ไม่พบผลการค้นหา
แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส โชว์ศักยภาพผู้ให้บริการบนโครงข่าย 5G หลัง กสทช. รับรองผลเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับใบอนุญาต 3 คลื่นความถี่ 700 MHz 2600 MHz และ 26 GHz ครอบคลุมทั้งย่านคลื่นความถี่ ต่ำ-กลาง-สูง ลั่นมีคลื่นมากที่สุด สร้างประโยชน์เพื่อคนไทย-ภาคอุตสาหกรรมธุรกิจไทยได้แข็งแกร่งที่สุด

นายปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS เปิดเผยว่า หลังจากใช้เวลาทดลองทดสอบเครือข่ายคลื่นความถี่ 5G ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมาต่อเนื่อง ปีกว่าๆ ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2561 ถึงวันนี้ บริษัทพร้อมได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้รับใบอนุญาต 3 คลื่นความถี่ ได้แก่ 700 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz สำหรับการให้บริการ 5G ซึ่งจะไม่ได้หยุดที่การใช้งานโทรศัพท์มือถือที่มีความเร็วสูงขึ้นเท่านั้น แต่จะเป็นการเข้าสู่ยุคการใช้งานดิจิทัลที่หลากหลาย หรือ 'Digitalized' ในหลายอุตสาหกรรม เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้ก้าวเข้าสู่ Digital Intelligence Nation หรือ ประเทศที่มีความสามารถด้านดิจิทัล ต่อไป

ปรัธนา ลีลพนัง-เอไอเอส-5G
  • ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

"ตอนนี้ เรามีคลื่นความถี่ 5G ที่เป็น World Best in Class หรือเทียบเท่ามาตรฐานของผู้ให้บริการระดับโลก ทั้งคลื่น Low Band หรือย่านความถี่ต่ำ, Mid Band ย่านความถี่กลาง และ High Band ย่านความถี่สูง รวมกันทั้งหมดถึง 1,330 MHz และเมื่อรวมกับของเดิมที่มีอยู่จะรวมกันเป็น 1,420 MHz ซึ่งจะเป็นเหมือนถนนที่กว้างมากๆ และทำให้เรามั่นใจได้ว่า มีช่วงความถี่ที่จะพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งทั้งสำหรับอนาคตและเป็นประโยชน์ในปัจจุบันด้วย" นายปรัธนา กล่าว

โดยหลังการได้รับใบอนุญาตจะส่งผลให้เอไอเอสมีคลื่นความถี่ที่ครอบคลุมทุกระดับย่านความถี่ โดยมี Low Band หรือ ย่านความถี่ต่ำ (700 MHz) มีจำนวน 30 MHz , Mid Band หรือ ย่านความถี่กลาง (2600 MHz) มีจำนวน 100 MHz และ High Band หรือ ย่านความถี่สูง (26 GHz) จำนวน 1200 MHz หรือ 1.2 GHz ที่จะส่งให้เอไอเอสมีความพร้อมเข้าสู่ 5G อย่างเต็มรูปแบบในเร็วๆ นี้ 

คลื่นความถี่-เอไอเอส

หรืออาจกล่าวได้ว่า หลังจากนี้เอไอเอสจะมีความถี่มากกว่าใครใดๆ ในประเทศไทยอย่างน้อยร้อยละ 40 มีขีดความสามารถถ้าเทียบกับของเดิมที่มีอยู่เพิ่มขึ้นมากกว่า 30 เท่าเป็นอย่างน้อย มีความเร็วถ้าเทียบกับของเดิมที่มีอยู่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 24 เท่า ซึ่งทั้งหมดนี้ จะไม่ได้รองรับเพียงความรวดเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลของโทรศัพท์มือถือของบุคคลทั่วไปเท่านั้น แต่จะทำให้การรับ-ส่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เป็น Massive ทำได้เร็วขึ้นจากเดิมถึง 10 เท่า ซึ่งจะสามารถรองรับอุปกรณ์ไอทีต่างๆ การบริหารจัดการในโรงงานอุตสาหกรรม การเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT (Internet of Thing) เป็นต้น 

อีกทั้ง คลื่นความถี่ที่ได้มาล่าสุดนี้ยังสร้างประโยชน์ให้กับลูกค้าที่ใช้คลื่น 4G ของเอไอเอสในปัจจุบันที่มี 16 ล้านเครื่อง ซึ่งรองรับย่านความถี่ Mid Band 2600 MHz เหมือนมีถนนเส้นเดิมแต่กว้างขึ้น วิ่งได้เร็วขึ้น 

เอไอเอส-5G

ย้ำการใช้งานจะเริ่มขึ้นหลังการชำระค่าใบอนุญาต มีอุปกรณ์มือถือรองรับ 5G แล้ว

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากขณะนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องอุปกรณ์หรือตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือในตลาดที่ยังไม่สามารถรองรับ 5G ออกมา หรือถึงมีวางตลาดแล้วก็ยังต้องอัปเกรดซอฟต์แวร์ ดังนั้น การพัฒนาการใช้งาน 5G ในเวลานี้ จึงยังเป็นการเริ่มต้นการพัฒนา แต่ที่ผ่านมา เอไอเอสยืนยันว่า ได้มีการทดสอบทดลองการใช้งานทั้งในระดับบุคคลและการทำงานร่วมกับพันธมิตรธุรกิจหลายราย เพื่อพัฒนาการใช้งาน 5G ร่วมกัน 

"ต้องเข้าใจว่า 5G อยู่ระหว่างช่วงกำลังพัฒนาระยะแรก ต่างจากตอนที่ได้ใบอนุญาต 4G ซึ่งเวลานั้น มีอุปกรณ์คือโทรศัพท์มือถือในตลาดที่รองรับ 4G ออกมาก่อนที่จะมีการจัดสรรคลื่น ผู้ใช้โทรศัพท์จึงใช้งานได้เลย แต่ตอนนี้ยังต้องรออุปกรณ์และซอฟต์แวร์ก่อน" นายปรัธนา กล่าว

พร้อมกันนี้ ยังย้ำว่า การพัฒนา 5G มีมากกว่าการใช้โทรศัพท์มือถือที่เร็วขึ้น แต่ยังเป็นประโยชน์สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม อีกทั้ง การพัฒนา 5G ไม่อาจดำเนินการจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเพียงแห่งเดียวหรือแห่งใดแห่งหนึ่งได้ แต่ต้องได้รับความร่วมมือร่วมพัฒนากับอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ซึ่งจะมีอุตสาหกรรมใหม่เกิดขึ้นมากมาย หรืออุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ อุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ ที่ต้องร่วมพัฒนาไปด้วยกัน ซึ่งนับว่า การพัฒนา 5G ของประเทศไทยในเวลานี้ เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กับระดับนานาชาติ 

เอไอเอส-5G
  • ผู้บริหารเอไอเอสถ่ายภาพร่วมกับพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไอทีต่างๆ

นายปรัธนา ยกตัวอย่างว่า การที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการคลื่นความถี่ย่านสูง หรือ High Band มากถึง 1200 MHz นั้น จะมีความสำคัญมากกับภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากบริษัทได้คลื่นความถี่ย่านสูง มาถึง 3 เท่าของมาตรฐาน หรือ 3 บล็อก ที่เรียกว่า ซูเปอร์ บล็อก (Super Block) (1 บล็อก เท่ากับ 400 MHz) แล้วการมีความกว้างของคลื่นความถี่ย่านสูงขนาดนี้จะสามารถประยุกต์ใช้กับหลากหลายอุตสาหกรรมที่ต้องการแบนด์วิธ (Bandwidth) สูง หรือมีความเร็วในการส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตสูง เช่น การควบคุมกล้องวงจรปิด (CCTV) การบังคับขับเคลื่อนรถยนต์ไร้คนขับ การใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

3 คลื่นความถี่ 'ต่ำ-กลาง-สูง' ครอบคลุมการใช้งานหลากหลาย

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวเสริมว่า กล้าพูดได้ว่า ที่ผ่านมาปีกว่าๆ เอไอเอส เป็นรายแรกที่ได้ทดลองทดสอบการใช้งาน 5G ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง แม้จะยังไม่สามารถนำมาใช้งานเชิงพาณิชย์ได้ แต่เมื่อใดที่ชำระค่าประมูลแล้ว ตลาดมีอุปกรณ์รองรับคลื่น 5G แล้ว ก็มั่นใจว่าจะสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ

พร้อมกับอธิบายว่า 3 คลื่นที่บริษัทได้รับใบอนุญาตมา มีความสำคัญสำหรับเทคโนโลยี 5G ตามการใช้งานที่แตกต่างกันไป โดยคลื่นย่านความถี่ 700 MHz และ 2600 MHz (ความถี่ต่ำและความถี่กลาง) สามารถใช้งานกับโทรศัพท์มือถือที่รองรับ ส่วนคลื่นย่านความถี่สูง หรือ 26 GHz หรือเรียกอีกชื่อว่า mmWave จะเป็นคลื่นที่นำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ 

อย่างไรก็ตาม คลื่นความถี่ 2600 MHz สามารถจะใช้กับโทรศัพท์มือถือที่รองรับ 4G บนเครือข่ายที่เอไอเอสมีอยู่แล้ว 16 ล้านเครื่อง หรือ โทรศัพท์มือถือประมาณ 680 โมเดล ดังนั้น ถ้าเปิดสวิตช์ใช้คลื่น 2600 MHz ได้เมื่อไร ผู้ใช้บริการเอไอเอสบนคลื่น 4G เดิมก็สามารถใช้คลื่น 2600 MHz ได้ทันที แต่ถ้าต้องการใช้ 5G ผู้ใช้ต้องมีโทรศัพท์มือถือและซอฟต์แวร์รุ่นที่รองรับ 5G ด้วย 

เอไอเอส-5G

พร้อมกันนี้ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า คลื่น 2600 MHz ที่บริษัทได้มามีแบนด์วิธ หรือความเร็วในการรับส่งข้อมูลกว้างถึง 100 MHz นั่นคือทำสปีดได้ และมีความสามารถในการครอบคลุม หรือ coverage ใหญ่พอ แม้จะไม่เท่าคลื่น 1800 MHz หรือ 2100 MHz ที่บริษัทมีอยู่ แต่ก็ไม่ได้แคบเกินไป จึงเหมาะกับการใช้งานโทรศัพท์มือถือทั่วไป พร้อมกันนี้ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า คลื่น 2600 MHz ที่บริษัทได้มามีแบนด์วิธ หรือความเร็วในการรับส่งข้อมูลกว้างถึง 100 MHz นั่นคือทำสปีดได้ และมีความสามารถในการครอบคลุม หรือ coverage ใหญ่พอ แม้จะไม่เท่าคลื่น 1800 MHz หรือ 2100 MHz ที่ถือครองอยู่ แต่ก็ไม่ได้แคบเกินไป จึงเหมาะกับการใช้งานโทรศัพท์มือถือทั่วไป ส่วนคลื่นความถี่ต่ำ อย่างคลื่น 700 MHz จะทะลุทะลวงได้ดี coverage ไกล แม้จะมีแบนด์วิชท์ไม่มาก แต่คลื่นความถี่ต่ำเหมาะกับการใช้งานผ่าน IoT ที่เป็นการใช้งานในแนวราบและครอบคลุมระยะใกล้ได้ดี เช่น การใช้งานในรถยนต์ไร้คนขับ

สำหรับคลื่นความถี่สูง อย่าง 26 GHz จะมีความสามารถในการครอบคลุมน้อย ทั่วไปอยู่ที่ 100-200 เมตร แต่เนื่องจากบริษัทได้คลื่นความถี่ย่านสูงมาถึง 1200 MHz หรือ 3 บล็อก จึงมากพอจะทำความเร็ว แม้พื้นที่ไม่กว้างมากนัก ดังนั้นจึงเหมาะกับการใช้งาน เช่น ฮอตสปอต การใช้งานในพื้นที่เฉพาะเจาะจงในงานอุตสาหกรรม โรงงานอัจฉริยะ เป็นต้นสำหรับคลื่นความถี่สูง อย่าง 26 GHz จะมีความสามารถในการครอบคลุมน้อย ทั่วไปอยู่ที่ 100-200 เมตร แต่เนื่องจากบริษัทได้คลื่นความถี่ย่านสูงมาถึง 1200 MHz หรือ 3 บล็อก จึงมากพอจะทำความเร็ว แม้พื้นที่ไม่กว้างมากนัก ดังนั้นจึงเหมาะกับการใช้งาน เช่น ฮอตสปอต การใช้งานในพื้นที่เฉพาะเจาะจงในงานอุตสาหกรรม โรงงานอัจฉริยะ เป็นต้น

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์-เอไอเอส-5G
  • วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANCE

"ที่ผ่านมา ตั้งแต่ก่อนเริ่มประมูล เอไอเอสได้ร่วมทำงานพันธมิตรเพื่อทดสอบและพัฒนาการใช้งานในรูปแบบต่างๆ เช่น สมาร์ตแฟคตอรี่ หรือ โรงงานอัจฉริยะ รถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งยังมีการร่วมงานกับพันธมิตรผ่านทำข้อตกลงการทำงานร่วมกันไว้แล้ว" นายวสิษฐ์ กล่าว 

ทั้งนี้ ในการประมูลคลื่น 5G เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2563 ที่ผ่านมา บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AWN ซึ่งเป็นบริษัทที่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANCE ถือหุ้นร้อยละ 99.99 เป็นผู้เข้าร่วมการประมูลและได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการใน 3 คลื่นความถี่ ได้แก่ 700 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz สำหรับการใช้งาน 5G

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :