ไม่พบผลการค้นหา
'แจ็ค ดอร์ซีย์' ตั้งกองทุนจากเงินตัวเองร่วมช่วยโควิด-19 พร้อมต่อยอดช่วยการศึกษาและสุขภาพของเด็กหญิงในอนาคต

‘แจ็ค ดอร์ซีย์’ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของทวิตเตอร์ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดังจัดตั้งกองทุนที่มีมูลค่าถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 32,850 ล้านบาท เพื่อเป็นการช่วยเหลือเมื่อมีเหตุการณ์จำเป็น โดยจะเริ่มใช้เม็ดเงินดังกล่าวกับการแก้ปัญหารการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019

ดอร์ซีย์ ทวีตในทวิตเตอร์อย่างเป็นทางการของตัวเองว่า “ผมกำลังย้ายเงินมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (32,850 ล้านบาท) จากกรรมสิทธิหุ้นแสควร์ของผม (ซึ่งคิดเป็นประมาณ 28 เปอร์เซ็นต์ของสินทรัพย์ทั้งหมด) ไปยัง #startsmall LLC(บริษัท รับผิด จำกัด) เพื่อช่วยเหลือสถานการณ์โควิด-19 ของทั่วโลก และเมื่อจบการแพร่ระบาดนี้ เม็ดเงินจะถูกใช้กับสุขภาะและการศึกษาของเด็กผู้หญิง รวมไปถึงยูบีไอ บริษัทจะดำเนินการอย่างโปร่งใส ติดตามข้อมูลลทั้งหมดได้ที่นี้”

ตามข้อมูลระดับคุณภาพหุ้นเกรดบีของสแควร์ที่ดอร์ซีย์ประกาศเมื่อ เม.ย.ปีที่แล้ว เมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดแล้ว ตัวเลขจากนิตยสารฟอร์บสชี้ว่าดอร์ซีย์จะมีทรัพย์สินประมาณ 3,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 100,000 ล้านบาท 

ที่ผ่านมานอกจากการแพร่ระบาดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลาดหุ้นทั่วโลกก็ได้รับแรงสั่นสะเทือนเช่นเดียวกัน หุ้นของทวิตเตอร์ตกลงราวร้อยละ 20 ในเดือนก่อนหน้า อีกทั้งบริษัทยังออกมาเตือนถึงสถานะทางการเงินจะตกต่ำลงในไตรมาสข้างหน้า เช่นเดียวกับหุ้นของสแควร์ที่ตกลงมากว่าร้อยละ 40 ตั้งแต่ปลายเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา 


32,850 ล้านบาทมากแค่ไหน ?

เมื่อนำตัวเลขดังกล่าวไปเทียบกับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ของประเทศไทย ตามข้อมูลจาก ราชกิจจานุเบกษา พบว่า เงินที่ดอร์ซีย์บริจาคนั้นมากกว่างบของกองทัพเรือที่อยู่ที่ประมาณ 25,000 ล้านบาท และยังมากกว่างบของกองทัพอากาศที่อยู่ที่ประมาณ 29,300 ล้านบาท อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวยังน้อยกว่างบของกองทัพบกที่อยู่ที่ 52,100 ล้านบาท

ดอร์ซีร์ยังบริจาคเงินที่มีจำนวนมากกว่างบประมาณรายจ่ายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานในสังกดที่มีงบในสัดส่วนประมาณ 31,200 ล้านบาท

ทั้งนี้ ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบแล้วให้ออกใช้วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาทสำหรับมาตรการระยะที่ 3 เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาสถานการณ์การแพร่ระบาดแล้ว โดยแบ่งเป็นการให้อำนาจกระทรวงการคลังออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินเพื่อเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท พร้อมให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออก พ.ร.ก.ออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) วงเงินทั้งสิ้น 5 แสนล้านบาท และ ออก พ.ร.ก.ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน วงเงิน 4 แสนล้านบาท

อ้างอิง; TIME, WSJ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง;