ไม่พบผลการค้นหา
นับแต่การคว่ำบาตรจากนานาชาติในปี 1988 จีนเป็นประเทศเดียวที่ยื่นมือเข้ามาลงทุนและปล่อยกู้ให้แก่รัฐบาลทหารเมียนมา ส่งผลให้ปัจจุบันเมียนมามีหนี้สาธารณะสูงกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ และกว่าร้อยละ 60 มีเจ้าหนี้รายใหญ่คือ จีน

รายงานประจำปี 2018 'นิค ฟรีแมน' นักวิจัยจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉัยงใต้ศึกษาของสิงคโปร์ (Yusof Ishak) กล่าวว่า ที่่ผ่านมาเศรษฐกิจของเมียนมาถูกควบคุมโดยรัฐบาลพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD และแม้ว่าเมียนมาจะมีการจัดการเลือกตั้ง แต่พรรค NLD ยังคงมีอิทธิพลต่อการเมืองและระบบเศรษฐกิจของเมียนมา รวมไปถึงยังเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มบริษัทและครอบครัวของชนชั้นนำที่มีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับกลุ่มผู้นำทหารของเมียนมา

ขณะที่ ภาคการเงินและธนาคารก็อ่อนแอ ถูกครอบงำด้วยกลุ่มนักธุรกิจที่มีสายสัมพันธ์กับทหาร อีกทั้งยังมีหนี้สินที่สูงลิ่วจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินของจีน

 

"นับตั้งแต่ปี 2016 หลังรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของเมียนมาได้เดินหน้าปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่องและพร้อมสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุน" นางอองซาน ซูจีกล่าว

นอกจากนี้ ฟรีแมนยังชี้ให้เห็นว่า การเลือกตั้งในปี 2016 ของเมียนมานั้นไม่สามารถดึงนักลงทุนต่างชาติให้กลับเข้ามาในเมียนมาอย่างที่หลายคนคาดการณ์ไว้ได้ เนื่องจากอำนาจทางการเมืองยังคงถูกครอบงำโดยกลุ่มทหารผนวกกับปัญหาโรฮิงญาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เมียนมาถูกคว่ำบาตรจากนักลงทุนต่างชาติอีกครั้ง และจีนเป็นเพียงประเทศเดียวที่เข้ามาลงทุนในเมียนมา 

เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมานางอองซาน ซูจี ผู้นำเมียนมากล่าวถึงประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจเมียนมาว่า เมียนมาพร้อมจะเติบโตจากแรงดึงดูดทางด้านภูมิศาสตร์ ความสามารถในการขยายตลาดภายในประเทศรวมไปถึงประชากรที่ยังอยู่ในวัยแรงงาน นอกจากนี้นางซูจียังยืนยันว่านับตั้งแต่ปี 2016 หลังรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของเมียนมาได้เดินหน้าปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่องและพร้อมสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุน

ทั้งนี้ ธนาคารโลกประเมินว่า ในปีงบประมาณ 2018-2019 จีดีพีของเมียนมาจะเติบโตที่ร้อยละ 6.2 ซึ่งลดลงจากร้อยละ 6.8 ในปีก่อนหน้านี้ เนื่องจากวิกฤตการณ์โรงฮิงญาที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ แม้ว่าปัจจุบันรัฐบาลเมียนมากำลังเดินหน้าปฏิรูปกฎหมายการลงทุนต่างๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นในสมัยรัฐบาลทหารให้เอื้อต่อนักลงทุนมากยิ่งขึ้น

ความยากจนและหนี้สาธารณะ

การรัฐประหารของพรรค NLD นับตั้งแต่ปี 1988 ส่งผลให้เมียนมาถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติ รวมไปถึงการประกาศปิดประเทศส่งผลให้เศรษฐกิจของเมียนมาถดถอยเป็นอย่างมากและเข้าสู่การเป็นประเทศยากจนประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย และจีนเป็นเพียงประเทศเดียวที่ปล่อยเงินกู้ให้แก่เมียนมา

ความยากจนของเมียนมาส่งผลให้ ในปี 2011 หนี้สาธารณะของเมียนมาสูงถึง 6,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และกว่าร้อยละ 97 ของหนี้ก้อนดังกล่าวเป็นหนี้ที่กู้เงินจากจีนมาเพื่อลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศรวมไปถึงโครงการเขื่อนพลังงานไฟฟ้าที่เมียนมาได้ทำสัญญากับบริษัทรัฐวิสาหกิจจีน

ปัจจุบันเมียนมามีหนี้สาธารณะของประเทศสูงกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเกือบครึ่งกว่า 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นหนี้ที่กู้ยืมเงินมาจากจีน ขณะที่ดอกเบี้ยที่ติดจีนนั้นอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปีและเมียนมายังต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่จีนสูงถึงปีละ 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับบริษัท China Power Investment Corporation ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจีน ผู้ลงทุนเขื่อนไฟฟ้าในเมียนมา  

โครงการรถไฟเมียนมา- จีน กับดักหนี้ตัวใหม่ของเมียนมา 

เมียนมาเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ในเส้นทางของแผนยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน (BRI) ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมต่อพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนกับเมียนมาในการขนส่งสินค้าออกสู่มหาสมุทรอินเดียและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา (CMEC)


"ยิ่งตะวันตกกดดันเมียนมามากยิ่งขึ้นเท่าไหร่ อิทธิพลของจีนในเมียนมาก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น" ซอว์ วิน เป กล่าว

เมื่อตุลาคม 2018 รัฐบาลเมียนมาลงนามในสัญญาในโครงการดังกล่าวกับทางรัฐบาลจีนปัจจุบัน จนจีนได้เข้ามาลงทุนสร้างท่าเรือในเขตเศรษฐกิจจ็อกผิ่ว ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่โครงการรถไฟระหว่างเมื่องคุณหมิงประเทศจีนและเมียนมายังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา ซึ่งทางรถไฟสายดังกล่าวจะเชื่อมต่อไปยังเมืองมัณฑะเลย์และเมืองจ๊อกผิ่วในรัฐยะไข่ มีความยาวทั้งหมด 430 กิโลเมตร โดยรถไฟสายดังกล่าวจะวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและจะประกอบไปด้วยสถานีขนส่งสินค้า 7 สถานี และสถานีขนส่งผู้โดยสาร 5 สถานี

อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟของเมียนมาได้สร้างความหนักใจให้แก่ทางรัฐบาลเมียนมาด้วยเช่นกัน เนื่องจากการใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลและการรื้อถอนระบบรถไฟของเมียนมาที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะส่งผลต่องบประมาณที่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว และปัจจุบันเมียนมาไม่มีเงินมากพอที่จะสามารถลงทุนได้ด้วยตนเอง

อู เย่ ถัน นักวิเคราะห์ของโครงการ BRI กล่าวว่า "การกู้ยืมเงินจากจีนเพื่อโครงการดังกล่าวจะทำให้เมียนมาเผชิญกับปัญหาทางด้านการเงินที่หนักขึ้น" 

ขณะที่ ซอว์ วิน เป นักวิเคราะห์กล่าวว่า "ยิ่งตะวันกดดันเมียนมามากยิ่งขึ้นเท่าไหร่ อิทธิพลของจีนในเมียนมาก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากจีนเป็นประเทศเดียวที่เข้ามาลงทุนในเมียนมา และยังปกป้องเมียนมาทุกครั้งเมื่อเมียนมาเผชิญสถานการณ์ที่ต้องลงประชามติในเวทีของสหประชาชาติ"

ที่มา Asahi / myanmartimes / atime

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :