ไม่พบผลการค้นหา
หากคุณเคยมีอาการคิดช้า หลงลืม นึกไม่ออกว่าตัวเองจะทำอะไร ลืมชื่อคนเป็นประจำ ลืมของตามที่ต่างๆ อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนเริ่มต้นว่าอาจเป็นโรคความจำสั้น ซึ่งอาการหลงลืมจะส่งผลต่อความจำระยะสั้น
หากคุณเคยมีอาการคิดช้า หลงลืม นึกไม่ออกว่าตัวเองจะทำอะไร ลืมชื่อคนเป็นประจำ ลืมของตามที่ต่างๆ อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนเริ่มต้นว่าอาจเป็นโรคความจำสั้น ซึ่งอาการหลงลืมจะส่งผลต่อความจำระยะสั้น ดังนั้น ควรเสริมสร้างความจำบริหารสมองเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคความจำสั้น 
 
การบริหารสมอง คือ การบริหารร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ Corpus Callosum ซึ่งเชื่อมสมองสองซีกเข้าด้วยกันให้ประสานกันแข็งแรงและทำงานคล่องแคล่ว อันจะทำให้การถ่ายโยงข้อมูลและการเรียนรู้ของสมองสองซีกเป็นไปอย่างสมดุลเกิดประสิทธิภาพช่วยให้เกิดการผ่อนคลาย ทำให้สภาพจิตใจเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้ เกิดความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีอารมณ์ขัน
 
ท่าบริหารสมอง
 
ท่าบริหารปุ่มสมอง โดยใช้มือซ้ายวางบริเวณไหปลาร้า คลำหาร่องหลุมตื้นๆ ส่วนมือขวาวางไว้ที่สะดือ ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ 30 วินาที จากนั้นสลับมือทั้งสองข้าง การบริหารท่านี้จะช่วยกระตุ้นประสาทและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น 
 
ท่าบริหารปุ่มขมับ โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางทั้งสองข้างนวดขมับเบาๆ วนเป็นวงกลม ประมาณ 30 วินาที ถึง 1 นาที การบริหารท่านี้จะทำให้การทำงานของสมอง 2 ซีก ทำงานสมดุลกัน
 
ท่าบริหารปุ่มใบหู โดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ จับที่ส่วนบทสุดของใบหูทั้งสองข้างนวดไล่ลงมาจนถึงติ่งหูเบาๆ ทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง การบริหารท่านี้จะช่วยเพิ่มการรับฟังที่เป็นจังหวะได้ดีขึ้น
 
การฝึกการเคลื่อนไหวสลับข้าง อาทิการโยนรับสิ่งของ ช่วยกระตุ้นความจำในการมองและการคำนวณกะระยะ
 
1. ท่าที่นับ 1 -10 ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อค
 
วิธีทำคือ ใช้นิ้วชี้ของมือทั้งสองข้าง มือซ้ายชูนิ้วชี้ตั้งตรงเป็นนับ 1 มือขวาให้นิ้วขนานกับพื้น นับสองให้เปลี่ยนเป็นมือขวาชูนิ้วสองนิ้ว ส่วนมือซ้ายให้ชี้นิ้วขนานกับพื้น นับสามให้เปลี่ยนเป็นชูนิ้วซ้ายสามนิ้ว มือขาวให้ชี้นิ้วขนานกับพื้น นับสี่ เปลี่ยนเป็นชูนิ้วขวาสี่นิ้ว มือซ้ายชี้นิ้วขนานกับพื้น นับห้าชูมือซ้ายห้านิ้ว มือขวาชี้ขนานกับพื้น นับหกให้ชูมือขวาให้นิ้วโป้งแตะนิ้วก้อย มือซ้ายชี้ขนานกับพื้น นับเจ็ดให้ชูมือซ้ายนิ้วโป้งแตะนิ้วนาง นับแปดให้ชูมือขวานิ้วโป้งแตะนิ้วกลาง นับเก้าให้ชูมือซ้ายนิ้วโป้งแตะนิ้วชี้ นับสิบให้กำมือขวา 
 
2. ท่าจีบ L ช่วยกระตุ้นการทำงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
 
วิธีทำคือ ยกมือทั้งสองข้างขึ้น ข้างหนึ่งให้ทำเป็นท่าจีบ ส่วนอีกข้างให้ทำเป็นรูปตัว L ทำสลับไปมา 10 ครั้ง 
 
3. ท่าโป้ง - ก้อย ช่วยกระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความสมดุลทั้งซ้ายและขวา
 
วิธีทำคือ ยกมือทั้งสองข้าง ข้างหนึ่งยกนิ้่วโป้ง อีกข้างหนึ่งทำท่าก้อย ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง 
 
4. ท่าแตะจมูก - แตะหู ช่วยให้การมองเห็นภาพทางด้านซ้ายและขวาดีขึ้น
 
วิธีทำคือ มือขวาแตะจมูกส่วนมือซ้ายแตะหูขวาลักษณะมือไขว้กัน และเปลี่ยนเป็นมือซ้ายแตะจมูก มือขวาแตะหูซ้าย ทำสลับกันไปมา 
 
5. ท่าแตะหู ช่วยกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
 
วิธีทำคือ มือซ้ายจับหูขวา ส่วนมือขวาอ้อมไปจับหูซ้าย และเปลี่ยนเป็นมือขวาจับหูซ้าย มือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา ทำสลับกันไปมา 
 
6. ท่าผ่อนคลาย ช่วยทำให้เกิดสมาธิเป็นการเจริญสติ
 
วิธีทำคือ ใช้มือทั้งสองข้างประกบกันเป็นลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบาเบา พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ประมาณ 5-10 นาที 
 
 
ที่มา : Folk Doctor Foundation มูลนิธิหมอชาวบ้าน  
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog