความเห็นของอธิการบดีมหาวิทยาลัยชินวัตร ซึ่งเปิดหลักสูตรการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม สังกัดคณะเทคโนโลยีการจัดการ มาเป็นปีที่ 3 แล้ว เพราะเห็นว่าเมืองไทยยังคงขาดแคลนบุคลากร จนหลายบริษัทใหญ่ ต้องอาศัยการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจากต่างประเทศ
 
หลักสูตรนี้เปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก  แตกต่างจากหลักสูตรอื่นด้วยการหลอมรวมสามศาสตร์อย่าง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการเข้าด้วยกัน ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทั้งหลักการทางธุรกิจสำหรับการบริหารงาน ตามทันเทคโนโลยีเพื่อพัฒนานวัตกรรมที่ยังคงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยมีพื้นฐานความรู้ที่แข็งแรงเกี่ยวกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการสอนโดยผู้รู้ที่ทำงานจริงในแวดวงพลังงาน พร้อมทั้งเน้นให้นักศึกษาลงพื้นที่เรียนรู้จากของจริง
 
ล่าสุดในการปฐมนิเทศนักศึกษารุ่นที่ 3 ในระดับปริญญาโท ผู้สนใจลงทะเบียนเรียนไม่ได้มีเพียงแค่ผู้ที่ประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมพลังงานโดยตรงอยู่แล้วเท่านั้น แต่ยังเป็นที่สนใจของบุคลากรจากภาคธุรกิจอื่นๆ เพราะพลังงานล้วนเป็นพื้นฐานในทุกอุตสาหกรรม อย่างเช่น นักศึกษาจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายนี้ที่เชื่อว่า ในอนาคต รถยนต์จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานที่สะอาดและประหยัดขึ้น
 
นักศึกษาที่เรียนจบแล้ว จะได้รับวุฒิการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สามารถก้าวสู่เส้นทางการทำงานได้หลากหลายประเภทในอุตสาหกรรมพลังงานที่กำลังเติบโตและขาดแคลนบุคลากรนี้ เช่น งานด้านจัดการพลังงานในอาคาร การวางแผนและนโยบายพลังงาน การผลิตไฟฟ้า การผสมผสานของพลังงานหลายประเภท ไปจนถึงการเป็นที่ปรึกษาด้านพลังงาน ที่สำคัญ การเรียนการสอนที่ใช้ภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร ยังทำให้นักศึกษาได้เปรียบคู่แข่ง และสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติอีกด้วย 
 
แม้ในอนาคต ทรัพยากรธรรมชาติจะลดลง แต่วิกฤตพลังงานที่หลายคนกังวล ก็อาจหลีกเลี่ยงได้ หากเรามีทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะและเพียงพอกับการเติบโตในประเทศ เพื่อพร้อมเดินหน้าพัฒนาทางเลือกและดูแลการจัดการปัจจัยพื้นฐานอย่างพลังงาน ที่โลกไม่มีวันหยุดต้องการต่อไป
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog