ไม่พบผลการค้นหา
นกฟลามิงโกในอินเดียเพิ่มจำนวนขึ้นถึง 3 เท่า เหตุจากมลพิษทำให้สาหร่ายเขียวที่เป็นอาหารของนกฟลามิงโกเจริญเติบโตได้ดีเป็นพิเศษ

ปัจจุบัน นกฟลามิงโกที่อาศัยอยู่ในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย มีจำนวนมากถึง 120,000 ตัว ซึ่งเป็นจำนวนประชากรที่สูงเป็นประวัติการณ์ และมากกว่าเดิมถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับตอนที่พวกมันอพยพเข้าสู่มุมไบเป็นครั้งแรกเมื่อ 40 ปีก่อน

ราหุล คต (Rahul Khot) ผู้ช่วยผู้อำนวยการของสมาคมประวัติศาสตร์ธรรมชาติบอมเบย์ หนึ่งในสถาบันวิทยาศาสตร์เก่าแก่ของอินเดียบอกว่า นกฟลามิงโกเริ่มอพยพเข้ามามุมไบเป็นครั้งแรกระหว่างปี 1980 - 1990 หลังจากนั้นนกฟลามิงโกจะบินมาที่มุมไบราวๆ 30,000 - 40,000 ตัว เป็นประจำทุกปี ก่อนจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องช่วยหลายปีหลัง

3.jpg
  • ในอินเดียมีนกฟลามิงโก 2 สายพันธุ์คือ นกฟลามิงโกใหญ่ และนกฟลามิงโกเล็ก

ในบรรดานกฟลามิกโกทั้งหมด 6 สายพันธุ์ มี 2 สายพันธุ์ที่อพยพเข้ามายังอินเดียคือ นกฟลามิงโกใหญ่ (Greater Flamingo) และนกฟลามิงโกเล็ก (Lesser Flamingo) ซึ่งรายหลังจัดอยู่ในหมวดสิ่งมีชีวิตที่เกือบเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Near Threatened) 

นกฟลามิงโกส่วนใหญ่ที่อพยพมายังมุมไบ บินจากภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย จากบริเวณทะเลสาบซัมบาร์ ในรัฐราชาสถาน และทะเลอาหรับของรัชคุชราจ ที่อยู่ติดกับประเทศปากีสถาน ส่วนที่เหลือนักวิชาการบอกว่า มันบินมาจากปากีสถาน อิหร่าน อิสาราเอล และบินข้ามทวีปมาจากประเทศฝรั่งเศส 

ในเมืองมุมไบแหล่งพักพิงที่ได้รับความนิยมจากประชากรนกมากที่สุดอยู่บริเวณอ่าวเทน ซึ่งเป็นที่ชุมนุมของนกกว่า 200 สายพันธุ์ รวมถึงเป็นเขตรักษาพันธุ์นกฟลามิงโกของมุมไบด้วย นอกเหนือจากนั้น ประชากรนกจะอาศัยอยู่ตามพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดเล็กในมุมไบ

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สมาคมประวัติศาสตร์ธรรมชาติบอมเบย์ได้ทำการสำรวจอย่างเป็นทางการครั้งแรกเกี่ยวกับนกฟลามิงโกในอ่าวเทน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการศึกษาระยะเวลา 10 ปี เกี่ยวกับนกลุยน้ำ หรือนกชายเลน (Wading Birds) 


น้ำเสียทำให้อาหารของนกฟลามิงโกเจริญงอกงาม

ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์จากสมาคมประวัติศาสตร์ธรรมชาติบอมเบย์ได้คาดการณ์ว่า อุปสรรคใหญ่ที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของประชากรนก คือที่อยู่อาศัยของพวกมันเต็มไปด้วยมลภาวะ เพราะอ่าวเทนที่เป็นแหล่งอาศัยหลักของนกฟลามิงโก คือพื้นที่ในการปล่อยน้ำเสียจากอุตสาหกรรมของมุมไบ และมีอาณาเขตใกล้กับโรงบำบัดน้ำเสีย

4.jpg
  • นอกจากนกฟลามิงโก ในบริเวณชายฝั่งของมุมไบมีนกอาศัยอยู่กว่า 200 สายพันธุ์

อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจกลับออกมาตรงข้ามกับความคิดของนักวิทยาศาสตร์อย่างสิ้นเชิง เดบี โกเอนก้า (Debi Goenka) เลขานุการกิตติมศักดิ์ของสมาคมประวัติศาสตร์ธรรมชาติบอมเบย์บอกว่า น้ำเสียที่ปล่อยออกมาจากโรงงานได้ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางชีวภาพของสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว ซึ่งเป็นอาหารของนกฟลามิงโก้

ไม่ว่าจะมองในแง่ไหน มลพิษก็ไม่น่าจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่นักธรรมชาติวิทยา ผู้เขียนหนังสือ Birds of Mumbai อย่างซันจอย มองก้า (Sunjoy Monga) ได้เรียกปรากฎกาณ์ของอ่าวเทนตอนนี้ว่า ‘ระดับที่สมบูรณ์แบบของมลพิษ’

มองก้าอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่า ตลอดหลายปีที่ผ่านมาของเสียจากอุตสาหกรรมอทำให้น้ำมีอุณภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้ระดับของไนเตรท และฟอสเฟตของน้ำในอ่าวเทนสูงตามไปด้วย ซึ่งเป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย และทำให้พวกมันอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 

ทั้งนี้ แม้ระดับของมลพิษในอ่าวเทนเป็นตัวเลขที่ไม่น่าวางใจ แต่หากน้ำมีความบริสุทธิ์มากขึ้น อาหารของนกฟลามิงโกจะหายไป และพวกมันจะอพยพออกจากมุมไบในที่สุด ซึ่งมองก้าคิดว่า มลพิษเปรียบได้กับ ‘ดาบสองคม’ ในเรื่องนี้

นอกจากนั้น เขายังคาดการณ์ว่าสภาอากาศที่แห้งแล้วในพื้นที่ชุ่มน้ำของคุชราจ เป็นเหตุผลที่ทำจำนวนนกฟลามิงโกที่อพยพมายังมุมใบมีตัวเลขที่สูงขึ้น 


การขยายตัวของเมืองอาจทำให้นกฟลามิงโกย้ายถิ่นฐาน

เมืองที่เติบโตด้วยความรวดเร็วอย่างมุมไบก็มีส่วนทำให้นกฟลามิงโกมีอันต้องเก็บข้าวของอพยพ เมื่อถิ่นที่อยู่อาศัยของนกฟลามิงโกในบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำอูราน บริเวณชายฝั่งของมุมไบ เพิ่งถูกเวนคืนที่ดิน เพื่อก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ หรือการก่อสร้างทางเชื่อมสู่ท่าเรือของมุมไบเป็นสะพานระยะทาง 22 กิโลเมตร ซึ่งตัดผ่านป่าโกงกางก็จะทำให้นกฟลามิงโกไม่อพยพมาที่บริเวณอ่าวซิวรีที่ตั้งอยู่ระหว่างอ่าวเทน และมหาสมุทรอินเดียอีกต่อไป รวมถึงในเดือนที่ผ่านมา ยังมีการอนุมัตให้รถไฟหัวกระสุนขบวนแรกของอินเดียวิ่งผ่านเขตรักษาพันธุ์ของนกฟลามิงโกอีกด้วย 

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสมาคมประวัติศาสตร์ธรรมชาติบอมเบย์ โกเอนก้าบอกว่า ในระยะยาวหากยังมีการทิ้งสิ่งปฏิกูล หรือผลของเสียจากอุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ำ ก็จะเป็นการขับไล่นกฟลามิงโกออกไปอยู่ดี แม้ในตอนนี้จะเป็นสถานการณ์ที่ดีสำหรับพวกมัน แต่หากสารพิษมีปริมาณมากขึ้นก็จะทำให้ลำห้วยแห้งแล้ง และบริเวณดังกล่าวจะไม่มีป่าโกงกาง ดินโคลน หรือนกฟลามิงโกอีกต่อไป 

ที่มา :

On Being
198Article
0Video
0Blog